Monday, October 30, 2023

COCOCO as of Oct2023

 COCOCO as of Oct2023

PROS

- ขยาย capacity แบบโหด 

      2022 = 33,000  ton

      2023 = 100,000  ton 

      2024 = 218,000 ton

      2025 = 300,000 ton

- Demand ซื้อมะพร้าวจากจีน ยังโตอยู่

- เป็น OEM ที่มี มะพร้าวในมือมาก 


CONS

- Demand จากจีน จะลดลงไหม (Trend จะต่อเนื่อง หรือ fashion)

- ราคามะพร้าว ลดลงเรื่อย ๆ  มีผลต่อ Gross Profit Margin


Valuation 

- 2022 --> Capacity 33,000 ton ใช้จริง = 18,000 ton  --> Revenue 3300 MB

- 2026 --> Cap 300,000 ton ใช้จริง = 150,000 ton --> say Revenue = 20,000-26,000 MB 

- say NPM = 5-10% =  1,000 - 2,600 MB

- At 8.7 baht --> Mkt Cap = 12,700 MB    

- Worst 2026 = 1000 MB x PE10 = 10,000 MB (downside 20%)

- Best 2026 = 2600 MB x PE15 = 39,000 MB (upside 200%)


Tuesday, October 17, 2023

Impossible Trinity ลงทุนแมน

 สหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยแรงสุด รอบ 30 ปี ทำไมบางประเทศไม่ปรับขึ้นตาม /โดย ลงทุนแมน

นับตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ FED ได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสู้กับเงินเฟ้อ
- เดือนมีนาคม ปี 2565 ดอกเบี้ย 0.5%
- เดือนกันยายน ปี 2566 ดอกเบี้ย 5.5%..
ผ่านไปหนึ่งปีเศษ ดอกเบี้ยนโยบายของประเทศมหาอำนาจของโลก เพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า เม็ดเงินลงทุนจากทั่วโลก ไหลไปยังสหรัฐอเมริกา ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจึงแข็งค่าต่อสกุลเงินอื่น
ธนาคารกลางของหลายประเทศ จึงต้องเริ่มเคลื่อนไหว เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงิน หลายประเทศจึงปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น แต่ก็มีบางประเทศ เช่น จีน กลับปรับอัตราดอกเบี้ยลง
ทำไมแต่ละประเทศ จึงมีวิธีไม่เหมือนกัน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

การที่แต่ละประเทศ เลือกดำเนินนโยบายทางการเงินที่แตกต่างกันนี้
สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะว่า ข้อจำกัดจากทฤษฎี “Impossible Trinity” หรือสามเหลี่ยมที่เป็นไปไม่ได้
โดยปกติแล้ว ในการปรับนโยบายทางการเงิน ธนาคารกลาง หรือรัฐบาลของประเทศแต่ละประเทศ
มักจะยึดหลัก Impossible Trinity ซึ่งเป็นทฤษฎีที่กล่าวว่า ประเทศหนึ่ง ๆ จะสามารถเลือกใช้นโยบายทางเศรษฐศาสตร์ได้เพียง 2 อย่าง จาก 3 นโยบาย ดังนี้

1. การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ หรือการตรึงค่าเงิน
2. การอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี
3. การกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ

กรณีแรก เลือกที่จะตรึงค่าเงินของตัวเอง คู่กับ การอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี โดย ไม่สามารถกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระได้
ยกตัวอย่างประเทศที่ใช้แนวทางนี้ เช่น ฮ่องกง ซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ ซึ่งตรึงไว้ที่ประมาณ 7.8 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งฮ่องกงไม่สามารถมีนโยบายการเงินของตัวเองได้ เช่นเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยนโยบายของฮ่องกง อยู่ที่ 5.75% ซึ่งใกล้เคียงกับของสหรัฐอเมริกา ที่ 5.5%
ประเทศที่อนุญาตให้เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี คู่กับ การตรึงค่าเงิน มักเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นศูนย์กลางทางการเงิน อย่างฮ่องกงและสิงคโปร์
ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอย่างซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีการพึ่งพาการค้าและการลงทุน
รวมถึงมีรายได้จากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกสูงมาก

กรณีที่ 2 คือ การอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี
คู่กับ ประเทศที่เลือกกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ
โดยประเทศในกลุ่มนี้ อาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ยตามสหรัฐอเมริกาบ้างเล็กน้อย
เพื่อไม่ให้ความผันผวนของค่าเงิน มาส่งผลกระทบ ต่อการนำเข้า-การส่งออก มากจนเกินไป
ยกตัวอย่างประเทศที่ใช้แนวทางนี้ เช่น ประเทศไทย
ซึ่งล่าสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปที่ 2.5% ซึ่งก็ยังถือว่าห่างไกลกับอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา ที่ 5.5%
จะเห็นว่า นโยบายการเงินของประเทศในกลุ่มนี้
จะมีความยืดหยุ่นกว่ากลุ่มแรก
คือไม่มีความจำเป็นต้องตรึงค่าเงินมากนัก เพราะมีอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัวนั่นเอง
ทำให้สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ย ได้ค่อนข้างอิสระ

