Saturday, December 21, 2013

การทำนายหุ้นปี 2556 ในช่วงปลายปี 2555

นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริการกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี ในฐานะ "เซียนหุ้นรายใหญ่" มีมุมมองต่อตลาดหุ้นในปี 2556 ว่า SET Index น่าจะออกแนว "สีเขียว" (เป็นบวก) สูงสุดน่าจะทำได้ระดับ 1,400 จุด ต่ำสุดคงไม่หลุด 1,200 จุด


“เอกยุทธ อัญชันบุตร” หรือ “จอร์จ ตัน” นักธุรกิจการเงินและอสังหาริมทรัพย์ เขายังเป็นเซียนหุ้นรายใหญ่ อาสาพยากรณ์ให้ “กรุงเทพธุรกิจ BizWeek” ฟังว่า ทั้งปียังคงมอง SET INDEX ในเชิงบวก โอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น 20-25% มีสูงมาก
โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของปีหน้า ทุกคนมีสิทธิได้เห็นดัชนีระดับ 1,200-1,400 จุด หลังดัชนีขึ้นมาแตะ 1,350 จุดได้ตามคำทำนาย


“พีรเจต สุวรรณนภาศรี” ผู้บริหาร บมจ.ยูเนี่ยน อินทราโก้ ในฐานะนักลงทุน 'วีไอ' รายใหญ่ ทำนายตลาดหุ้นปี 2556 อย่างออก “อรรถรส” ว่า ต้นปี 2556 คงได้เห็นดัชนียืนแถวๆ 1,400 จุด หลังขึ้นมายืนระดับ 1,358 จุด ได้สำเร็จ ฉะนั้นตลาดหุ้นไทยยังน่าลงทุนเหมือนเดิม


 “เสี่ยป๋อง” วัชระ แก้วสว่าง เซียนหุ้นเทคนิครายใหญ่” เขาเชื่อว่า ตลาดหุ้นไทยน่าจะไปได้อีก 10-20% แต่อัตราขยายตัวอาจไม่มากเท่าปี 2555
คาดว่าดัชนีน่าจะอยู่ระดับ 1,450-1,500 จุด ปีหน้าตลาดหุ้นจะได้รับอนิสงค์หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษีนิติบุคคลที่ลดลงเหลือ 20% จาก 30% ในปี 2554 ขณะเดียวกันยังได้ประโยชน์จากเมกะโปรเจคต่างๆ


นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่าได้สำรวจความเห็นนักวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มการลงทุนในปี 2556 พบว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ณ ปลายปี 2556 ไว้ ที่เฉลี่ย 1,471 จุด


ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP ตอนนี้มองว่าราคาหุ้นในตลาดหุ้นไทยยัง คงใกล้เคียงกับภูมิภาค ซึ่งมี P/E ประมาณ 13 เท่า


นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยในปี 2556 คาดว่ามีโอกาสปรับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 1,500 จุด ได้
            ' โดยคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยปีหน้าอยู่ที่ระดับ 1,500 จุดได้ ภายใต้กำไรของบริษัทจดทะเบียน หรือ บจ. ที่เติบโตประมาณ 15% และ P/E ของตลาดฯที่ 13 เท่า โดยอิงกับกลุ่ม Domestic Play' นายกวี กล่าว


นายวิวัฒน์ เตชะพูลผล หัวหน้ากลยุทธ์การลงทุนและผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาดลูกค้าส่วนบุคคล บล.ทิสโก้  เปิดเผยว่าตลาดหุ้นไทยในไตรมาสแรกของปีหน้าอาจปรับลดลง เนื่องจากตลาดฯ ยังรอความชัดเจน จากการแก้ไขปัญหาภาวะหน้าผาการคลังของสหรัฐฯ โดยประเมินแนวรับไตรมาสแรกปีหน้าไว้ที่ 1,260 จุด และแนวรับถัดไปที่ 1,230 จุด อย่างไรก็ตามประเมินว่าหากสหรัฐฯ มีข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนและเป็นไป ในทางบวกจะส่งผลให้ดัชนีฯ ปรับขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีฯ อาจปรับขึ้นไปแตะที่ 1,450 จุด และมีแนวต้านถัดไปที่ 1,500 จุดได้


นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าภาพรวมของตลาดหุ้นไทยในปี 2555 ถือว่าเป็นปีของความท้าท้ายใหม่รวมถึงโอกาส ใหม่สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย เพราะความท้าทายสำคัญของตลาดหุ้นไทยคือความสามารถในการฟื้นตัวของกำไรสุทธิ ของ บจ.จากภัยน้ำท่วมในปี 2554 ซึ่งพบว่าการฟื้นตัวดีเกินคาดส่งผลให้ SET Index สามารถปรับตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 16 ปี ได้สำเร็จ ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งในโลก   
       สำหรับ ความท้าทายในปี 2556 ได้แก่ การเริ่มต้นปี 2556 ด้วยระดับ SET Index ที่ไม่ได้ต่ำเหมือนกับต้นปี 2555 (Forward PER ของต้นปี 2556 ประมาณ 12.50 เท่า เทียบกับ Forward PER ของต้นปี 2555 เท่ากับ 10.8 เท่า) 



นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีความเป็นไปได้ที่หุ้นไทยในระยะต่อไปมีโอกาสปรับขึ้นสูงกว่าจุด สูงสุดเดิมที่ระดับ 1,770 จุด ซึ่งเคยทำไว้ในปี 2537 ส่วนสาเหตุ ที่มองว่าตลาดหุ้นไทยยังห่างไกลฟองสบู่เพราะถ้าพิจารณาจากสินเชื่อเพื่อซื้อ หุ้น (มาร์จิ้นโลน) ในช่วงปี 2540 มีสัดส่วนรวมกันถึง 1.2-1.8 แสนล้านบาท เทียบมูลค่าตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ของตลาดหุ้นในขณะนั้น ซึ่งอยู่ที่ 3.5 ล้านล้านบาท ถือเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงต่างจากปัจจุบันที่มาร์จิ้นโลนทั้งระบบมียอด รวมเพียง 4 หมื่นล้านบาท เทียบกับมาร์เก็ตแคปที่ 11 ล้านล้านบาท ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก นอกจากนี้ถ้าดูอัตราส่วนหนี้สิน ต่อทุน (D/E) ของบริษัทจดทะเบียนทั้งระบบ ในช่วงก่อนปี 2540 ตอนนั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 2.1 เท่า และหลังลอยตัวค่าเงินบาท D/E ของบริษัทจดทะเบียนเหล่านี้เพิ่มมาอยู่ที่ 1 เท่า เทียบกับปัจจุบันแล้ว บริษัทจดทะเบียนทั้งระบบ ยังมีค่า D/E เพียง แค่ 1.1 เท่า สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการไทยยังจำบทเรียนในช่วง ปี 2540 ได้อย่างดี จึงไม่มีการกู้เพื่อมาลงทุนที่มากเกินไป ดังนั้นตราบใด ที่อัตราการกู้ยืมไม่ได้มาก ก็ไม่น่ากระทบต่อเสถียรภาพและความยั่งยืน


นายมาร์ค ฟาเบอร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทมาร์ค ฟาเบอร์ จำกัด เปิดเผยว่าแนวโน้มการลงทุนตลาดหุ้นไทยในปี 2556  ตลาดน่าจะปรับขึ้นราว 10-20% ซึ่งเป็นระดับที่ดีกว่าการปรับขึ้นมากจนเกินไปที่ 50% เพราะระดับ นี้อาจนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่ และหากฟองสบู่แตกก็จะก่อปัญหาให้ไทย นอกจากนี้การมองเห็นว่ามีสัญญาณเริ่มต้นของฟองสบู่ก่อนหน้านี้นั้น พิจารณาจากการเข้าไปลงทุนเก็งกำไรในหุ้นช่วงขาขึ้นของนักลงทุนกลุ่มหนึ่ง แต่ยังมองตลาดหุ้นไทยเวลานี้เป็นบวกจากการเปรียบเทียบกับภาวะตลาดในปี 2551 และ 2552 ซึ่งเป็นช่วงตลาดดิ่งลงแรง
         ' ผมคิดว่าตลาดฯ ปี 2555 อยู่ในช่วงขาขึ้นตามตลาดอื่นทั่วโลก แต่ไม่ขึ้นมากมายในปีหน้าราว 10-20% และตลาดอาจปรับตัวลงได้เช่นกัน 10%-20% ซึ่งไม่ใช่ระดับทำให้เกิดภาวะตลาดพังทลาย เพราะถ้าตลาดพังทลายจริงราคาหุ้นต้องดิ่งลงถึง 90% ผมไม่เห็นความเสี่ยงขาลงสำหรับตลาดไทย แต่ไม่รู้ว่าดัชนีฯ จะไปถึงไหน คิดว่าตลาดเวลานี้ไม่ถูกเหมือนปี 2552 แม้ที่ผ่านมาผมเพิ่มการลงทุนในไทย แต่ตอนนี้เริ่มลดการลงทุนบ้างแล้ว' นายฟาเบอร์ กล่าว





No comments:

Post a Comment