Tuesday, December 31, 2013

YTD assesment

My Port YTD assesment 

 

แพ้ Set ขาดลอย

ข้อผิดพลาด :

        - ช่วงตลาดขึ้น ไปซื้อหุ้นที่ไม่รู้จัก แม้จะสัดส่วนน้อย แต่ผิดหลักการมาก ๆ
        - การอ่านหุ้นน้อยมาก ๆ ทำให้มองตัวเลือกน้อยลงไป
        - การปรับพอร์ตให้เหมาะสม

 Things to do :

        - การอ่านหุ้น อ่านให้มาก ๆ ดู Opp day ให้มาก ๆ ขยันให้มากขึ้น
       

Saturday, December 21, 2013

การทำนายหุ้นปี 2556 ในช่วงปลายปี 2555

นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริการกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี ในฐานะ "เซียนหุ้นรายใหญ่" มีมุมมองต่อตลาดหุ้นในปี 2556 ว่า SET Index น่าจะออกแนว "สีเขียว" (เป็นบวก) สูงสุดน่าจะทำได้ระดับ 1,400 จุด ต่ำสุดคงไม่หลุด 1,200 จุด


“เอกยุทธ อัญชันบุตร” หรือ “จอร์จ ตัน” นักธุรกิจการเงินและอสังหาริมทรัพย์ เขายังเป็นเซียนหุ้นรายใหญ่ อาสาพยากรณ์ให้ “กรุงเทพธุรกิจ BizWeek” ฟังว่า ทั้งปียังคงมอง SET INDEX ในเชิงบวก โอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น 20-25% มีสูงมาก
โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของปีหน้า ทุกคนมีสิทธิได้เห็นดัชนีระดับ 1,200-1,400 จุด หลังดัชนีขึ้นมาแตะ 1,350 จุดได้ตามคำทำนาย


“พีรเจต สุวรรณนภาศรี” ผู้บริหาร บมจ.ยูเนี่ยน อินทราโก้ ในฐานะนักลงทุน 'วีไอ' รายใหญ่ ทำนายตลาดหุ้นปี 2556 อย่างออก “อรรถรส” ว่า ต้นปี 2556 คงได้เห็นดัชนียืนแถวๆ 1,400 จุด หลังขึ้นมายืนระดับ 1,358 จุด ได้สำเร็จ ฉะนั้นตลาดหุ้นไทยยังน่าลงทุนเหมือนเดิม


 “เสี่ยป๋อง” วัชระ แก้วสว่าง เซียนหุ้นเทคนิครายใหญ่” เขาเชื่อว่า ตลาดหุ้นไทยน่าจะไปได้อีก 10-20% แต่อัตราขยายตัวอาจไม่มากเท่าปี 2555
คาดว่าดัชนีน่าจะอยู่ระดับ 1,450-1,500 จุด ปีหน้าตลาดหุ้นจะได้รับอนิสงค์หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษีนิติบุคคลที่ลดลงเหลือ 20% จาก 30% ในปี 2554 ขณะเดียวกันยังได้ประโยชน์จากเมกะโปรเจคต่างๆ


นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่าได้สำรวจความเห็นนักวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มการลงทุนในปี 2556 พบว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ณ ปลายปี 2556 ไว้ ที่เฉลี่ย 1,471 จุด


ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP ตอนนี้มองว่าราคาหุ้นในตลาดหุ้นไทยยัง คงใกล้เคียงกับภูมิภาค ซึ่งมี P/E ประมาณ 13 เท่า


นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยในปี 2556 คาดว่ามีโอกาสปรับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 1,500 จุด ได้
            ' โดยคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยปีหน้าอยู่ที่ระดับ 1,500 จุดได้ ภายใต้กำไรของบริษัทจดทะเบียน หรือ บจ. ที่เติบโตประมาณ 15% และ P/E ของตลาดฯที่ 13 เท่า โดยอิงกับกลุ่ม Domestic Play' นายกวี กล่าว


นายวิวัฒน์ เตชะพูลผล หัวหน้ากลยุทธ์การลงทุนและผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาดลูกค้าส่วนบุคคล บล.ทิสโก้  เปิดเผยว่าตลาดหุ้นไทยในไตรมาสแรกของปีหน้าอาจปรับลดลง เนื่องจากตลาดฯ ยังรอความชัดเจน จากการแก้ไขปัญหาภาวะหน้าผาการคลังของสหรัฐฯ โดยประเมินแนวรับไตรมาสแรกปีหน้าไว้ที่ 1,260 จุด และแนวรับถัดไปที่ 1,230 จุด อย่างไรก็ตามประเมินว่าหากสหรัฐฯ มีข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนและเป็นไป ในทางบวกจะส่งผลให้ดัชนีฯ ปรับขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีฯ อาจปรับขึ้นไปแตะที่ 1,450 จุด และมีแนวต้านถัดไปที่ 1,500 จุดได้


นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าภาพรวมของตลาดหุ้นไทยในปี 2555 ถือว่าเป็นปีของความท้าท้ายใหม่รวมถึงโอกาส ใหม่สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย เพราะความท้าทายสำคัญของตลาดหุ้นไทยคือความสามารถในการฟื้นตัวของกำไรสุทธิ ของ บจ.จากภัยน้ำท่วมในปี 2554 ซึ่งพบว่าการฟื้นตัวดีเกินคาดส่งผลให้ SET Index สามารถปรับตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 16 ปี ได้สำเร็จ ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งในโลก   
       สำหรับ ความท้าทายในปี 2556 ได้แก่ การเริ่มต้นปี 2556 ด้วยระดับ SET Index ที่ไม่ได้ต่ำเหมือนกับต้นปี 2555 (Forward PER ของต้นปี 2556 ประมาณ 12.50 เท่า เทียบกับ Forward PER ของต้นปี 2555 เท่ากับ 10.8 เท่า) 



นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีความเป็นไปได้ที่หุ้นไทยในระยะต่อไปมีโอกาสปรับขึ้นสูงกว่าจุด สูงสุดเดิมที่ระดับ 1,770 จุด ซึ่งเคยทำไว้ในปี 2537 ส่วนสาเหตุ ที่มองว่าตลาดหุ้นไทยยังห่างไกลฟองสบู่เพราะถ้าพิจารณาจากสินเชื่อเพื่อซื้อ หุ้น (มาร์จิ้นโลน) ในช่วงปี 2540 มีสัดส่วนรวมกันถึง 1.2-1.8 แสนล้านบาท เทียบมูลค่าตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ของตลาดหุ้นในขณะนั้น ซึ่งอยู่ที่ 3.5 ล้านล้านบาท ถือเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงต่างจากปัจจุบันที่มาร์จิ้นโลนทั้งระบบมียอด รวมเพียง 4 หมื่นล้านบาท เทียบกับมาร์เก็ตแคปที่ 11 ล้านล้านบาท ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก นอกจากนี้ถ้าดูอัตราส่วนหนี้สิน ต่อทุน (D/E) ของบริษัทจดทะเบียนทั้งระบบ ในช่วงก่อนปี 2540 ตอนนั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 2.1 เท่า และหลังลอยตัวค่าเงินบาท D/E ของบริษัทจดทะเบียนเหล่านี้เพิ่มมาอยู่ที่ 1 เท่า เทียบกับปัจจุบันแล้ว บริษัทจดทะเบียนทั้งระบบ ยังมีค่า D/E เพียง แค่ 1.1 เท่า สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการไทยยังจำบทเรียนในช่วง ปี 2540 ได้อย่างดี จึงไม่มีการกู้เพื่อมาลงทุนที่มากเกินไป ดังนั้นตราบใด ที่อัตราการกู้ยืมไม่ได้มาก ก็ไม่น่ากระทบต่อเสถียรภาพและความยั่งยืน


นายมาร์ค ฟาเบอร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทมาร์ค ฟาเบอร์ จำกัด เปิดเผยว่าแนวโน้มการลงทุนตลาดหุ้นไทยในปี 2556  ตลาดน่าจะปรับขึ้นราว 10-20% ซึ่งเป็นระดับที่ดีกว่าการปรับขึ้นมากจนเกินไปที่ 50% เพราะระดับ นี้อาจนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่ และหากฟองสบู่แตกก็จะก่อปัญหาให้ไทย นอกจากนี้การมองเห็นว่ามีสัญญาณเริ่มต้นของฟองสบู่ก่อนหน้านี้นั้น พิจารณาจากการเข้าไปลงทุนเก็งกำไรในหุ้นช่วงขาขึ้นของนักลงทุนกลุ่มหนึ่ง แต่ยังมองตลาดหุ้นไทยเวลานี้เป็นบวกจากการเปรียบเทียบกับภาวะตลาดในปี 2551 และ 2552 ซึ่งเป็นช่วงตลาดดิ่งลงแรง
         ' ผมคิดว่าตลาดฯ ปี 2555 อยู่ในช่วงขาขึ้นตามตลาดอื่นทั่วโลก แต่ไม่ขึ้นมากมายในปีหน้าราว 10-20% และตลาดอาจปรับตัวลงได้เช่นกัน 10%-20% ซึ่งไม่ใช่ระดับทำให้เกิดภาวะตลาดพังทลาย เพราะถ้าตลาดพังทลายจริงราคาหุ้นต้องดิ่งลงถึง 90% ผมไม่เห็นความเสี่ยงขาลงสำหรับตลาดไทย แต่ไม่รู้ว่าดัชนีฯ จะไปถึงไหน คิดว่าตลาดเวลานี้ไม่ถูกเหมือนปี 2552 แม้ที่ผ่านมาผมเพิ่มการลงทุนในไทย แต่ตอนนี้เริ่มลดการลงทุนบ้างแล้ว' นายฟาเบอร์ กล่าว





Thursday, December 19, 2013

Information from IR KTC as of Dec 18 '13

Information from IR KTC as of Dec 18 '13


  • การชุมนุมมีผลกับยอด card spending แต่ไม่มีผลใด ๆ กับ NPL
  • ยอด spending ของ Oct Nov 2013 สูงกว่าเดือนอื่น ๆ ที่ผ่านมา และดีกว่า Oct Nov 2012 ด้วย
  • NPL ปีนี้ จะต่ำกว่าปีที่แล้ว นิดหน่อย
  • เป้าเดิม card จะโต 10% น่าจะโตได้เพียง 6%
  • Q4 โต 13-14% จากที่คาดว่าจะโต 25% 
  • burn point จากโปรโมชั่นที่น้อยลง รวมทั้ง spending ที่ไม่สูงขึ้นมาก ทำให้ไม่ได้ตั้งสำรอง point เพิ่มแต่อย่างใด คชจ. จึงน่าจะต่ำกว่าประมาณการเช่นกัน
  • แต่ Q4 กำไรปกติจะน้อยหน่อย เพราะเอาไปลง Mkt Spending
  • แต่กำไรทั้งปี จะได้ตามที่ คุณระเฑียร บอกแน่นอน
  • เงินปันผลจะคิดจาก ผลกำไรสุทธิรวม ****************
  • Online โตถึง24% แต่ Volume ยังน้อยมาก (ประมาณ 7% ของพอร์ตบัตร)

Saturday, November 30, 2013

Some of US Stocks

แสดงราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปี จนถึงประมาณกลางปี



At End of November 2013, Linked in ขึ้นแล้ว 1 เด้ง




ในขณะที่ Apple กลับมาอยู่ที่ราคาแถวต้นปีแล้ว จากที่เคยลงไป 38% เมื่อช่วงกลางปี




Wednesday, November 27, 2013

KTC Analyst Meeting Q3-2013

ผลประกอบการ
- ตั้งเป้า Bottom Line โตปีละ 20%
- พยายามทำให้ได้ Q ละ 250 MB หรือปีละ 1,000 MB โดยไม่อยากให้กำไร Fluctuate
- Q3'56 negative GDP แต่สามารถ control NPL ให้ลดลงได้ แม้ Earning ไม่สูงแต่ก็เท่าเดิม (ไม่ลด)
- เอา NPL อยู่แน่ และสำรองเพีงพอ worst case แน่ ๆ
- ตั้งสำรองน้อยลง เพื่อ drive กำไร จะไม่ทำแน่นอน
- กำไร Q4'56 < Q3'56 หัก campaign เยอะ เอาเงินคืนลูกค้าผู้ใช้บัตร
- กำไร 1,000 MB ทำได้สบาย ๆ  // กำไร 2,000 MB อาจทำได้ แต่ไม่ Sustain
- ปีหน้า (2557) โตกว่าอุตสาหกรรมแน่ (อาจโตสูงสุดใน industry ด้วย)



พรบ.บัตรเครดิต
- Impact จาก พรบ. ปีหน้า(2014) 250 MB ปีถัดไป(2015) 250 MB
- จะทำระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ Mkt ที่เพิ่มรายได้ ลด คชจ เพื่อ cover 250 MB จาก พรบ.
- ถ้าไม่มา ก็บวก 250 MB แน่ ๆ