กรณีที่ 3 คือ เลือกกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ คู่กับ สามารถกำหนดนโยบายการเงินได้อย่างอิสระ
ตัวอย่างประเทศที่เลือกใช้แนวทางนี้ เช่น ประเทศจีน
ซึ่งที่ผ่านมา แม้อัตราดอกเบี้ยในหลาย ๆ ประเทศจะสูงขึ้น ในทางกลับกัน จีนกลับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในขณะเดียวกัน จีนก็สามารถที่จะประกาศลดค่าเงิน หรือทำให้เงินแข็งค่าขึ้นได้ โดยใช้กลไกของเงินทุนสำรองที่มีอยู่อย่างมหาศาล
อย่างไรก็ตาม จีนจำเป็นต้องควบคุมการไหลเข้าและออก ของกระแสเงินทุนอย่างเข้มงวด เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านค่าเงิน เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ

อ่านมาถึงตรงนี้ เราคงพอสรุปกันได้แล้วว่า
สาเหตุที่แต่ละประเทศ เลือกใช้แนวทางการรับมือที่แตกต่างกัน
นั่นเป็นเพราะว่า แต่ละประเทศมีเป้าหมาย และโครงสร้างทางเศรษฐกิจต่างกัน
ดังนั้น เงื่อนไขและแนวทาง ที่ใช้ในการรับมือจึงแตกต่างกัน
ซึ่งเรื่องนี้ สามารถเชื่อมโยงกับหลักการ Impossible Trinity ได้ ตามที่อธิบายไป
ทั้งนี้ หากประเทศใด เลือกที่จะใช้ทั้ง 3 นโยบายของ Impossible Trinity ไปพร้อม ๆ กัน ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยอย่าง วิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 นั่นเอง..

Tuesday, October 3, 2023

ทำไม เจ้าของธุรกิจ ถึงชอบตั้งบริษัท มาถือหุ้นแทนตัวเอง | MONEY LAB

 ทำไม เจ้าของธุรกิจ ถึงชอบตั้งบริษัท มาถือหุ้นแทนตัวเอง | MONEY LAB

https://www.facebook.com/moneylabstory


ถ้าใครเคยดูรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ จะเห็นว่าโดยปกติแล้ว บริษัทจะมีชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นชื่อ และนามสกุล ของเจ้าของจริง ๆ
แต่หลายครั้ง เราก็จะพบว่า หลายบริษัทจะมีบริษัทอีกแห่งหนึ่งที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 1 อีกที
เช่น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 1 คือ บริษัท เซ็นทรัลโฮลดิ้ง จำกัด
บริษัทเหล่านี้มักจะถูกตั้งขึ้นมาเพื่อถือหุ้นในบริษัทอื่น ๆ โดยเฉพาะ เราเรียกบริษัทแบบนี้ว่า “บริษัทโฮลดิง”
แล้วข้อดีของการทำแบบนี้คืออะไร ?
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอนให้เข้าใจ

เคยมีคำกล่าวว่า 2 สิ่งที่มนุษย์เราไม่สามารถหนีพ้นได้ คือ ความตายและภาษี

นักธุรกิจที่ชาญฉลาดจึงต้องมีการวางแผนรับมือกับ 2 สิ่งนี้ให้ดี ทั้งเรื่องการส่งต่อมรดก และการบริหารภาษี
ดังนั้น การจัดโครงสร้างผู้ถือหุ้นในอาณาจักรธุรกิจของตัวเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจครอบครัว
วิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมก็คือ การจัดตั้งบริษัทโฮลดิงขึ้นมา เพื่อถือหุ้นแทนสมาชิกแต่ละคนในครอบครัว
ข้อดีของวิธีนี้ในแง่ของการวางแผนส่งต่อมรดกก็คือ เป็นการป้องกันให้อำนาจควบคุมภายในบริษัทยังอยู่กับครอบครัวเจ้าของธุรกิจ
เพราะถ้าให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวถือหุ้นในนามส่วนตัว แล้วเกิดมีปัญหาขัดแย้งกันภายในครอบครัวขึ้นมา มีความเป็นไปได้ว่า สมาชิกบางคนอาจขายหุ้นของตัวเองให้กับบุคคลภายนอกบริษัท
โดยเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นกับบริษัท SM เจ้าของค่ายเพลงชื่อดังในเกาหลีใต้มาแล้ว ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัว นำไปสู่การขายหุ้นให้บุคคลภายนอก จนเข้ามามีอำนาจควบคุมบริษัท

