Tuesday, May 26, 2015

10 case study จากคุณหมอพงษ์ศักดิ์

10 case study จากคุณหมอพงษ์ศักดิ์


ผมมีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาที่คณะเภสัชจุฬา มีคำถามจากเวที ที่ถามผู้สัมมนาคำถามหนึ่ง ที่ผมคิดว่า น่าสนใจ มีผู้ถามว่าจากการอ่านข่าวมากมาย จะรู้ได้อย่างไรว่าข่าวนั้นมีความสำคัญต่อการประเมินมูลค่าของกิจการ และมีผลต่อบริษัทซึ่งนักลงทุนควรให้ความสนใจ ผมคิดว่ามีหลายเหตุการณ์ที่นักลงทุนควรใส่ใจ แต่ผมจะขอยกบางตัวอย่างเพื่อให้เห็นโอกาสสำหรับนักลงทุน

1 กรณีแรกคือกฎเกณฑ์ภาครัฐเปลี่ยน ซึ่งทำให้บางบริษัทได้ประโยชน์ บางบริษัทเสียประโยชน์ เมื่อไม่นานมานี้ ภาครัฐเปลี่ยนกฎเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากระบบ adder เป็น fit ผมทำการวิเคราะห์เพิ่มเติมพบว่า กลุ่มพลังงานแสงแดด พลังงานลม จะมีผลตอบแทนการลงทุนลดลง แต่กลุ่มขยะ ชีวมวล ชีวก๊าซมีผลตอบแทนการลงทุนดีขึ้นมาก มูลค่าของกิจการดีขึ้น แต่บางบริษัทมูลค่าที่เพิ่มยังไม่สะท้อนเข้าไปในมูลค่ากิจการเนื่องจากตลาดหุ้นต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้เป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนที่มองเห็นโอกาสนี้ได้


2 การประกาศใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่เดิมของบริษัทเพื่อให้เกิดประโยชน์ และเพิ่มกระแสเงินสดโดยลงทุนเพิ่มน้อยมาก ในกรณีที่บริษัทท่าอากาศยานไทย ประกาศใช้สนามบินดอนเมืองเพื่อทำเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่สองหรือ dual airport เพื่อรองรับ lowcost airline และ การบินแบบ point to point เนื่องจากการสร้างสนามบินสำหรับผู้โดยสาร 35 ล้านคนต้องใช้งบประมาณ 100000 ล้านบาท แต่สนามบินดอนเมืองมีราคาที่เป็น book value ที่ต้องตัดค่าเสื่อม 4500 ล้านบาท การประกาศใช้สนามบินดอนเมืองจึงเป็นการ unlock value ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่ม 100000 ล้านบาท


3 ผลประกอบการ beat expectation ของตลาดมาก ในกรณีโรงพยาบาลสมิติเวชในอดีตช่วงประมาณปี q1 53 โรงพยาบาลประกาศผลประกอบการทีดีขึ้น โดยมีกำไร เพิ่มจาก 97 ล้านเป็น 158 ล้านเมื่อเทียบปีต่อปี สาเหตุสำคัญคือมีการใช้ เตียงของโรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์เพิ่มเนื่องจากคนไข้เพิ่ม เป็นธรรมชาติของธุรกิจโรงพยาบาลที่ต้องลงทุน hard asset ค่อนข้างมากทำให้ค่าเสื่อมมาก พอถึงจุดหนึ่งที่มีการใช้เพิ่มขึ้น ต้นทุนจะเพิ่มน้อยกว่าทำให้กำไรจะดีขึ้นค่อนข้างมาก ซึ่งโรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์มีจำนวนเตียงที่สร้าง 400 เตียงแต่เปิดใช้ช่วงแรก 50 เตียงทำให้มีผลประกอบการที่ไม่ดี ถึงจุดหนึ่งการใช้จำนวนเตียงมากขึ้นถึงจุดคุ้มทุนทำให้ผลประกอบการก้าวกระโดด


4 การนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากบริษัทแม่มีมูลค่าที่ยังไม่รับรู้เป็นมูลค่าที่ซ่อนอยู่ เมื่อนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียน มูลค่าบริษัทลูกที่บันทึกตามมูลค่าทางบัญชี จะถูกรับรู้ใหม่เป็นมูลค่าตามราคาตลาด ซึ่งส่วนใหญ่มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าทางบัญชีค่อนข้างมาก เช่นกรณี tpoly นำบริษัท. tpch เข้าตลาด โดย tpch มีมูลค่า 5000 ล้านบาทที่ราคา ipo และ tpoly ถือ tpch 51% ซึ่งเป็นมูลค่า 2550 ล้านบาท แต่มูลค่าหลักทรัพย์ของ tpoly ขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 1250 ล้านบาท ซึ่งถือว่ามีส่วนลดมากเกินไป


5 บริษัทที่มีโอกาสถูกควบรวมกิจการ ในอดีต makro มีโอกาสถูกควบรวมกิจการ เนื่องจากบริษัทแม่ของ makro คือ svh holdings มีแน้วโน้มที่จะขายกิจการค้าปลีกกลุ่ม cash and carry ทั่วโลกเนื่องจากไม่ใช่ธุรกิจหลักในแผนดำเนินธุรกิจของบริษัทโดยก่อนหน้านี้ svh holdings ได้ทยอยขายกิจการกลุ่ม cash and carry ทั่วโลกเช่นที่ สหราชอาณาจักรขายให้กลุ่มเมโทร ที่มาเลย์เซียขายให้กลุ่มเทสโก้ ที่อินโดนีเซียขายให้กลุ่มลอตเต้ สุดท้ายในปี 2556 ก็ขายกิจการ makro ในไทยโดยได้ราคาที่สูง ซึ่งผู้ถือหุ้นย่อมได้ประโยชน์ไปด้วย