อื่น ๆ
- เลือกออกตั๋วยาวหน่อย เพื่อ Fix Interest จะได้ control ผลประกอบการได้ smooth กว่า
- Correction Team & Marketing Team คิดว่าเป็นที่ 1 ของอุตสาหกรรม
- Digital ช้ากว่าคู่แข่ง กำลังจะ Launch คิดว่าดีกว่าหรือเทียบเท่าคู่แข่งแน่นอน
- ปีหน้าจะ Launch Campaign ที่จะมี impact อย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยไม่เพิ่ม คชจ มาก
- KTC ตั้งสำรองสูงที่สุดใน industry
- reject หลาย ๆ รายการ เพราะไม่ได้กำไร เช่น สรรพกร, กรมที่ดิน ทำให้ topline โตน้อยกว่าอุตสาหกรรม

Tuesday, November 26, 2013

GDP Thailand History



Source: http://www.bot.or.th/Thai/Statistics/Graph/Pages/Gross%20Domestic%20Product.aspx

Monday, November 4, 2013

ยอดตัวเลขการผลิตรถยนต์

เราสามารถติดตาม ยอดผลิตรถยนต์รายเดือน ได้ที่

http://www.fti.or.th/2011/thai/ftitechnicalsubdetail.aspx?id=606

จากข้อมูลที่ได้ นำมาพล็อตกราฟ จะได้ดังรูปนี้


จากรูปยอดการผลิตรถยนต์ จะเห็นได้ว่า จากปี 2011 ไปสู่ 2012 ยอดการผลิตรถยนต์พุ่งสูงขึ้นแรงมาก (เข้าใจว่าเกิดจากการกระตุ้นด้วย นโยบายรถคันแรกของรัฐบาล)

ซึ่งสอดคล้องการ Volume ที่เข้าหุ้นกลุ่ม Auto โดยจะเห็นว่า เริ่มมี Volume เข้ามาก ๆ ในช่วงกลางปี 2011 ดังรูปข้างล่างนี้ (เข้าแก็ปเรื่องหุ้นมักจะมองล่วงหน้า 6 เดิอนเลย 555)



ในช่วงนี้เอง หุ้นหลายตัวก็ Perform ได้อย่างยอดเยี่ยม

SAT & STANLY  วิ่ง 1 เด้ง จากกลางปี 2011 ถึง ต้นปี 2013
AH  วิ่ง 3 เด้ง จากกลางปี 2011 ถึง ต้นปี 2013


สำหรับปี 2013 Volumeของกลุ่มนี้ ก็เริ่มตกลง ถึงตัวเลขการผลิตจะยังโตอยู่ แต่คงต้องดูไปข้างหน้าว่าจะยังโตได้อีกไหม เพราะไม่มีมาตรการการกระตุ้นแล้ว




Thursday, October 24, 2013

worst case กรณีใช้ พรบ บัตร

หาก พรบ บัตรผ่าน จะมีผลกระทบกับ กำไรก่อน tax = 50MB per month หรือ 150 MB per Q (กรณี worst case ไม่ทำอะไรเลย แต่คงมีการตกลงกันแน่นอน และสามารถทำให้ไม่กระทบได้ และ 4 baht per share ยังคิดว่าน่าจะทำได้ แม้จะโดน พรบ บัตร)

หากยกที่ Forecast ก่อนหน้านี้ไว้มา

กำไรก่อน Tax                  =        393 MB
หัก ผลกระทบจาก พรบ    =       150 MB

กำไรก่อน tax (adjust)        =       243 MB
Tax 20%                           =          49 MB

Net Profit per Q                =         194 MB
EPS                                  =          0.75 baht per share per Q
                                         =           3    baht per share per year

ช่วงนี้เทรดระหว่าง 30-40 บาท แปลว่าตลาดให้ PE 10-13 เท่า

เพราะฉะนั้น รอดูต่อไป ว่า พรบ จะออกไหม และจะมีผลเพียงไหน


Sunday, October 13, 2013

Forecast KTC Q3'56

Forecast KTC Q3'56

Revenue
     ดอกเบี้ยรับ                            1,400
     ค่าธรรมเนียม                        1,500
     หนี้สูญได้คืน                            325
      FX                                            15
      อื่น ๆ                                         20
รวมรายได้                                                 3,260

Expense
       คชจ ในการบริหาร               1,240 (38% of Revenue)
       ค่าตอบแทน ผบห                     30
       หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ   1,130 (average from Q1&2 หัก cycle cut)
 รวม คชจ                                                  2,400   

EBIT                                                             860
Financial cost                                                  467

กำไรก่อน Tax                                               393
Tax 20%                                                            79

Net Profit                                                        314
EPS                                                                  1.21


Sunday, September 15, 2013

List ผู้ประมูล TV Digital

Source: http://kelive.maybank-ke.co.th/KimEng/servlet/ReportListingServlet?action=ViewStock&DBId=2&rid=22149&lang=2


Monday, September 2, 2013

ติดตามดู กองทุนในช่วงเดือนสิงหาที่หุ้นตกหนักที่ผ่านมา

http://tools.morningstarthailand.com/th/fundquickrank/default.aspx?Site=th&LanguageId=th-TH

จะพบว่า อันดับ 1 Year to date อยู่ที่ 30% เลยทีเดียว เมพมาก ๆ



เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นกลุ่ม Health care และลงที่ตลาดus เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผลตอบแทนเมพไปเลย

http://tools.morningstarthailand.com/th/snapshot/snapshot.aspx?id=F000001W1G



Tuesday, August 20, 2013

KTC Analyst Meeting Q2’56

Analyst Meeting Q2’56
(from Khun m_chai ร้อยคนร้อยหุ้น ห้อง KTC หน้า 77)

เรื่อง Delinquency Rate และ NPL

- Delinquency rate ตอน Q4’55 อยู่ที่ 1.9% Q1’56 อยุ่ที่ 4% พอ Q2’56 อยู่ที่ 2.9% หลังจากนี้ก็จะดีขึ้น แต่ไม่มั่นใจว่าจะลงไปต่ำถึง 1.9% เหมือนตอน Q4’55 ได้ เพราะตอนนั้นถือเป็นช่วงที่ดีมากๆทีเดียวที่ลูกค้าจ่ายตรงกันมาก โดยรวมแล้วดีกว่าเมื่อปี 55 แต่ก็แย่กว่า Q4’55
- NPL เมื่อตอน Q1’56 สูงเพราะรับรู้ Delinquency เร็วก็เนื่องจากการปรับ Cycle Cut ทำให้ลูกหนี้จำนวนหนึ่งที่ไม่เคยถูก Classify เป็นลูกหนี้เกินกำหนดชำระ กลายเป็นเกินกำหนด ... พอมาตอน Q2’56 ก็มีเรื่องการปรับ Cycle Cut อีกเช่นกัน ส่งผลกระทบระดับหนึ่ง และก็มีเรื่องภาะวเศรษฐกิจด้วยที่มีผลกระทบ
- ผลกระทบจาก Cycle Cut หมดไปตั้งแต่เดือน พค แล้ว

เรื่องสำรองหนี้&คะแนน
- สำรองหนี้ที่ตั้งไว้จะไม่เอากลับมาเป็นรายได้ เพราะตั้งไว้เพื่อรองรับกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแบบที่คาดไม่ถึง
- สำรองหนี้ตอนนี้รองรับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้แบบสบายๆ เพราะฉะนั้นถ้าเศรษฐกิจตกต่ำจริงก็กระทบบริษัทน้อย
- สำรอง ณ วันนี้ตั้งไว้เพียงพอแล้ว เพียงพอสำหรับมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ที่จะบังคับใช้ใน 1-2ปีข้างหน้า หรือตั้งไว้เทียบเท่ากับ Basel lll ของแบงค์เลย และเชื่อได้เลยว่าตั้งไว้มากกว่าคู่แข่งทุกราย
- 2H56 ก็ไม่น่าตั้งสำรองมากกว่า 1Q56 แล้ว ... Q3’56 อาจจะดีขึ้นไม่มากเท่าไหร่ แต่ Q4’56 น่าจะชัดเพราะคาดว่าเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น
- Bad Debt Recovery อีก 2-3ปีจากนี้ก็น่าจะอยู่ในระดับนี้แหละ
- สำรองคะแนน บอกได้เลยว่าสำรองไว้เต็มที่แล้ว และมั่นใจว่าสำรองไว้มากที่สุดในอุตฯแล้ว ถามว่าจะมี surprise ที่อยู่ๆโผล่มา 100 ล้าน มั้ย ... ตอบว่า ไม่มี

เรื่องอื่นๆ
- ตอนนี้ที่มีข่าวว่า หนี้ครัวเรื่องสูงมากถึง 80% คุณระเฑียรบอกว่าจริงๆก็สูงมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แล้ว .. โดยภาพรวม Spending ของประชาชนก็เริ่มชะลอ แต่ของ KTC ยังมี growth อยู่แต่อยู่ในระดับที่ชะลอลง
- หนี้ครัวเรือนสูงทำให้ NPL สูงขึ้นไหม ... โดยภาพรวมของ KTC ยังไม่ได้แย่ลง แต่ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา รู้สึกว่าลูกค้าเริ่มตึงๆ โดยดูจาก effort ที่ใส่ไป ปกติแล้วใส่ไปเท่าไหร่ก็จะได้กลับมาร้อย แต่ต้อนนี้ได้กลับมาแต่ 90 95 เอง ... สรุปหนี้ครัวเรือนสูงยังไม่มี Impact กับ KTC ในตอนนี้
- เรื่อง Topline ตอนนี้เริ่มเป็นห่วงว่าจะไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้ 10% แต่ก็เร่งให้ฝ่ายจัดการ ดำเนินการอยู่ จะพยายามทำให้เต็มที่ให้ถึง 10% .... เรื่องลด Cost เรื่อง IT เราประสบความสำเร็จหมด เหลือแต่เรื่อง Topline เรื่องเดียวที่ยังทำไม่สำเร็จ
- เป้าของ Personal Loan ไม่น่ามีปัญหา
- ระบบ IT ก็กำลังปรับอยู่ ยังไม่ได้หยุด แต่ที่ปรับอยู่ไม่ใช่ Core System แต่กำลังปรับเรื่องของ Technology Edge เพื่อให้มากกว่าคู่แข่ง จะได้มี Cost ที่ต่ำกว่า ที่สามารถแข่งขันได้อย่างสบายๆ
- Number of Card ทรงๆ แต่ Percentage of Active Card เพิ่มขึ้น
- ตอนนี้ที่เน้นทำเรื่อง Online Marketing ด้วยก็เพราะเห็นว่า ตลาด Online กำลังเดิตบโตมาก และน่าจะ Launch feature ใหม่ใน Q3’56 นี้ ... ในส่วนของ Online น่าจะโตประมาณ 40%
- เรื่องกำไรปีนี้จากเป้าที่เคยให้ไว้ ว่าจะโตอย่างน้อย 2 เท่าจากปีที่แล้ว เปลี่ยนแล้ว .. เป้าตอนนี้ 1,000 ล้าน ของปี 56 นี้และค่อนข้างมั่นใจว่าทำได้แน่ ( Normalized Profit นะครับ)
- เรื่อง Marketing Budget ปี 56 ก็จะใช้ให้มากที่สุด เพราะเราใช้เพื่อสร้างอนาคต ถามว่ามากแค่ไหน ตอบว่าอย่างมากก็ใช้ให้เหลือกำไรพันล้าน (หัวเราะกันทั้งห้องประชุม)
- Nature ของธุรกิจบัตรเครดิต เวลาพอร์ตโตกำไรจะไม่โต เพราะว่าต้องใช้เงินในการดันพอร์ต แต่เมื่อไหร่ที่พอร์ตเริ่มนิ่งๆ ตอนนั้นกำไรจะโต และโตเร็ว

เพิ่มเติม by me myself

เรื่อง SG&A
- ยึด Q2'56 เป็น base ได้ นั่นคือ Operating cost / Income = 26%-28%

Card Society
- Penetration rate ของ card จะสูงขึ้นได้จนเป็น card society เหมือนเมืองนอก ต้องมีการร่วมมือหลายฝ่าย เช่น Bank ลดการใช้ cash ลง ทำให้คนต้องหันมาใช้ เช็คกะ card มากขึ้น, การนำ Local switching มาใช้กับ credit card ปัจจุบันใช้แค่กับ Debit