สำหรับตัวอย่างของธุรกิจครอบครัว ที่มีการวางแผนเพื่อสืบทอดธุรกิจให้ทายาทในครอบครัวแบบนี้คือ บริษัท LVMH เจ้าของสินค้าแบรนด์หรูระดับโลก
เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ เจ้าของ LVMH จัดตั้งบริษัทโฮลดิง ชื่อ Agache Commandite SAS ขึ้นมาถือหุ้น LVMH เพื่อรักษาอำนาจการควบคุมบริษัท LVMH ไว้
โดยเขาแบ่งสัดส่วนหุ้นของบริษัท Agache Commandite SAS ให้ทายาทของเขาอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีเงื่อนไขว่า ห้ามมีการขายหุ้นบริษัทโฮลดิงให้แก่บุคคลภายนอก

สำหรับในประเทศไทยเอง ก็มีการจัดโครงสร้างผู้ถือหุ้นในลักษณะนี้ เช่น เครือเซ็นทรัล, เครือซีพี, เครือไทยเบฟ หรือกัลฟ์ เป็นต้น
นอกจากเรื่องการวางแผนส่งต่อมรดกแล้ว การจัดโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบนี้ ยังมีประโยชน์ในแง่ของการวางแผนภาษีอีกด้วย
เพราะตามกฎหมายประเทศไทยแล้ว ถ้าบุคคลธรรมดาขายหุ้นของบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้น จะไม่ต้องเสียภาษี
แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราขายหุ้นของบริษัทที่อยู่นอกตลาดหุ้น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีอัตราสูงสุด 35%
ดังนั้น หากเราต้องขายหุ้นของบริษัทที่อยู่นอกตลาดหุ้น การตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อถือหุ้นแทนเรา จะช่วยประหยัดภาษีให้เราได้อย่างมาก
เพราะอัตราภาษีนิติบุคคลของไทยในปัจจุบัน อยู่ที่เพียง 20%

ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเราจัดตั้งบริษัทในเขตปลอดภาษี เช่น ฮ่องกง แล้วโอนเงินกลับมาในปีถัดไป ก็แทบจะไม่ต้องเสียภาษีเลย
แต่ในอนาคตการเลี่ยงภาษีแบบนี้ก็อาจจะลำบากมากขึ้น เพราะล่าสุดกรมสรรพากรมีการปรับกฎเกณฑ์ในการเก็บภาษีจากรายได้ที่โอนมาจากต่างประเทศใหม่
จากเดิม ถ้าเราโอนเงินกลับมาในปีภาษีถัดไป หลังจากมีรายได้เกิดขึ้น เราจะไม่ต้องเสียภาษี
ด้วยกฎเกณฑ์ใหม่ กลายเป็นว่าเราต้องเสียภาษี ไม่ว่าเราจะโอนเงินกลับมาปีไหนก็ตาม

แต่ถึงอย่างนั้น การตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อถือหุ้นแทนเรา ก็ยังช่วยประหยัดภาษีได้มากอยู่ดี
เพราะเงินปันผลที่จ่ายเข้าบริษัทโฮลดิง จะได้รับการยกเว้นภาษี ในกรณีที่มีองค์ประกอบครบ 3 ส่วน คือ
- เป็นบริษัทที่ บริษัทโฮลดิงถือหุ้นไม่น้อยกว่า 25% ของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง
- บริษัทโฮลดิงและบริษัทย่อย ไม่ถือหุ้นไขว้ระหว่างกัน
- บริษัทโฮลดิงถือหุ้นก่อนและหลังจ่ายเงินปันผล ไม่น้อยกว่า 3 เดือน
ในขณะที่ บุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% หากได้รับเงินปันผล

ทั้งหมดนี้ก็คือ เทคนิคการส่งต่อความมั่งคั่ง และการวางแผนภาษีของเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ ที่เราสามารถพบเห็นได้ในตลาดหุ้น
จะเห็นได้ว่าเทคนิคเหล่านี้ เป็นการอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย เมื่อใดก็ตามที่กฎเกณฑ์เปลี่ยน เราทุกคนก็ย่อมต้องปรับตัวตามกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป..

Monday, October 2, 2023

Set status as of Oct 02, 2023

 Set status as of Oct 02, 2023

SET Index = 1469  PE = 20.31  (Thai Government 10 year Bond = 2.7% as per   Aug 2023)
Yield Gap =   2.22%

 Billy B. =  กลับลงไป BEAR 




SET  1561   -->  1469  (-5.8%)  


------------------------------------------------------
My Stock
SCAP                          -19% 

Sawad                        -17%