6 การควบรวมกิจการแล้วเกิด synergy effect ในอดีต bigc ได้ควบรวมกิจการกับ carrfour เนื่องจากอยู่ในธุรกิจเดียวกันทำให้ อำนาจต่อรองของ bigc ดีขึ้น สังเกตุได้จาก ภายหลังควบรวมกิจการ gpm ดีขึ้นกว่าก่อนควบรวมกิจการถึง 200 bsp ร่วมกับการที่มีการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรและ logistic มีผลให้การควบรวมกิจการครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ผลประกอบภายหลังควบรวม ดีกว่าต้นทุนเงินทุนที่กู้มา ผลประกอบการของบริษัทภายหลังควบรวมดีขึ้นมาก พร้อมมูลค่ากิจการที่สูงขึ้นมากเช่นกัน


7 การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสำคัญในบริษัท โดยเฉพาะตำแหน่ง ceo ในบริษัทที่มีผลดำเนินการที่ไม่ดี เหตุการณ์ในอดีตกรณี บริษัท thcom ได้เปลี่ยนกรรมการผู้จัดการคนใหม่ พร้อมกลยุทธใหม่ในการดำเนินธุรกิจ โดยขายบริษัทย่อยที่ขาดทุน เปลี่ยนกลยุทธดำเนินธุรกิจเป็น open platform พร้อมการขาย bandwidth เป็น bulk และการขยาย fleet ของธุรกิจดาวเทียมเพิ่มเพื่อการเติบโต ทำให้ผลประกอบการดีขึ้นพร้อมมูลค่ากิจการที่เติบโตขึ้น อีกกรณีคือ บริษัทบัตรกรุงไทยแต่งตั้ง ceo คนใหม่ พร้อมประกาศกลยุทธลดต้นทุน ลดการ outsource ปรับระบบติดตามหยี้ ทำการ big baht ครั้งใหญ่ ลด cost to income ratio หลังจากปรับกลยุทธครั้งสำคัญ บริษัทมีผลประกอบดีขึ้นอย่างมาก


8 การประกาศปรับค่าบริการ ในอดีตบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก ประมาณปี 2554 ประกาศขึ้นราคาน้ำดิบ จาก 9.25 บาท เป็น 10.00 บาท ขณะนั้นบริษัทขายน้ำ ปีละ 270 ลบเมตร ปรับเพิ่ม 0.75 บาททำให้รายได้เพิ่ม 202 ลบ หักภาษี ทำให้กำไรเพิ่ม ปีละ 155 ลบ จากฐานกำไรเดิม 1007 ลบ โดยเพิ่มขึ้น 15.50% ยังไม่รวมยอดการเติบโตของการใช้น้ำในแต่ละปี


9 การทีบริษัทประกาศ sssg เพิ่มอย่างมาก ในอดีต cpn มี effective rental rate เพิ่มปีละ 5 % แต่ในปี 2552 ไตรมาสแรก บริษัทประกาศ effective rental rate เพิ่มเป็น double digit พร้อมกับทำให้ผลประกอบการปีนั้นเพิ่มขึ้นมาก และมูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นไปด้วย


10 ธุรกิจเริ่มประกาศจ่ายปันผลเป็นครั้งแรก หลังจากไม่ได้จ่ายปันผลมานาน ในปี 2010 บริษัท jas ได้ประกาศจ่ายปันผล 0.02 บาทต่อหุ้น หลังจากไม่ได้จ่ายมานาน พร้อมกับการประกาศซื้อหุ้นในตลาดจำนวนมากหลานครั้งของ ceo ที่ราคาประมาณ 0.45 บาทต่อหุ้น


  ซึ่งเป็นสัญญาณให้นักลงทุนควรศึกษาเพิ่มเติม หลังจากนั้นบริษัทก็เริ่ม turn around พร้อมมูลค่าหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น
ตัวอย่างทั้ง 10 แบบ เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ที่เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้นักลงทุน ในการติดตามข่าวสาร เพื่อแยกแยะข่าวสารสำคัญออกจากข่าวสารที่ไม่สำคัญ ผมคิดว่ายังมีอีกหลายกรณีที่ผมไม่ได้กล่าวถึง เมื่อเกิดกรณีเหล่านี้อีกในอนาคตก็ไม่ได้รับประกันว่ากิจการต้องดีขึ้น เพิ่อนนักลงทุนต้องทำการศึกษาเพิ่มเติม เพราะเหตุการณ์อนาคตอาจไม่ได้ผลลัพธ์เช่นที่ผ่านมา ตัวอย่างทั้งหมดเผ็นเหตุการณ์ในอดีตซึ่งไม่เกี่ยวกับราคาหลักทรัพย์ในปัจจุบันครับ

Thursday, May 7, 2015

SET status as of May 6 '15

SET status as of May 6 '15



SET Index = 1519
 PE = 20.77  (Thai Government 10 year Bond = 2.72% as per Mar 2015)
 Yield Gap = 2.09% (ต่ำกว่า 1.8% ควรระวัง!!!) (มากกว่า 2.5% น่าสนใจนะ!!!)



Billy B. = Bear!!!!!!!!

 O'Neil   = ยังคง Market in Correction !!!!

  % SET compare to EMA50 = 1519 vs 1546 = -1.7% (ถ้า 5% ถือว่าค่อนข้าง peak ทีเดียว!!!)