พรบ บัตรเครดิต
- เกิดยาก และอีกนาน ต้องผ่านอีกหลายวาระ
- หลาย ๆ ข้อ เตรียมการไว้แล้ว เช่นศูนย์ร้องทุกข์
- มีผลกับทั้งอุตสาหกรรม หากเกิดจริงน่าจะมีการพูดคุยและร่วมมือกัน เพื่อให้กระทบน้อยที่สุด
- แต่หากไม่ทำอะไรเลย แล้ว พรบ ผ่าน จะกระทบประมาณ 50 MB / month (ก่อน tax)
- ถึงจะกระทบ ก็คิดว่า EPS 4 baht per share ยังทำได้

การเพิ่มทุน
- ไม่ชอบการเพิ่มทุน ไม่อยากเอาตังค์ ผถห.
- ตอนนี้ DE7.7 ยังเหลือ อีก 2.3 ให้ใช้ (ประมาณ 15,000MB)
- มีกำไรจากการดำเนินงานปีละ 1,000MB หากต้องใช้เงิน ก็อาจปันผลเป็นหุ้นก้ได้





Monday, August 12, 2013

สรุปแนวคิดจากสุดยอดหนังสือคลาสสิค ‘Superperformance Stocks’

Richard Love ให้คำนิยามของ “Superperformance Stocks” ว่า เป็นหุ้นที่ราคาขึ้นมาอย่างน้อย 3 เท่า (300%) ในช่วงระยะเวลา 2 ปี


1. ความปลอดภัย คือสิ่งที่คุณควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก่อนที่จะซื้อหุ้น

ความปลอดภัยในการซื้อหุ้นนั้นไม่ได้หมายถึงการเลือกซื้อหุ้นของบริษัทที่มีงบการเงินที่แข็งแกร่ง หรือบริษัทที่มี Market cap ขนาดให...ญ่แต่อย่างใด ความปลอดภัยในที่นี้หมายถึง การเลือกซื้อหุ้นในจังหวะที่ควรซื้อ เพราะถ้าคุณตัดสินใจซื้อหุ้นในจังหวะที่ผิด (ตลาดขาลง หรือหุ้นขาลง) ต่อให้งบการเงินของบริษัทจะดีมากแค่ไหน หรือบริษัทจะใหญ่เพียงใด ราคาหุ้นก็ตกลงได้ทั้งนั้น โดยทั่วไปแล้ว ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่คุณควรจะซื้อหุ้นคือ ช่วงที่ตลาดดูเหมือนกำลังจะล่มสลาย และทุกคนเริ่มหมดหวัง เพราะนั่นคือช่วงที่ความเสี่ยงต่ำและมีอัพไซด์สูงมากนั่นเอง (หรือก็คือการซื้อหุ้นหลังจากที่ตลาดได้ทำ Bottom หรือปรับฐานเสร็จแล้ว)


2. หุ้นทุกตัวมีวัฏจักรของราคาหุ้นทั้งสิ้น

Love พูดถึงหุ้นที่มีรายได้และกำไรเติบโตอย่างสม่ำเสมอว่า หุ้นพวกนี้มักจะมี P/E ratio ที่สูงกว่าปกติ หรือบางตัวอาจเกิดการ Overpriced ซึ่งมาจากความคาดหวังที่สูงของนักลงทุน ซึ่งสุดท้ายแล้ว ราคาหุ้นก็จะตกลงมาสู่จุดสมดุลในที่สุด และถึงแม้ว่าหุ้นเหล่านี้จะมีผลการดำเนินงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าตลาดกำลังอยู่ในช่วงขาลงอย่างรุนแรง ราคาหุ้นก็จะปรับตัวลงอยู่ดี (ลองนึกถึงช่วงปี พ.ศ. 2551 ที่บริษัทในตลาดต่างก็กำไรเติบโตกันถ้วนหน้า แต่ราคาหุ้นก็ลดลงอย่างมากแทบทุกตัว)


3. หุ้นของสุดยอดบริษัท ไม่จำเป็นต้องเป็นสุดยอดหุ้นในตลาด

มีคำแนะนำทางด้านการลงทุนจำนวนมากที่สนับสนุนให้ซื้อบริษัทที่มีคุณภาพ บ้างก็ว่าให้ซื้อหุ้นของบริษัทใหญ่ๆ เพราะด้วยคุณภาพของบริษัท คุณจะไม่มีทางเจ็บตัว แต่ตามสถิติพบว่าผลลัพธ์กลับออกมาตรงกันข้าม เพราะหากคุณเลือกลงทุนผิดเวลา เช่น การซื้อหุ้นในช่วงตลาดขาลง นักลงทุนก็สามารถเจ็บตัวหนักๆจากบริษัทใหญ่ๆเหล่านี้ได้เช่นกันไม่ต่างจากการซื้อหุ้นบริษัทขนาดเล็กเลย


4. ตัวเร่ง

หุ้น Superperformance นั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การเซอร์ไพรส์ตลาดด้วยงบการเงินที่ดีขึ้นอย่างคาดไม่ถึง หรือการประกาศควบรวมกิจการกับบริษัทอื่น เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วหุ้นที่เข้าข่าย Superperformance นั้น มักจะเป็นหุ้นที่กำลังกลับตัวจากขาลงหรือผ่านจุด bottom มาแล้ว หากถามว่า เมื่อตลาดทำ bottom หรือได้ปรับฐานเสร็จแล้ว หุ้นประเภทไหนที่มักจะเด้งกลับมาได้เร็วและแรงที่สุด?… คำตอบอาจจะตรงข้ามกับความเชื่อของหลายๆท่าน เพราะมันไม่ใช่หุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพสูง แต่มันมักจะเป็นบริษัทขนาดกลาง-เล็ก ที่กำลังอยู่ในช่วงที่รายได้และผลกำไรของบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว


5. ไม่ช้าก็เร็ว ทุกๆแนวโน้มจะต้องถึงจุดจบเสมอ

หุ้น Superperformance นั้นไม่ใช่หุ้นที่ปรับตัวขึ้นสม่ำเสมอทุกๆปีแต่อย่างใด เพราะไม่ว่าจะเป็นหุ้นที่สุดยอดขนาดไหนก็ตาม หลังจากที่ช่วง Superperformance (Climax Run) ของหุ้นตัวนั้นจบลง มันมักจะตามมาด้วยช่วง sideways ออกข้างเพื่อทำฐานราคาใหม่ ซึ่งช่วงทำฐานนั้น บางครั้งอาจจะกินเวลานานเป็นปี และหลังจากทำฐานเสร้จแล้ว ก็อาจจะตามมาด้วยช่วง Superperformance อีกครั้งก็เป็นได้ (แล้วแต่ปัจจัยพื้นฐานของบริษัท) หุ้นส่วนใหญ่ราคาจะตกลงเมื่อช่วง Superperformance (Climax) ได้จบลง และก็มีหลายๆครั้งที่ราคาหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง (เช่น PTL AJ) โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นนั้นแบ่งได้ 3 อย่าง คือ

- อย่างแรกก็คือ ความอ่อนแอของตลาดในภาพรวม เช่น การจบรอบของตลาด ตลาดเริ่มกลับตัวเป็นขาลง

- อย่างที่สองคือ การที่ราคาหุ้น Overpriced จนเกินไป ซึ่งมักจะจบลงด้วยการ take profit โดยเมื่อไม่มีประเด็นใหม่ๆที่น่าสนใจ ราคาหุ้นก็จะปรับตัวลงอย่างรวดเร็วเพราะไม่มี demand หรือแรงซื้อใหม่ๆเข้ามา

- อย่างที่สามคือ รายได้ของบริษัทเริ่มลดลงหรือผลประกอบการออกมาแย่กว่าเดิม แต่ราคาหุ้นส่วนใหญ่มักจะเริ่มปรับตัวลงก่อนการประกาศงบการเงิน เพราะนักลงทุนหลายคนสามารถประมาณการไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วว่างบการเงินของบริษัทจะออกมาดีหรือร้าย


6. มองหาหุ้นที่สภาพคล่องน้อย มี market cap ขนาดเล็ก และมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

โอกาสที่จะทำกำไรเป็นกอบเป็นกำในตลาดหุ้นนั้น มักจะมาจากบริษัทขนาดเล็กมากกว่าบริษัทขนาดใหญ่ จงมองหาบริษัทขนาดเล็กที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร และมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย นี่คือส่วนผสมของบริษัทที่ปรากฏให้เห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นว่า จะมีการเติบโตของผลกำไรอย่างรวดเร็ว และตามมาด้วยช่วง Superperformance ของราคาหุ้น


7. ความเปลี่ยนแปลงคือโอกาส

การวางแผนเติบโตเชิงรุก (และทำได้จริง) หรือการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆนั้น มีผลกระทบอย่างมากต่อราคาหุ้นของบริษัท เพราะมันทำให้นักลงทุนหลายคนเลือกที่จะติดตามสถานการณ์และข่าวสารของบริษัทอย่างใกล้ชิด โดยไม่ต้องสนใจสถานะของบริษัทว่าจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก อย่างไรก็ตาม โอกาสที่เราจะได้ Capital gain ครั้งละมากๆจากบริษัทขนาดใหญ่ มักจะน้อยกว่า Capital gain จากบริษัทขนาดเล็กที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกอยู่พอสมควร เพราะบริษัทขนาดเล็ก จะมีเปอร์เซ็นการเติบโตของยอดขายและกำไร รวมถึงราคาหุ้น มากกว่าบริษัทขนาดใหญ่อยู่เสมอ


8. Growth, Growth, Growth

นักลงทุนคนใดที่มองหา Capital gain คำโตๆในตลาดหุ้น ควรจะมองหาบริษัทที่อยู่ในช่วงเติบโต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งหรือเข้าตลาดหุ้นมาได้ไม่กี่ปี แต่ก็เริ่มแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถในการเอาตัวรอดทั้งในธุรกิจและในตลาดหุ้นได้เป็นอย่างดี


9. สตอรี่ที่ดีจะช่วยผลักดันให้หุ้นไปได้ไกล

หุ้น Growth Stock เมื่อรวมกับสตอรี่ดีๆไม่กี่อย่าง ก็สามารถทำให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรคำนึงอยู่เสมอเวลาเลือกซื้อหุ้น Growth Stock ที่ราคาสูงๆก็คือ ‘ในระยะยาวนั้น ราคาหุ้นจะสะท้อนมาจากความสามารถในการทำกำไรของบริษัท’ เพราะฉะนั้น ถ้าคุณไม่ระมัดระวังในการเลือกซื้อหุ้นที่เล่นตามสตอรี่แล้ว หากสตอรี่ที่คุณได้รับนั้นกลับไม่เป็นความจริง ราคาหุ้นจะร่วงลงอย่างรวดเร็วจากความผิดหวังของนักลงทุน แต่ตราบใดที่สตอรี่เป็นจริง เช่น บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้นตลอด นักลงทุนส่วนใหญ่จะยังคงถือหุ้นของพวกเค้าต่อไป การแยกแยะความเป็นจริงจากความเพ้อฝัน จึงถือเป็นงานใหญ่ของนักลงทุน


10. มองหาบริษัทที่กำไรเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน

กำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันนั้นมีความสำคัญไม่น้อย เพราะนั่นเป็นการเรียกความสนใจของผู้คน ให้มองเห็นอัตราการทำกำไรที่ดีขึ้นของบริษัท ยกตัวอย่างเช่น ในปี 1963 Xerox Corporation ทำกำไร $10,327,031 หรือ EPS $2.66 ในช่วงครึ่งปีแรก เทียบกับกำไร $5,658,165 หรือ EPS $1.74 ในปี 1962 นี่คือตัวอย่างของการระเบิดของกำไร ซึ่งในกรณีนี้ การที่กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมากนั้นเกิดจากการที่ Xerox เปิดตัวเครื่องถ่ายเอกสารรุ่นใหม่ ซึ่งจากรายได้ของเครื่องถ่ายเอกสารรุ่นใหม่นั่นเอง ที่ส่งผลให้กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมาก และก็ทำให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นไปเช่นกัน


11. ข่าวลือก็ถือเป็นตัวเร่งเช่นกัน

หนึ่งใน “พลัง” ที่ผลักดันให้ราคาหุ้นขึ้นก็คือข่าวลือ ยกตัวอย่าง เช่น Syntex ประกาศผลประกอบการปี 1963 เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับปี 1962 นักเก็งกำไรต่างคาดการณ์ไว้ว่า กำไรในอนาคตจะยิ่งเติบโตมากกว่าเดิม ข่าวลือเรื่องกำไรโตมาก ประกอบกับการที่ Syntex เป็นหนึ่งในสองบริษัทแรกที่สามารถคิดค้นยาคุมกำเนิด ทำให้นักลงทุนต่างรีบแย่งกันซื้อหุ้นของบริษัทเป็นการใหญ่ ส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว


12. ตลาดมองไปข้างหน้า

ดังนั้นความคาดหวังมีผลเสมอ การที่บริษัทมีผลกำไรที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่นักลงทุนคาดหวังกันอยู่แล้ว ดังนั้น การที่บริษัทมีกำไรมากขึ้น ไม่ได้แปลว่าราคาหุ้นจะต้องปรับตัวขึ้นตามอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทอาจจะรายงานผลกำไรที่เพิ่มขึ้นสองเท่า แต่ถ้ามีกองทุนซักสองโหลที่มองว่า บริษัทควรจะมีกำไรโตสามเท่าหละ? กองทุนเหล่านั้นย่อมผิดหวังกับการรายงานผลกำไรที่โตเพียงแค่สองเท่า และอาจจะตัดสินใจเทขายหุ้น หรือนักลงทุนที่คาดการณ์กำไรไว้ล่วงหน้าก็อาจจะตัดสินใจขาย เมื่อกำไรออกมาน้อยกว่าที่คาดเช่นกัน การที่กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นมากโดยไม่มีใครคาดคิด จึงส่งผลดีต่อราคาหุ้นของบริษัทมากที่สุด เพราะฉะนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของผลกำไรที่เพิ่มขึ้นของบริษัท, แผนการดำเนินงานที่จะช่วยให้กำไรในอนาคตเติบโตอย่างต่อเนื่อง, ความสามารถในการทำกำไร และความเป็นไปได้ต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง


13. การขยายตัวในหลายๆด้าน Superperformance มักจะมาจากการ Overreaction ของนักลงทุนที่มีต่อการเติบโตของบริษัท

ซึ่งสามารถวัดได้จากการเปรียบเทียบอัตราการเพิ่มของราคาหุ้น เทียบกับอัตราการเพิ่มของกำไร ซึ่งก็คือการเพิ่มขึ้นของ P/E ratio นั่นเอง (Growth expansion >> P/E expansion) ตราบใดที่คนในตลาดยังมีมุมมองที่ดีต่อหุ้นตัวนั้น ราคาหุ้นจะยังคงพุ่งขึ้นจากแรงซื้อของนักลงทุนที่มีเข้ามาเรื่อยๆ จนกระทั่งช่วง Superperformance จบลง


14. แรงผลักดัน และความกลัวการตกรถ

ในช่วงเวลาหนึ่ง Superperformance Stock มักจะเป็นหุ้นที่สร้างกำไรได้อย่างรวดเร็ว พวกมันมีการเคลื่อนไหวที่ดุดัน, คนในตลาดเริ่มรับรู้และเข้ามาเทรดจำนวนมาก ช่วงเวลาที่หุ้นกำลังโดดเด่นเช่นนี้ การตัดสินใจและลงมืออย่างรวดเร็วเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการบริหารพอร์ตหุ้นประเภทนี้ นักลงทุนที่ค่อนข้างระมัดระวัง มักจะไม่รีบร้อนในการซื้อขาย พวกเขาจะรอคอยจนกระทั่งมั่นใจว่าพวกเค้าคิดถูกอย่างแน่นอนแล้ว แต่กว่าจะถึงจุดนั้น ราคาหุ้นก็ได้ขึ้นมามากหรือไม่ก็ตกลงไปมากแล้ว (คือซื้อช้าเกินไป ขายช้าเกินไป สรุปไม่ได้อะไร แถมอาจจะขาดทุนอีกด้วย) เมื่อคุณตัดสินใจที่จะเล่นหุ้น Superperformance Stock อย่าได้รีรอที่จะซื้อหรือขาย อย่ารอช้าที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อหุ้นตัวนั้น หากมันได้ทำตัวผิดปกติไปจากเดิม การใช้คำสั่ง Stop-loss (Lock Profit) เป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณเก็บกำไรได้พอสมควร หลังจากที่หุ้นพุ่งขึ้นไปอย่างรวดเร็วแล้ว


15. ตลาดคือกงล้อทางอารมณ์ของนักลงทุน

ในช่วงตลาดขาขึ้นนั้น คุณสามารถ let profit run หรือคล้อยตามไปตลาดและนักลงทุนส่วนใหญ่ แต่ก็มีเวลาที่คุณควรออกจากตลาด เพื่อยืนอยู่ข้างสนามเช่นกัน เวลาที่คุณควรขายหุ้น คือช่วงที่ตลาดขาขึ้นเริ่มสูญเสียแรงผลักดันที่เคยมี เมื่อตลาดเริ่มไม่มีแรงผลักดันใหม่ๆอีกแล้ว มันก็จะเริ่มเข้าสู่ช่วงขาลง หรือ sideway เช่นเดียวกับช่วง Superperformance ของหุ้น ที่ส่วนใหญ่มักจะเกิดไม่เกิน 2 ปี อารมณ์ของนักลงทุนจะค่อยๆเปลี่ยนไปจากมองช่วงบวก (Bullish Optimism) สู่ช่วงสงสัยและวิตกกังวล (Doubt and apprehension) เข้าสู่ช่วงมองลบ (Bearish pessimism) และท้ายที่สุดก็จะเริ่มแตกตื่นเมื่อตลาดเริ่มปรับตัวลงเร็วขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดขาขึ้นนั้น ผู้คนอาจจะมองตลาดเชิงบวก หรือแง่ดีมากอย่างไม่ที่สิ้นสุด ฉะนั้นในทางกลับกัน ผู้คนก็จะมองตลาดแย่และเลวร้ายอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในช่วงขาลงเช่นกัน


16. P/E ratio คือตัวสะท้อนมุมมองของนักลงทุน P/E ratios

จะเพิ่มขึ้นอย่างมากในเวลาที่อนาคตของบริษัทดูยอดเยี่ยม ก่อนที่จะลดลงในเวลาที่บริษัทกำลังจะย่ำแย่ P/E ratios จึงเป็นหนึ่งในตัววัดค่าจิตวิทยาของคนส่วนใหญ่ที่มีต่อหุ้นตัวนั้น Love กล่าวว่า จิตวิทยาของนักลงทุนส่วนใหญ่นั้นตรงข้ามกับสิ่งที่ควรจะเป็นเพื่อให้การลงทุนประสบความสำเร็จ ซึ่งหากวัดจากค่า P/E ratios แล้ว ช่วงที่ P/E ratios ยังคงต่ำอยู่ จึงเป็นช่วงที่น่าลงทุนกว่า เพราะ P/E ratios จะสูงอย่างมากเมื่อช่วง Superperformance ของหุ้นนั้นใกล้จะจบลง นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าอารมณ์ของนักลงทุนก็คือ การตอบสนองของนักลงทุนต่อพฤติกรรมตลาด มันจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าหากคุณมองหุ้นด้วยมุมมองที่ตรงข้ามกับตลาดอยู่ตลอดเวลา หรือคุณชอบมองว่าตลาดนั้นผิดเสมอ เพราะคุณไม่สามารถสู้กับแรงของตลาดด้วยตัวคุณเองคนเดียวได้อยู่แล้ว


17. มูลค่าคือความเห็นส่วนตัว ราคาคือสิ่งที่ตลาดกำหนดให้คุณ

ราคาของที่ดินนั้นมีค่าเท่าที่คนซื้อจะยอมจ่ายให้กับคุณ หุ้นก็เช่นกัน หาหุ้นที่คุณคิดว่าจะมีคนมาขอซื้อจากคุณในราคาที่สูงขึ้นในอนาคต แนวคิดนี้ใช้ได้กับการลงทุนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเพชร, ภาพเขียน, ข้าวโพด ข้าวสาลี, บ้าน, ที่ดิน หรือหุ้น ราคาตลาดเป็นสิ่งที่สะท้อนจิตวิทยา และความคิดทั้งแง่บวกแง่ลบของคนในตลาดต่อสินค้านั้นๆ เมื่อราคาตลาดของสินค้าใดๆลดลง ก็เป็นตัวบ่งชี้ว่า ความกลัวว่ามูลค่าสินค้าจะลดลงนั้นแข็งแกร่งกว่าความหวังว่าราคาสินค้าจะสูงขึ้นนั่นเอง


18. หลายๆครั้งที่ราคาตลาดและมูลค่าแท้จริงนั้นสัมพันธ์กันน้อยมาก

หุ้นที่ราคาขึ้นไปสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง มักจะมีการปรับราคาลงมาไม่ช้าก็เร็ว แต่หลายๆครั้งที่หุ้นเหล่านั้นกลับสามารถยืนราคาอยู่ในช่วงที่ราคาสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงได้เป็นปีๆ ก่อนที่ราคาจะปรับตัวลง ในขณะเดียวกัน หุ้นของบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจก็มักจะมีแรงกดดันราคาไว้เสมอ เมื่อเทียบกับหุ้นทั่วไปในตลาด ช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 คือเวลาที่หุ้นส่วนใหญ่และตลาดทะยานขึ้น แต่หุ้นเหล็กก็ยังโดนกดดันอยู่เช่นเดิม แม้ทุกคนจะเห็นว่าราคาหุ้นกลุ่มนี้ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ก็ไม่ได้แปลว่าราคาหุ้นจะต้องปรับขึ้นในเร็ววัน เพราะหุ้นสามารถโดนกดราคาได้เป็นปี


19. ศาสตร์แห่งการทำกำไร

การหาจังหวะขายที่เหมาะสมนั้นยากกว่ากว่าการหาจังหวะซื้อมาก เพราะว่าหุ้นแต่ละตัวลงถึงจุด Low ในตลาดขาลงพร้อมๆกัน แต่ถึง high ในตลาดขาขึ้นไม่พร้อมกัน การขายเมื่อเทรนด์ของตลาดโดยรวมเริ่มเข้าสู่ขาลงมักจะได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจเท่าไหร่นัก เพราะหุ้นจำนวนมากนั้นถึงราคา high ก่อนหุ้นตัวอื่นๆในตลาด การศึกษาราคาและวอลุ่มของหุ้นแต่ละตัว จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาแยกกันและตัดสินใจซื้อ/ขายเป็นตัวๆไป


20. การขายชอร์ต

หลายๆครั้งที่การทำกำไรในตลาดนั้นได้จากการขายชอร์ตหุ้นเร็วกว่าการซื้อหุ้นมาก เหตุผลก็เพราะว่าเมื่อราคาหุ้นดิ่งลงมักจะดิ่งลงแรงและชันกว่า เมื่อเทียบกับช่วงที่ราคาหุ้นขึ้น และช่วงที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นนั้นมักจะกินระยะเวลานานกว่าเสมอ ยิ่งราคาวิ่งขึ้นนานเท่าไหร่ นักลงทุนที่มีมุมมองแง่ลบกับหุ้นตัวนั้นก็จะค่อยๆลดไปเรื่อยๆ ในทางกลับกัน ช่วงเวลาสั้นๆที่หุ้นลงอย่างรวดเร็วนั้น เกิดขึ้นจากความตื่นตระหนกของนักลงทุนที่ยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อราคาหุ้นลดลง…


Monday, July 29, 2013

Bangkok Airways : BA

- IPO 73 M share (34.76%) แบ่งเป็น หุ้นเพิ่มทุน 520 M share // หุ้นของ ผถห เดิม 210 Mshare


- ทุนจดทะเบียน 2100 M baht หุ้นละ 1 baht ทุนชำระแล้ว 1580 M baht (M Share)


- หลัง IPO ==> total share = 1580+520 = 2100 M Share

- บัวหลวง เป็น FA - นโยบายจ่ายปันผล 50%

- สัดส่วนลูกค้า คนไทย 25% (เดิม10%) สัดส่วนลูกค้า คน ตปท 75% (เดิม90%)

- as of July 2013,อัตรา ผดส =70% (last year 65%)

- เป้าหมาย เพิ่ม ผดส 10-15% รายได้โต 15%

วัตถุประสงค์ IPO
- ขยายผูงบิน เพิ่มปีละ 3 ลำ ใน 4-5year จะมี 33ลำ now 23 ลำ
- ก่อสร้างโรงซ่อมที่สุวรรณภูมิ
- ก่อสร้างโรงครัวที่สุวรรณภูมิ
- ขยายโรงครัวที่สมุย
- เปิดเส้นทางการบินใหม่
- adapt Software increase Business Potential
- ชำระหนี้
- ใช้เปนเงินทุนหมุนเวียน



Year 2554 2555 2556(F)

รายได้ 15523 19519 22447

คชจ 13289 15677

กำไร 1133 2533 2913

NPM 7.3% 12.98% use 12.98%

EPS 0.54 1.2 1.4

ถ้าใน 5 ปี ซื้อเครื่องบินได้ครบ 33 ลำ ทำให้ Growth = 43%

ให้ประสิทธิภาพต่าง ๆ ดีขึ้นด้วย


use NPM 13% EPS next 5 year = 1.4 x 1.43 = 2.0


Given PE for big company,no growth around 12-14


Fair Value = 24-28 baht


Sunday, July 21, 2013

ผลงานกองทุนครึ่งปี

ผลงานกองทุนครึ่งปี จริง ๆ เลยมาหน่อยล่ะ as of July 21 '2013





อันดับ 1 ซัดไป 32% ทีเดียว

http://tools.morningstarthailand.com/th/fundquickrank/default.aspx?sortorder=desc&tab=Performance&sortby=ReturnM12

SET as of July 19 '2013 = 1400 to 1481 (+5.8%) (not inc Div Yield)

My Port as of July 19 '2013 = 48.8% (inc Div Yield)

Wednesday, July 17, 2013

KTC กำไรดำเนินงานปกติ

KTC กำไรดำเนินงานปกติ

Q1'56 กำไรดำเนินงานปกติ = 201 MB,EPS = 0.78
(แต่จริง ๆ มีผลของ Cycle Cut ประมาณ 0.6 ดังนั้น adj EPS = 1.38)


Q4'55 กำไรดำเนินงานปกติ = 192 MB,EPS = 0.74
(แต่จริง ๆ มีผลของสำรองคะแนนประมาณ 200 MB และโดน Defer Tax ไป 39% ดังนั้น adj EPS = 1.54)


Q3'55 กำไรดำเนินงานปกติ = 131 MB,EPS = 0.51
(แต่มีสำรองด้อยค่าระบบคอม 386MB และโดน Defer Tax ไป 43% ดังนั้น adj EPS = 1.85)


Q2'55 กำไรดำเนินงานปกติ = 86 MB,EPS = 0.33
(โดน Defer Tax ไป 49% ดังนั้น adj EPS = 0.50)


รวม กำไรดำเนินงานปกติ 4 Quarter = 610 MB,EPS = 2.36
(รวม adj EPS = 5.27 bps)

Sunday, June 23, 2013

Paper Trade

เนื่องจากหุ้นน่าซื้อแล้วหลาย ๆ ตัว เลยอยากลอง Paper trade ดู ว่าจะให้ผลอย่างไร (วัดผล 6 เดือน)

List มา 5 ตัว โดยใช้ราคาเข้าซื้อ Close ของวันศุกร์ที่ 21 มิ.ย.2556

0) SET - close = 1400
             1 week (28/6/56) = 1451 (+3.6%)
             1 month (21/7/56) = 1482  (+5.8%)
             3 month (21/9/56) = xxx  (%)
             6 month (21/12/56) = xxx  (%)

1) SIRI - buy price = 3.08 baht
             1 week (28/6/56) = 3.12 baht (+1.3%)
             1 month (21/7/56) = 2.98 baht (-3.3%)
             3 month (21/9/56) = xxx baht (%)
             6 month (21/12/56) = xxx baht (%)

2) INTUCH - buy price = 78 baht
             1 week (28/6/56) = 87 baht (+11.5%)
             1 month (21/7/56) = 89 baht (+14.1%)
             3 month (21/9/56) = xxx baht (%)
             6 month (21/12/56) = xxx baht (%)

3) ROJNA - buy price = 9.25 baht
             1 week (28/6/56) = 9.35 baht (+1.1%)
             1 month (21/7/56) = 9.1 baht (-1.6%)
             3 month (21/9/56) = xxx baht (%)
             6 month (21/12/56) = xxx baht (%)

4) UOBKH - buy price = 4.28 baht
             1 week (28/6/56) = 4.58 baht (+7%)
             1 month (21/7/56) = 4.82 baht (+12.6%)
             3 month (21/9/56) = xxx baht (%)
             6 month (21/12/56) = xxx baht (%)

5) KTC - buy price = 39.25 baht
             1 week (28/6/56) = 41.75 baht (+6.4%)
             1 month (21/7/56) = 43.5 baht (+10.8%)
             3 month (21/9/56) = xxx baht (%)
             6 month (21/12/56) = xxx baht (%)

Thursday, June 13, 2013

สถานการณ์ SET as of June 13 '13


SET ลง3 วัน June 10-13 '2013 จาก high 1519 จุด ต่ำสุด 1353 จุด (12%)

ถ้านับจาก High สูงสุด May 21 '2013 SET 1649 จุด ผ่านมา 23 วัน ลดลงไปต่ำสุด ประมาณ 21%

--------------------------------------------------------------------------------------
มา update ต่อ
ผ่านมาถึง17 July 2013


SET ทำ Sideway ในกรอบ 1360 to 1480

Saturday, June 1, 2013

สิบกฎเหล็กการลงทุนของแม่ทัพสุมาอี้

สิบกฎเหล็กการลงทุนของแม่ทัพสุมาอี้

Credit: http://www.dekisugi.net/

1. ซื้อก็ต่อเมื่อได้วิเคราะห์ข้อมูลจนมั่นใจว่ามูลค่าตลาดของหุ้นตัวนั้นต่ำ กว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตทั้งหมดที่คาดหวังได้ของบริษัทเท่า นั้น ซึ่งถ้ามันเป็นเช่นนั้นจริง ซื้อมาแล้วไม่ต้องขายเลยก็ยังกำไร (กฎข้อนี้สำคัญมากห้ามผ่าฝืนเด็ดขาด) …

2. ทิศทางของราคาหุ้นเป็นสิ่งที่ไม่มีทางทำนายได้ อย่าพยายามทำกำไรด้วยการ BLASH การเทรดหุ้นทุกวันเปรียบเสมือนการกระโจนเข้าใส่เครื่องบดเนื้อ

3. ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์บริษัทและอุตสาหกรรมให้มากที่สุด ไม่ต้องให้ความสำคัญกับการทำนายทิศทางเศรษฐกิจมหภาค เรือทุกลำต้องเผชิญพายุเหมือนกันหมด จงพยายามเลือกเรือลำที่ดีที่สุดแทนที่จะพยายามคาดเดาว่าพายุจะมาเมื่อไร

4. ราคาหุ้นไม่มีความสัมพันธ์กับกำไรในปัจจุบันแต่จะวิ่งไปตามความเชื่อของตลาด ว่าพรุ่งนี้กำไรของบริษัทจะเป็นเท่าไร หุ้นที่ขึ้นไม่ใช่หุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดี แต่หุ้นที่ขึ้นคือหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดีในวันนี้แต่กำลังจะดีขึ้นวัน หน้าหรือหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดีอยู่แล้วและจะดีขึ้นไปอีก

5. หุ้นบูลชิพที่เติบโตช้า แม้ downside จะต่ำ -20% แต่ upside ก็ต่ำด้วย +20% หุ้นเติบโตสูงจึงน่าลงทุนมากกว่าเพราะแม้ว่า downside ของมันอาจจะมากถึง -100% แต่ upside ของมันไม่มีขีดจำกัด (อาจเป็น 200% 500% 1000%…) พอร์ตที่มีหุ้นเติบโตสูงหลายๆ ตัวแม้จะผันผวนมากกว่าแต่จะวิ่งได้ไกลกว่าพอร์ตที่เต็มไปด้วยหุ้นบูลชิพใน ระยะยาวๆ

6. อย่าให้ความสำคัญกับ dividend yield มากนัก เพราะไม่มีกฎว่าบริษัทต้องจ่ายเงินปันผลเท่าเดิมทุกปี จงสนใจว่าบริษัทเอา retained earnings ไปลงทุนทำอะไรมากกว่า มูลค่าของบริษัทจะเพิ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบริษัทลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบ แทนที่คุ้มค่าเท่านั้น

7. หุ้นเป็นหลักทรัพย์ที่มีผลตอบแทนคุ้มค่ากับการเสี่ยงมากที่สุด อย่าเสียเวลาคิดว่าควรแบ่งเงินไปลงตราสารหนี้เท่าไรหุ้นเท่าไร เงินส่วนใหญ่ของคุณควรอยู่ในหุ้นกับเงินสดตลอดเวลา อย่ากลัว market crash เพราะในระยะยาวๆ ไม่มีตลาดหุ้นไหนในโลกที่ไม่สามารถกลับมาสูงกว่าจุดสูงสุดเดิมได้ เพราะเศรษฐกิจในระบอบทุนนิยมโตต้องขึ้นเรื่อยๆ

8. จงละเลยหุ้นที่มีประวัติเรื่องเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย หรือมีพฤติกรรมดูแลราคาหุ้นแม้แต่ครั้งเดียว ราวกับว่าบริษัทเหล่านั้นมิได้ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์

9. โอกาสในตลาดหุ้นไม่ได้มีมากขนาดหาได้ทุกวันมิฉะนั้นผู้คนคงเลิกทำงานประจำ บริษัทคงเลิกนำเงินไปลงทุนนอกตลาด ในบรรดาหุ้น 20 ตัวที่คุณอยากซื้อในหนึ่งปี จงใช้เงินทั้งหมดที่มีอยู่ซื้อแค่ 1-2 ตัวที่คุณคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่สุดใน 20 ตัวนั้น คุณจะพบว่าคุณจะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าการแบ่งเงินออกเป็น 20 ส่วนเพื่อซื้อทั้ง 20 ตัว

10. นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จร้อยทั้งร้อยมีความคิดที่เป็นอิสระ ถ้าคุณจอดรอไฟแดงอยู่ที่สี่แยกที่ไม่มีรถวิ่งอยู่ แต่รถคันหลังรุมกดดันคุณด้วยการบีบแตรไล่ให้คุณวิ่งออกไปเลย ถ้าคุณไม่สนใจแรงกดดันนั้นและรอจนไฟเขียวจึงค่อยไป คุณมีแนวโน้มที่จะเล่นหุ้นแล้วประสบความสำเร็จครับ

Wednesday, May 29, 2013

หุ้นตก -17จุด ในวันที่ กนง ประกาศลดดอกเบี้ยต่ำกว่าคาด

ผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. นัดล่าสุดในวันนี้ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ตามความคาดหมายของตลาดเงิน จากเดิม 2.75% เหลือ 2.50%
โดยเลขานุการ กนง.ได้ให้เหตุผลว่า เศรษฐกิจไตรมาสแรกของปีนี้ ขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และอาจกระทบต่อแรงส่งในไตรมาส 2 ได้ โดยเฉพาะหากมีความล่าช้าในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ ที่สำคัญแนวโน้มการส่งออกจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมไปถึงเศรษฐกิจโลก ทั้งสหรัฐฯที่ยังฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป และกลุ่มยูโรโซนที่ยังคงอ่อนแอ ส่งผลให้การฟื้นตัวของการส่งออกไทยอาจล่าช้ากว่าที่ประเมินไว้ ขณะที่ภาวะการเงินโลกยังคงมีความผันผวนสูง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพราะเงินทุนเคลื่อนย้ายยังคงไหลเข้าสู่ภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้น้อยลงจากปัจจัยด้านต้นทุน และยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย จึงสามารถผ่อนคลายนโยบายการเงิน เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม หนี้ภาคครัวเรือน และสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ยังคงขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ดังนั้น กนง.ยังคงจับตาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงิน จากปัญหาเงินทุนเคลื่อนย้าย




Sunday, May 12, 2013

สถิติเปิดวันแรกของ IPO

http://www.set.or.th/set/ipo.do?year=2013&language=th&country=TH

จาก link ของตลาดหลักทรัพย์ จะมีสถิติการเปิดตัววันแรกของหุ้นแต่ละตัว แต่ละปี

พบว่า หุ้นแรง ๆ ทั้งนั้น โดยเฉพาะช่วงปี สองปีมานี้ที่ตลาดBull มาก ๆ

แม้แต่ในปี 2551 ที่ตลาดตกแรง IPO วันแรก ก็ยังมีกำไรบ้าง (อาจจะไม่ใช่ช่วงหุ้นตกก็ได้)



Tuesday, May 7, 2013

ราคาหลัง XD ของ SIMAT (May 7 '2013)


วันก่อนหน้าปิดที่ 14.4 บาท

XD 3:1 นั่นคือ dilue 1 / (3+1) = 25%

เพราะฉะนั้น ราคาหลังXD หุ้น = 14.4 x 0.75 = 10.8 บาท

ราคาหลังXD เงิน = 10.8 - 0.0371 = 10.763 บาท

as of May 7 '13 ตลาดเปิด 10.7 บาท และปิดที่ 10.3 บาท
(แปลว่าวันนี้ SIMAT ตก ((10.763/10.3)-1)x100 = 4.5% นั่นเอง)

Saturday, May 4, 2013

20 คำถามที่ “VI พันธุ์แท้” ทุกคนควรตอบให้ได้

“20 คำถาม” ที่ “VI พันธุ์แท้” ทุกคนควรตอบให้ได้
  1. บริษัทมีรายได้ทั้งปีเท่าไร? (ถ้าบอกได้ถึงไตรมาสล่าสุดเลยยิ่งดี)
  2. บริษัทมีกำไรทั้งปีเท่าไร? (เช่นเดียวกันครับ ถ้าบอกได้ถึงไตรมาสล่าสุดเลยจะดีมาก)
  3. ROE ปัจจุบันประมาณกี่เปอร์เซ็นต์?
  4. กระแสเงินสดเป็นอย่างไร? (อธิบายโดยภาพรวมให้พอเข้าใจ เช่น บริษัทนี้เงินสดเหลือเฟือ เพราะเป็นบริษัทค้าปลีก ขายสินค้าเป็นเงินสด แต่ซื้อของเป็นเงินเชื่อ หรือบริษัทนี้เป็นบริษัทลีสซิ่ง เงินสดไม่มาก ลูกหนี้เยอะ เป็นต้น)
  5. Gross Margin, Net Margin ปัจจุบันประมาณกี่เปอร์เซ็นต์? มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่?
  6. D/E (อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น) อยู่ที่เท่าไร? มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง?
  7. Market Cap. ประมาณเท่าไร? (ตัวเลขนี้ดูใน Settrade.com ก็รู้แล้ว)
  8. กำไรของบริษัทย้อนหลัง 5 ปี โตปีละกี่เปอร์เซ็นต์? มีความสม่ำเสมอหรือไม่อย่างไร? (อันนี้สำคัญมากครับ อดีตบอกอนาคต ถ้าโตมาตลอด แปลว่ามีโอกาสจะโตต่อไปเรื่อยๆ)
  9. รายได้ของบริษัทย้อนหลัง 5 ปี โตปีละกี่เปอร์เซ็นต์? มีความสม่ำเสมอหรือไม่อย่างไร? (เช่นเดียวกับคำถามก่อนหน้า .. อดีตบอกอนาคต)
  10. บริษัทมีความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนก้อนใหญ่อยู่เสมอหรือไม่? ถ้าใช่ จะหาแหล่งเงินทุนอย่างไร? (ถ้ากู้มาก็ต้องใช้หนี้กันเหนื่อย ถ้าเพิ่มทุน EPS ก็จะลด มูลค่าหุ้นถูก Dilute เดือดร้อนเราต้องไปหาเงินมาเติมอีก)
  11. ปัจจุบันมี Market Share กี่เปอร์เซ็นต์? เป็นอันดับที่เท่าไรของตลาด?
  12. ใครเป็นคู่แข่งสำคัญของบริษัท? เปรียบเทียบส่วนแบ่งตลาดของบริษัทกับบริษัทคู่แข่ง มากน้อยต่างกันอย่างไร ?
  13. ศักยภาพในการแข่งขันของบริษัทเป็นอย่างไร? มี Competitive Advantage เหนือบริษัทอื่นหรือไม่? (อันนี้เป็นเรื่องเชิงคุณภาพครับ ต้องวิเคราะห์ธุรกิจเป็นด้วย)
  14. มีการซื้อหุ้นคืน เพิ่มทุน หรือออกวอร์แรนต์มั้ย?
  15. ผู้บริหารคือใคร เคยมีประวัติปั่นหุ้น หรือทุจริตอะไรมั้ย?
  16. ผู้บริหารเก่งจริงมั้ย? ทำอะไรมาก่อน? ธุรกิจที่เคยบริหารสอดคล้องกับธุรกิจที่บริหารอยู่ในปัจจุบันหรือไม่? เคยประสบความสำเร็จอะไรมาบ้าง? เคยทำบริษัทเจ๊งมาหรือเปล่า?
  17. แผนการเติบโตของบริษัทในอนาคตเป็นอย่างไร? (หาฟังได้จาก Opp Day หรือถามจากผู้บริหารเวลาเข้าประชุมผู้ถือหุ้น หรือคอยตามข่าวในสื่อต่างๆ)
  18. P/E ปัจจุบันเท่ากับเท่าไร? และค่า P/E เฉลี่ยในอดีต 10 ปี ที่ผ่านมาอยู่ที่เท่าไร?
  19. P/BV ปัจจุบันเท่ากับเท่าไร?
  20. นโยบายการจ่ายปันผลเป็นอย่างไร จ่ายกี่เปอร์เซ็นต์ของกำไร? จ่ายสม่ำเสมอหรือไม่?

Tuesday, April 23, 2013

CPALL ซื้อแม็คโครไทย 1.88 แสน ล.

http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000048875

ASTV ผู้จัดการรายวัน - "ซีพี ออลล์"(CPALL) เทกโอเวอร์ "แม็คโคร"(MAKRO) บอร์ดไฟเขียวซื้อหุ้นทั้งหมด รวมทั้ง 2 บริษัทในกลุ่มจาก "เอสเอชวี เนดธอร์แลนด์ บี.วี. (SHV)" มูลค่า 1.21 แสนล้านบาท คิดเป็น 787.00 บาท/หุ้น แถมควักอีก 6.7 หมื่นล้านตั้งโต๊ะเทนเดอร์ออฟเฟอร์ซื้อหุ้นอีก 85 ล้านหุ้น เตรียมชงผู้ถือหุ้นอนุมัติ 12 มิ.ย.นี้ ชี้ได้รับประโยชน์จากผลตอบแทนการลงทุนที่ดีและมั่นคงเพราะเป็นบริษัทที่มีคุณภาพ มีกลยุทธ์และการตลาดที่โดดเด่น ทีมงานประสบการณ์สูง มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนกระจายสินค้า และลดต้นทุนดำเนินงาน อีกทั้งมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนและมูลค่าเพิ่มจากอสังหาริมทรัพย์ โบรกฯ ห่วงหนี้พุ่ง แต่เชื่อช่วยต่อยอดธุรกิจ
นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (CPALL) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 22 เม.ย. มีมติเข้าซื้อหุ้น และทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ บมจ. สยาม แม็คโคร (MAKRO) รวมทั้ง บริษัท สยามแม็คโครโฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท โอเอชที จำกัด ซึ่งที่เป็นผู้ถือหุ้น MAKRO ทั้งทางตรง และทางอ้อมจำนวน 154,429,500 หุ้น หรือ 64.35% มูลค่าหุ้นละ 787.00 บาท หรือเทียบเท่าหุ้นละ 27.50 เหรียญสหรัฐ โดยเข้าลงนามสัญญาซื้อขายข้างต้นกับ บริษัท เอสเอชวี เนดธอร์แลนด์ บี.วี. (SHV) เพื่อได้มาซึ่งสิทธิการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา และสิทธิในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งคิดเป็นจำนวนสินทรัพย์ที่จะได้มาประมาณ 121,536 ล้านบาท หรือ 4,247 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้บริษัทมีแผนจะทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์กับผู้ถือหุ้นในส่วนที่เหลืออีก 85.57 ล้านหุ้น ใน ราคา 787.00 บาท/หุ้น คิดเป็นมูลค่ารวม 67,344 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการซื้อหุ้นในครั้งแรกจะทำให้ CPALL ใช้เงินในการเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้ทั้งสิ้น 1.89 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันได้กำหนดจัดการประชุมผู้ถือหุ้น ในวันที่ 12 มิ.ย.2556 เพื่อขออนุมัติเรื่องดังกล่าว

สำหรับ แหล่งเงินทุน ในการซื้อกิจการ MAKRO ครั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้ใช้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานของ CPALL และวงเงินตามสัญญาในการสนับสนุนการเงินจากสถาบันการเงิน

โดยผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดกับบริษัท จากการเข้าซื้อหุ้น MAKRO ครั้งนี้ คือ ได้รับประโยชน์จากผลตอบแทนการลงทุนที่ดีและมั่นคง ในการดำเนินธุรกิจ เพราะเป็นบริษัทที่มีคุณภาพมีกลยุทธ์ และการตลาดที่โดดเด่นชัดเจน มีทีมงานประสบการณ์สูง มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง ขณะเดียวกัน ช่วยสร้างผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นผ่านการสร้างประโยชน์ร่วมกันของทั้งสององค์กร และการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่ง เพื่อเพิ่มความสามารถเจรจากับคู่ค้าที่มียอดขายรวมสูงถึง 3 แสนล้านบาท และเพิ่มประสิทธิภาพร่วมกันในการวางแผนกระจายสินค้า เพื่อลดต้นทุนดำเนินงาน อีกทั้งโอกาสในการสร้างผลตอบแทนและมูลค่าเพิ่มจากอสังหาริมทรัพย์และตราสินค้า MAKRO เช่นการบริหารจัดการพื้นที่ใช้สอยของอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

"บริษัทฯ จะใช้แหล่งเงินทุนจากกระแสเงินสดประมาณ 10% ส่วนที่เหลือจะกู้ยืมจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วโลก รวมทั้งธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) โดยเงินกู้จะมีทั้งเงินบาทและดอลลาร์ ตอนนี้มีธนาคารที่ตอบรับให้กู้แล้ว 5-6 แห่ง แต่อยู่ระหว่างเจรจาเพิ่มเติมอีก อย่างไรก็ตามยืนยันว่า CPALL จะไม่เพิ่มทุนจดทะเบียน เนื่องจากการซื้อหุ้นครั้งนี้ขึ้นอยู่บนพื้นฐานที่ต้องการสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น และเชื่อว่าการทำธุรกรรมนี้ไม่มีส่วนใดที่จะส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น แม้ภายหลังการซื้อหุ้น MAKRO เสร็จสิ้น บริษัทฯ จะมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนประมาณ 5 เท่า เพราะอัตราส่วนดังกล่าวจะลดลงตามแนวโน้มผลประกอบการที่ดีขึ้น และขอย้ำว่าราคาในการซื้อหุ้นครั้งนี้ไม่แพง"

แม็คโครคาดดีลแล้วเสร็จภายในสิ้น มิ.ย.นี้
นางเสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานบริหารการเงิน บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO กล่าวว่า บริษัทฯ ได้รับแจ้งจากบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี (SHV) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ว่า SHV ได้ตกลงทำสัญญากับ บมจ.ซีพี ออลล์ เพื่อขายหุ้นทั้งหมดของ SHV และบริษัทในเครือของ SHV ที่ถือหุ้นในบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม จำนวน 154,429,500 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 64.35 ของจำนวนหุ้นที่ออก และจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ในราคา 787 บาทต่อหุ้นซึ่งเป็นราคาคำเสนอซื้อของบริษัทผู้ซื้อ โดยถือตามอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินบาทและดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่คาดว่าจะมีการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จประมาณวันที่ 30 มิถุนายน 2556

โบรกฯ มองดีลเอื้อช่วยต่อยอดธุรกิจแต่ D/E พุ่ง

นายเกียรติก้อง เดโช นักกลยุทธ์ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) ยอมรับว่า การที่ราคาหุ้น CPALL ร่วงลงเยอะวานนี้ แต่กลับมีมูลค่าซื้อขายอันดับหนึ่ง เพราะปัจจัยที่กดดันต่อราคาหุ้น ที่มาจากการที่คาดว่า บริษัทจะต้องใช้เงินจำนวนมาก หากจะเข้าซื้อกิจการแม็คโครในครั้งนี้ แต่สิ่งที่นักลงทุนกังวลคือขายหุ้นให้กับใคร ซึ่งมีกระแสข่าวลือ ทั้งเบอร์ลี่ฯ ซีพีออลล์ เซ็นทรัล แต่ยังไม่มีการยืนยันว่า ใครจะเป็นผู้รับซื้อที่ชัดเจน ล่าสุด นักลงทุนคาดการณ์ว่า ซีพีออลล์ จะเป็นผู้รับซื้อหุ้นในครั้งนี้

"ราคาหุ้นซีพีออลล์ปรับตัวลงทันทีและมีวอลุ่มหนาแน่น เพราะมีการคาดการณ์ว่าจะเป็นผู้รับซื้อหุ้นทำให้นักลงทุนที่ถือหุ้นกังวลใจ เพราะมูลค่ารายการของหุ้นแม็คโคร หากทำรายการจริงตามที่เป็นข่าว มูลค่ารายการจะอยู่ที่ 1.9 แสนล้านบาท ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก หากพิจารณาพื้นฐานซีพีออลล์ มีกระแสเงินสด 2 หมื่นล้านบาท ไม่พอต่อการทำรายการ จำเป็นต้องระดมทุนครั้งใหญ่ นักลงทุนจึงตื่นเทขายหุ้นออกมา"

ทั้งนี้ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา โครงสร้างผู้ถือหุ้น สยามแม็คโคร ประกอบด้วย บริษัท สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) 55.1% ออร์แคม โฮลดิ้ง เอเชีย เอ็น.วี. 9.34% ไทยเอ็นวีดีอาร์ 3.78% และ บีเอ็นพี พาริบาส์ ซิเคียวริตี้ ฯ 3.21%

ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่งกล่าวว่า ดีลที่เกิดขึ้นเป็นมูลค่าที่สูง ทำให้ CPALL ต้องระดมทุนจำนวนมาก และมีผลลต่ออัตราหนี้สินต่อทุนปรับตัวขึ้นไปในระดับที่สูง อย่างไรก็ตามมองว่านี่คือกาารต่อยอดธธุรกิจ และช่วยเสริมศักยภาพของกันและกัน อีกทั้งสาขาของ MAKRO ที่กกระจายอยู่ทั่ววประเทศ ล้วนเป็นทำเลที่มีศักยภาพ เชื่อว่าการต่อยอดรายได้ด้านธุรกิจอสังหาผ่านการเช่าพื้นที่ หรือสร้างอาคารเพิ่มเติมน่าจะเกิดขึ้น และมีผลบวกตต่อรายได้ของทั้ง2บริษัท

Wednesday, April 17, 2013

ทอง ทอง ทอง

ราคาทองคำดิ่งลงอย่างรุนแรงมากที่สุดในรอบ 30 ปี หลังมีข่าวธนาคารกลางหลายประเทศในยุโรปเตรียมนำทองคำสำรองในมือ 13 ตัน ออกขายในตลาด เพื่อระดมทุนแก้ปัญหาหนี้สิน
น.ส.ฐิภา นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ กล่าวว่า ราคาทองคำช่วงสงกรานต์ในตลาดโลกลดลงอย่างรุนแรง จากราคาเมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา อยู่ที่ 1,580 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ลงมาอยู่ที่ 1,320 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือลดลงถึง 260 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ถือเป็นการปรับลดลงแรงที่สุดตั้งแต่ปี 2526 หรือในรอบ 30 ปี แต่เนื่องจากสมาคมค้าทองคำและตลาดอนุพันธ์ ปิดทำการ ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ และจะเปิดอีกครั้งวันพรุ่งนี้ ซึ่งคาดว่านักลงทุนบางส่วนอาจจะอยู่ในสถานการณ์ตื่นตระหนก คาดว่าสมาคมค้าทองคำจะประกาศราคาทองต่ำกว่าบาทละ 20,000 บาท โดยอาจจะลงมาถึง 18,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ขอให้นักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ไปก่อน โดยให้แนวรับของราคาทองไว้ที่ 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งหากยืนอยู่ได้ ก็มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ แต่หากรับไม่อยู่ก็จะไปที่แนวรับ 1,250 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สำหรับสาเหุตที่ราคาทองคำลดลงแรงในช่วงนี้ เนื่องจากมีข่าวว่า ธนาคารกลางของไซปรัส เตรียมขายทองคำที่ถืออยู่ 13 ตัน เพื่อระดมทุน 400 ล้านยูโร เพื่อแก้วิกฤตหนี้ ทำให้เกิดความวิตกว่า ธนาคารกลางของอิตาลีที่ถือทองคำอยู่ 2,000 ตัน, กรีซและโปรตุเกสที่ถือทองคำรวมกัน 300 ตัน อาจจะเทขายทองคำออกมาเช่นกัน ประกอบกับกองทุนต่างๆ ได้เทขายทองคำออกมาก่อนหน้านี้ ซึ่งยิ่งเป็นการซ้ำเติมทำให้ราคาทองคำลดลงต่อเนื่อง

http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000045686

อีกสาเหตุที่ทองลง copy มาจากบทวิเคราะห์









ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำในตลาดโลก

1.เงินดอลลาร์สหรัฐ หากเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงโดยปัจจัยอื่นคงที่ราคาทองคำจะเพิ่มขึ้น เพราะการซื้อทองคำเหมือนการป้องกันความเสี่ยงมูลค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

2.ความกลัวเรื่องเงินเฟ้อ หากเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นโดยปัจจัยอื่นคงที่ราคาทองคำจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะอัตราเงินเฟ้อส่งผลให้มูลค่าของพันธบัตร และเงินสดลดลง แต่มูลค่าทองคำกลับสามารถต้านแรงกดดันเงินเฟ้อได้

3.ความเสี่ยงทางการเมืองและระบบการเงิน ในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ และความกังวลอย่างสูงเกี่ยวกับระบบการเงินโลก ราคาทองคำมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากทองคำถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่ปลอดภัย

4.อุปสงค์และอุปทานของโลก ถ้าความต้องการซื้อมีมากกว่าปริมาณของทองคำโดยปัจจัยอื่นคงที่จะทำให้ราคาทองคำสูงขึ้น เช่น ความต้องการทองคำในประเทศกำลังพัฒนาที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วคือ จีน อินเดีย และตะวันออกกลาง หรือปริมาณของทองคำถูกเพิ่มขึ้นในตลาดขณะที่ความต้องการเท่าเดิมโดยปัจจัยอื่นคงที่จะทำให้ราคาทองคำลดลง เช่น การขายทองคำออกมาจำนวนมากของธนาคารกลาง


ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำในประเทศไทย

1.ราคาทองคำในตลาดโลก หากราคาทองคำในตลาดโลกเพิ่มขึ้นโดยปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น
ในทางกลับกันหากราคาทองคำในตลาดโลกลดลงโดยปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำในประเทศจะลดลง

 
2.ค่าเงินบาท/ดอลล่าห์สหรัฐ หากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงโดยปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำในประเทศจะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันหากค่าเงินบาทแข็งค่าโดยปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำในประเทศจะลดลง

3.อุปสงค์และอุปทานในประเทศ ถ้าความต้องการซื้อมีมากกว่าปริมาณของทองคำโดยปัจจัยอื่นคงที่จะทำให้ราคาทองคำสูงขึ้น เช่น เทศกาลก่อนตรุษจีนราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น


จากบทความนี้คงทำให้นักลงทุนได้เข้าใจปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบกับราคาทองคำ และสามารถวิเคราะห์ราคาทองคำเพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุนได้ สำหรับความรู้ด้านการเงินการลงทุนนักลงทุนสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหลักสูตรต่างๆ ที่ทางสถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) ได้จัดขึ้นเป็นประจำที่ www.tsi-thailand.org

Sunday, March 31, 2013

10 วิกฤติเศรษฐกิจเขย่าโลก

10 วิกฤติเศรษฐกิจเขย่าโลก

Credit: http://www.thaiviclub.com/blogs/315

1. วิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1929

ถือเป็นปฐมบทแห่งหายนะทางธุรกิจยุคบุกเบิกเลยทีเดียวสำหรับวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริการยุคปี ค.ศ. 1929 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Great Depression ที่หากกล่าวไปคงไม่มีใครเชื่ออย่างแน่นอนว่าจะมีภาพคนอเมริกันนับแสนเข้าคิวรอรับอาหารและของแจกฟรีจากหน่วยงานการกุศล ซึ่งวิกฤติทางการเงินในครั้งนั้นเกิดจากความตื่นตูมจนเกินเหตุของเหล่าบรรดาอเมริกันชนที่มีต่อตลาดหุ้นวอล สตรีท และพากันไปกู้เงินมาลงทุนในตลาดหุ้นจนหมดตัวเพื่อหวังรวยทางลัด จึงเป็นที่มาของการเกิดภาวะเก็งกำไรขึ้น ส่งผลให้ หุ้นของหลายๆบริษัทมีราคาทะยานขึ้นสูงเกินกว่าความเป็นจริงหลายเท่าตัว ทั้งที่เศรษฐกิจของอเมริกาช่วงนั้นกำลังถดถอย ทำให้เมื่อถึงเดือนกันยายนก็เริ่มมีข่าวลือว่าหลายๆบริษัทมีอาการขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง และวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1929 ตลาดหุ้นวอล สตรีท ก็เกิดความผันผวนอย่างหนัก หุ้นตกแบบทิ้งดิ่งจนถึงขีดสุด มีการระดมเทขายอย่างหนัก จนเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง หุ้นที่ประชาชนถืออยู่ในมือจึงกลายเป็นแค่กระดาษแผ่นหนึ่งไปในพริบตา ไม่เว้นแม้กระทั่งธนาคารก็พากันล้มละลายไปหลายสิบแห่งเพราะประชาชนไม่สามารถคืนเงินกู้ได้ วิกฤติการเงินในครั้งนี้จึงสอนให้เรารู้ว่าการลงทุนโดยขาดการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านคือหายนะอย่างแท้จริงไม่ต่างอะไรจากแมงเม่าบินเข้ากองไฟเลยแม้แต่น้อย

2. วิกฤติการเงินของอาร์เจนติน่า ค.ศ. 1999-2002

หายนะวิกฤติการเงินของอาร์เจนติน่าเกิดจากความผิดพลาดหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นสังคม วัฒนธรรม นโยบายการเงิน ไปจนถึงการคอร์รัปชัน ทั้งหมดสั่งสมมาตั้งแต่ยุครัฐบาลทหารจนถึงประชาธิปไตยซึ่งกดดันจากต่างประเทศ โดยอาร์เจนติน่ามีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศสูงมากจนเกิดภาวะการขาดดุลทางการเงินอย่างหนัก แถมมีปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรงซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนละ 200% และเกือบจะ 3000% ในปี 1983 จนมีการเปลี่ยนรัฐบาลและนโยบายทางการเงินใหม่หมด มีการกำหนดค่าเงินแบบตายตัวแต่มันไม่ได้ให้ผลดีเลยกลับทำให้เกิดปัญหาด้านการส่งออกขึ้นอีก เพราะค่าเงินแข็งเกินไปทำให้สินค้าส่งออกขายได้ยากขึ้นหนี้เก่าก็มีเป็นจำนวนมหาศาลอยู่แล้ว เมื่อถึงเวลาต้องชำระหนี้สินคืนต่างประเทศก็ไม่สามารถใช้คืนได้ สุดท้าย IMF ต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเร่งด่วน

วิกฤตินี้ทำให้เราเห็นได้ชัดว่าความสามารถของผู้นำและนโยบายทางการเงินของรัฐบาลมีผลต่อการอยู่รอดของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมากขนาดไหน

3. ฟองสบู่แตกในสินทรัพย์ของญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1986-1990

ต้องเข้าใจว่าชาวญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีระเบียบวินัยในการออมเงินที่สูงมากมานับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธนาคารและสถาบันทางการเงินมีเงินเป็นจำนวนมากอยู่ในระบบ ทำให้พวกเขาคิดจะขยายการเติบโตทางธุรกิจด้วยการส่งเสริมการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากการปล่อยกู้ให้เอกชนและประชาชนได้นำเงินออกมาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งขณะนั้นดัชนีหุ้นนิเคอิพุ่งสูงติดกระดานตลาดหลักทรัพย์เลยทีเดียวแต่แล้วความจริงก็ปรากฎขึ้นเมื่อตลาดของญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยประชาชนมีเงินอยู่ในมือก็จริงแต่เมื่อพวกเขาไม่อยากจะเอาออกมาใช้รัฐบาลก็ทำอะไรไม่ได้ ถึงแม้จะพยายามลดดอกเบี้ยเงินฝากขนาดไหนเงินก็ยังไม่ออกมาจากระบบ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจึงเริ่มซบเซาตลาดหุ้นตกเงินทุนในภาคธุรกิจหายไปกว่าครึ่ง ซึ่งในเมื่อไม่มีอุปสงค์ในตลาดอุปทานก็จึงไม่เกิดเป็นเรื่องธรรมดา แล้วเงินทุนก็เริ่มโยกย้ายออกไปในต่างประเทศ การจ้างงานลดลงคนตกงานเป็นจำนวนมาก รัฐบาลญี่ปุ่นแก้ปัญหาแบบเลี้ยงไข้จึงทำให้ใช้ระยะเวลาสะสางปัญหานานถึง 12 ปี กว่าจะดึงอัตราการเติบโตของธุรกิจให้กลับมาอยู่ในแดนบวกได้จากกรณีนี้เองจึงจะเห็นได้ว่าการกระตุ้นการลงทุนนั้นจะต้องทำไปพร้อมๆกันการสร้างพฤติกรรมการบริโภคอย่างต่อเนื่องด้วย

4. วิกฤติทางการเงินที่ประเทศสวีเดน ค.ศ. 1990-1994

หลายคนค่อนข้างแปลกใจที่วิกฤติทางการเงินครั้งนี้มาเกิดขึ้นที่ประเทศสวีเดนดินแดนที่ถือเป็นรัฐสวัสดิการต้นแบบและธรรมาภิบาลดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ซึ่ง ณ จุดเด่นตรงนี้เองได้กลายสภาพมาเป็นหนี้สาธารณะที่สูงมากนานหลายสิบปี จนเมื่อประมาณปลายปี ค.ศ.1980 สวีเดนได้เริ่มคลายความเข้มงวดที่มีต่อสถาบันทางการเงินหลังจากคงอยู่มานานถึง 50 ปี ผลก็คือสถาบันทางการเงินปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจและประชาชนอย่างคะนองมือเนื่องจากไม่สามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงได้ สินทรัพย์ต่างๆในช่วงนั้นราคาทะยานขึ้นสูงอย่างประวัติการณ์จนก่อให้เกิดเป็นการขยายตัวในลักษณะของฟองสบู่ แล้วในที่สุดฟองสบู่ที่ว่านั่นก็แตก สินทรัพย์ต่างๆลดมูลค่าลงกลับกลายเป็นของด้อยค่าไปในพริบตา เมื่อการเก็งกำไรไม่ได้ผลนักธุรกิจและประชาชนก็ต่างไม่มีเงินใช้หนี้ที่กู้มา ธนาคารก็เริ่มล้มลงเป็นแถบๆและลุกลามกลายเป็นวิกฤติทางการเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนในที่สุดจึงเห็นได้ว่าการที่ฝ่ายบริหารให้อิสระกับภาคธุรกิจมากเกินไปโดยไม่มีการควบคุมมักจะทำให้การจัดการมวลรวมของระบบธุรกิจขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นภาครัฐจะต้องเข้ามาควบคุมให้ระบบเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องโดยที่ไม่ผูกขาดเกินไปหรือปล่อยจนเกินไป

5. ฟองสบู่ธุรกิจดอทคอม ปี ค.ศ.1995 – 2000

อินเตอร์เน็ตและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคือความหวังในอนาคตของมนุษย์ และนักลงทุนเป็นจำนวนมากเชื่อในสิ่งที่ว่านั้น จึงแห่แหนกันไปลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องในส่วนเทคโนโลยีเป็นจำนวนมากเพราะมันเป็นอนาคตของการทำธุรกิจในขณะนั้น แต่แล้ววันเผด็จศึกก็มาถึงเมื่อความนิยมของอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีไม่ได้สูงเหมือนดั่งเป้าที่วางไว้ ความผิดหวังในเทคโนโลยีเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆเพราะความก้าวหน้าในขณะนั้นยังไม่ถึงกับระดับความต้องการที่มนุษย์คาดหวังไว้จะให้มันมี ความถดถอยก็เริ่มเกิดขึ้นในตลาดทุนเมื่อราคาหุ้นเทคโนโลยีเริ่มตกลงถึงขีดที่ว่าไม่เหลืออะไรเลยและกลับกลายเป็นภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่สอนให้เรารู้ว่าการลงทุนแบบเก็งกำไรและแนวทางการทำธุรกิจที่เน้นการเติบโตมากกว่าผลกำไรคือหายนะที่น่ากลัวมากกับการทำธุรกิจโดยตลอดมา

6. วิกฤติต้มยำกุ้งในประเทศไทย ปี ค.ศ. 1997-1999

หายนะที่คนไทยหวังให้เป็นเพียงแค่ฝันร้าย เหตุการณ์เริ่มเมื่อ ค.ศ. 1997-1999 ประเทศในอาเซียนได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศจนอาจเรียกได้ว่าฮอตติดลมบน บวกกับนโยบายทางการเงินของไทยช่วงนั้นซึ่งส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกด้วย เมื่อมีปัจจัยบวกจากภายในและภายนอกเช่นนี้จึงเกิดการปั่นราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน และหุ้นจนสูงมากกว่าเงินที่มีอยู่ในระบบหลายสิบเท่าตัวเศรษฐกิจประเทศไทยจึงเข้าสู่ระบบการเก็งกำไร “โดยกู้มาลงทุน” ด้วยหวังกำไรส่วนต่าง

ฟังดูเหมือนจะไปได้ดี แต่สิ่งหนึ่งที่นักเก็งกำไรมองข้ามไปคือเมื่อเงินอยู่ในระบบมากเกินจะส่งผลให้เงินเฟ้อและค่าเงินบาทลดลงอย่างหนัก ทำให้หนี้ที่กู้ยืมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัว แถมยังมีปัจจัยความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเข้ามาอีก ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเทเงินเข้าระบบเพื่อรักษาและคงที่ค่าเงินบาทเอาไว้ แต่การเทเงินเข้าระบบแบบหมดหน้าตักกลับเป็นนโยบายการเงินที่ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง เงินคงคลังของประเทศลดต่ำลงจนเกือบเรียกได้ว่าล้มละลายธนาคารแห่งประเทศไทยก็ไร้ความสามารถในการชำระหนี้ สุดท้ายรัฐบาลไทยจึงประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในที่สุด หนี้ของประเทศจึงเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว สถาบันทางการเงินปิดไปถึง 56 แห่ง ประเทศไทยรวมถึงประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกันต่างต้องขอรับความช่วยเหลือจาก IMF

บทเรียนหายนะวิกฤติต้มยำกุ้งในครั้งนี้สอนให้รู้ว่าไม่ควรคาดหวังกับเงินในอนาคตที่มาจากการเก็งกำไรมากเกินไปนัก เพราะธุรกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่มีความเสถียรพร้อมจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้ว

7. วิกฤติการเงินในรัสเซีย ปี ค.ศ. 1998

วิกฤติทางการเงินในดินแดนถิ่นหมีขาวและวอดก้าอร่อยในครั้งนี้สร้างความเจ็บปวดร้าวให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมากโดยเรื่องเริ่มจากรัสเซียในขณะนั้นเพิ่งจะหลุดพ้นจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเดิมและทำการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นทุนนิยมมากขึ้น สินค้าหลักๆในขณะนั้นก็คือพวกเหล็ก น้ำมัน และทองแดงเป็นสินค้าส่งออกหลัก โดยมีเอเชียเป็นลูกค้าอันดับหนึ่ง แต่พอเอเชียประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจของตนเองเข้า การสั่งซื้อสินค้าจากรัสเซียก็น้อยลงในขณะที่ปริมาณการผลิตเท่าเดิม จึงเริ่มเป็นที่มาของราคาสินค้าตกต่ำถึงขีดสุด แต่เนื่องจากรัสเซียต้องการเงินมาพัฒนาโครงสร้างของประเทศจำนวนมหาศาลจึงออกพันธบัตรเงินกู้เป็นจำนวนมากนำออกขายให้นักลงทุนที่สนใจ โดยมี Yield (ผลผลิตสุทธิที่ได้จากกระบวนการผลิต ซึ่งหักการสูญเสียออกทั้งหมด)ถึง 20% ในหนึ่งปีซึ่งหาไม่ได้จากที่ไหน และนักลงทุนขณะนั้นก็มีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของรัสเซียพอสมควรเพราะพวกเขาเห็นว่ามี IMF คอยหนุนหลังอยู่คงไม่น่าจะมีอะไรผิดพลาด นักลงทุนจึงระดมกู้เงินจากทั่วโลกเพื่อมาซื้อพันธบัตรรัสเซียเก็บเอาไว้เพื่อเก็งกำไร แต่แล้วฝันร้ายก็เกิดขึ้นเมื่อรัสเซียสวมบทซามูไรชักดาบเบี้ยวหนี้ที่ต้องจ่ายทั้งหมดในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1998 แถมยังออกมาตรการห้ามประชาชนถอนเงินสดออกจากธนาคารอีกด้วย เศรษฐกิจจึงพังไปเกือบทั่วโลก อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความละโมบโลภมากของนักลงทุนนั่นเอง จึงเป็นอีกหนึ่งบทเรียนสอนนักลงทุนว่าไม่มีอะไรได้มาฟรีๆเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลตอบแทนที่มากเกินความเป็นจริง แต่ดันจับต้องไม่ได้จริง

8. วิกฤติน้ำมันในยุค ค.ศ.1970

เพราะเครื่องจักรและยานพาหนะแทบทุกสิ่งบนโลกล้วนต้องใช้น้ำมัน และแหล่งน้ำมันส่วนใหญ่มักอยู่ในชาติมุสลิมซึ่งเป็นภาคีโอเปก การเกิดสงครามระหว่างอาหรับและอิสราเอลจึงเป็นเหตุการส่งออกน้ำมันจากชาติอาหรับหยุดชะงัก สร้างความแตกตื่นให้ประชาชนผู้บริโภคจนพากันแห่ซื้อน้ำมันมากักตุนไว้อย่างบ้าคลั่งราวกับเกิดกลียุคด้านพลังงานขึ้น จากนั้นกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันอย่างโอเปกสามารถชิงอำนาจการกำหนดราคามาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกาและสหภาพยุโรปได้อย่างถาวร อันเป็นการเปลี่ยนอำนาจชนิดสลับขั้วที่สำคัญมาก ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่จนเกือบล่มสลาย เพราะเมื่อน้ำมันราคาแพงขึ้น ต้นทุนการผลิตย่อมสูงขึ้นแน่นอน ส่งผลให้ราคาสินค้าแพงขึ้น ผู้บริโภคมีกำลังซื้อไม่พอ ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงตามๆ กัน แต่ที่หนักสุดคือประเทศด้อยพัฒนาที่ต่างชักหน้าไม่ถึงหลังด้วยกันทั้งสิ้น

วิกฤติครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และบางครั้งผู้เป็นเจ้าของตลาดก็มิอาจอยู่เหนือเจ้าของปัจจัยการผลิตอย่างที่เป็นมาในอดีตเสมอไป

9. วิกฤติเศรษฐกิจในประเทศกรีซ ปี ค.ศ. 2009

วิกฤติเศรษฐกิจของกรีซปะทุขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2009 ที่ผ่านมานี่เอง โดยสาเหตุหลักๆมีที่มาจากการขาดวินัยทางการเงินของผู้บริหารประเทศในการกำหนดนโยบายและทิศทางในการบริหารเงินคงคลังภายใน ผสมกับภาวะถดถอยทางการเงินของกระแสเศรษฐกิจโลกในขณะนั้นทำให้งบประมาณภาครัฐขาดดุลถึงร้อยละ 14.5 และยังมีหนี้สาธารณะขึ้นสูงถึงร้อยละ 113 ของ GDP ซึ่งยังไม่รวมรายจ่ายต่อปีจำนวนมากอีก นอกจากนี้โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่บิดเบี้ยวมาช้านานยังกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนอีกด้วย ที่ร้ายกว่านั้นคือการที่มันส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังกลุ่มสหภาพยุโรป จนเหล่าบรรดาภาคี EU และ IMF ต้องเข้าให้การช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนเพื่อกอบกู้ประเทศนี้เอาไว้ไม่ให้ล้มละลายจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศกรีซนั้นมีที่มาจากการขาดไร้ซึ่งระเบียบวินัยทางการเงินของผู้บริหารประเทศและการก่อหนี้สาธารณะขึ้นสูงจนเกินไปตามรูปแบบประชานิยมนั่นเอง

10. วิกฤติซับไพร์มในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 2008 – ปัจจุบัน

วิกฤติซับไพร์มหรือที่เรียกกันว่า “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” ตามประสาสื่อบ้านเรานั้นเป็นวิกฤติทางการเงินครั้งล่าสุดซึ่งมีที่มาจากสถาบันการเงินของอเมริกันได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปล่อยกู้สินเชื่อจำนวนมหาศาลให้กับบริษัทและประชาชนที่มีความน่าเชื่อถือน้อยมาก ซึ่งถ้าเป็นในอดีตบริษัทและประชาชนเหล่านี้ไม่มีทางจะขอกู้ผ่านแน่นอน โดยผู้กู้จะต้องยอมจ่ายเงินค่าดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าเพื่อเป็นการทดแทนการได้รับสินเชื่อมาแบบง่ายๆ ซึ่งนั่นคือจุดเริ่มต้นของวิกฤติอย่างแท้จริงเพราะสถาบันทางการเงินที่ปล่อยสินเชื่อเหล่านั้นประเมินลูกค้าเอาไว้สูงกว่าความเป็นจริงมากทั้งๆที่ลูกค้าบางคนไม่มีคุณสมบัติในการผ่อนชำระเงินแม้แต่แค่ดอกเบี้ยเลยด้วยซ้ำ และเงินที่กู้ไปส่วนใหญ่ก็มักจะลงไปในระบบอสังหาริมทรัพย์เสียด้วย เพราะมีชาวอเมริกันเป็นจำนวนมากที่ต้องการที่อยู่อาศัยใหม่และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็สามารถสร้างงานสร้างรายได้เป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วยสุดท้ายแล้วผลที่ตามมาก็คือเหล่าบรรดาลูกหนี้เหล่านี้ทั้งที่เป็นบริษัทเอกชนและประชาชนก็เริ่มขาดส่งเงินให้กับทางสถาบันการเงินจนนำไปสู่การขาดสภาพคล่องของธนาคารในที่สุด ธนาคารหลายๆแห่งต้องล้มลงอย่างไม่เป็นท่าและกลายเป็นคลื่นยักษ์พัดถล่มระบบเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก วิกฤติครั้งนี้จึงทำให้เราเห็นได้ว่าการขาดความรอบคอบในการปล่อยสินเชื่อมักจะนำมาสู่หายนะที่โหดร้ายเสมอๆ