Monday, December 30, 2019

YTD 2019 assessment

YTD 2019 assessment



Return = 37%
SET =  1% add Dividend Yield 3% = Total 4%


STOCK Winner 2019

CBG               173%
AMANAH     146%
GULF             103%
BGRIM           98%

BFIT               87%
PTG                87%

JMT                 78%
SAWAD          67%

COM7              70%
AU                   66%

MCS                43%
AUCT             42%
RJH                 35%
MTC               30%
TKN                30%
SPA                 29%
KTC                29%



Friday, December 27, 2019

4 ปีในตลาดหุ้นเวียตนาม by ดร.นิเวศน์

4 ปีในตลาดหุ้นเวียตนาม
 
 
ผมเพิ่งตระหนักว่าตนเองได้เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามประมาณ 4-5 ปีแล้วด้วยเม็ดเงินกว่า 10% ของพอร์ตทั้งหมด ในตอนนั้นวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือการ Diversify หรือกระจายความเสี่ยงของพอร์ตที่เป็นหุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้นไทยทั้งหมด ผมคิดว่าการลงทุนในประเทศเดียวนั้นมีความเสี่ยงกว่าการลงทุนในหลายประเทศและหลายตลาด และตลาดหุ้นที่ผมเลือกที่จะไปก็คือเวียตนาม

 เหตุผลก็คือ ประเทศเวียตนามกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงของการเติบโตสูงอานิสงค์จากการเปลี่ยนและเปิดประเทศจากสังคมนิยมเป็นทุนนิยม เป็นประเทศที่มีประชากรวัยหนุ่มสาวเยอะมาก คนทั้งประเทศมีกว่า 90 ล้านคน ค่าแรงของประเทศต่ำกว่าไทยครึ่งหนึ่งและเป็นประชากรที่มีการศึกษาดีขยันขันแข็ง ผลการทดสอบ PISA Test ของนักเรียนได้คะแนนสูงเท่า ๆ กับคนในประเทศพัฒนาแล้ว เวียตนามกำลังกลายเป็นศูนย์กลางของการส่งออกอีกแห่งหนึ่งของโลก ปริมาณการส่งออกคิดเป็นกว่า 100% ของ GDP ของประเทศ การเติบโตของ GDP เองนั้นสูงถึง 6-7% ต่อปีติดต่อกันมาหลายปีและล่าสุดกลายเป็นประเทศที่มีการเติบโตสูงที่สุดในอาเซียน  

ผมตื่นเต้นและมั่นใจว่าเวียตนามกำลังจะเป็น “The Next Thailand And Beyond” คือจะเติบโตเร็วมากเหมือนไทยในสมัยก่อนและอาจจะแซงไทยในอนาคตเนื่องจากมีประชากรมากกว่ามาก การเติบโตของเวียตนามจะยั่งยืนเพราะเป็นการเติบโตจากการลงทุนที่กำลังเพิ่มขึ้นมหาศาลจากเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ซึ่งกำลังย้ายฐานจากไทยและจีนที่มีค่าแรงสูงกว่ามาก และสิ่งที่ทำให้ผมต้องการเข้าไปลงทุนทันทีก็คือการที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นเวียตนามเพิ่งจะผ่านพ้น “วิกฤติ” ค่าเงินและฟองสบู่อสังหาที่เป็นผลจากการเติบโตเร็วเกินไปซึ่งทำให้มีการลดค่าเงินน่าจะไม่ต่ำกว่า 30% นอกจากนั้น อัตราเงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินด่องกับเงินดอลลาร์ก็เริ่ม Stable หรือมั่นคงขึ้นอย่างมากมาหลายปีแล้ว

  ในตอนนั้นผมคิดว่าผมกำลังเจอกับตลาดหุ้น “ในฝัน” ที่ดัชนีตลาดตกจาก 1,000 จุด เหลือเพียง 500-600 จุดหลังจากผ่านไป 7 ปี เพราะวิกฤตเศรษฐกิจ และทุกสิ่งทุกอย่างกำลังฟื้นตัว นี่คือสถานการณ์แบบเดียวกับตลาดหุ้นไทยในช่วงหลังวิกฤติปี 2540 ที่ผมเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเต็มตัว ผมคิดว่าผมกำลังมีโอกาสทองอีกครั้งหนึ่งในตลาดหุ้นเวียตนาม   

ในตอนนั้นผมไม่รู้จักบริษัท ผมรู้แต่ว่าประเทศกำลังเติบโตเร็วและยั่งยืนซึ่งในที่สุดตลาดหุ้นก็จะโตตาม—เหมือนเมืองไทยในสมัยกว่า 20 ปีก่อน แต่ตลาดหุ้นเวียตนามยังใหม่มาก เพิ่งเปิดมาสิบกว่าปี ยังไม่มีกองทุนอิงดัชนีที่เราจะลงทุนได้สะดวก อย่างไรก็ตาม หุ้นบริษัทจดทะเบียนนั้นมีมากกว่า 700 บริษัท ดังนั้น ผมคิดว่าผมน่าจะซื้อหุ้นลงทุนเป็นพอร์ตที่มีหุ้นจำนวนมากซึ่งก็จะคล้าย ๆ กองทุนกองหนึ่งเหมือนกัน และผมก็ตัดสินใจเลือกลงทุน “แนว VI” ในหุ้นขนาดเล็ก ซึ่งจากการศึกษาของตลาดหุ้นในสหรัฐและตลาดหุ้นไทยพบว่าในระยะยาวจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นแบบอื่น   


วิธีที่ผมใช้ก็คือการ “กรองหุ้น” ด้วยตัวเลขแบบ VI คือเลือกหุ้นราคาถูกจากตัวเลข เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ หุ้นที่ถูกเลือกจะต้องมีค่า PE ไม่เกิน 10 เท่า ค่า PB ไม่เกิน 1 เท่า ค่า Dividend Yield หรืออัตราปันผลไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี และเพื่อที่จะสามารถมีสภาพคล่องซื้อขายได้จะต้องมี Market Cap. ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาทไทย และด้วยเกณฑ์แบบนี้ผมก็ได้หุ้นที่จะซื้อเข้าพอร์ตกว่า 100 ตัว โดยใช้เงินประมาณ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ของพอร์ตโดยรวมของผมในขณะนั้นซึ่งผมก็พอใจ

 ผมคิดว่าในกรณีที่มีปัญหาในประเทศไทย เงินที่เวียตนามก็จะช่วยให้ผมอยู่ได้อย่างสบาย เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมคิดว่าผลตอบแทนในระยะยาวของพอร์ตหุ้นที่เวียตนามจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าไทยเนื่องจากมันน่าจะเติบโตได้เร็วในขณะที่ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มอิ่มตัวอานิสงค์จากการที่ประเทศไทยเริ่มจะเป็นสังคมสูงอายุ   


หลังจากผ่านไปน่าจะซัก 2 ปี โดยที่ไม่ได้ทำอะไร พอร์ตก็เริ่มโตขึ้นแม้จะไม่มาก ประกอบกับเริ่มมีปันผลเข้ามาค่อนข้างมาก ประกอบกับการที่ผมเริ่มรู้จักหุ้นที่น่าจะมีโอกาสโตเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ผมก็เริ่มซื้อหุ้นเป็นรายตัว รวมถึงเพิ่มเงินเข้าไปบางส่วนเพื่อที่จะซื้อหุ้นเหล่านั้น ซึ่งทำให้หุ้นเหล่านี้มีสัดส่วน 20-30% ของพอร์ตแล้วทั้งที่มีหุ้นอยู่ไม่กี่ตัว เหตุผลก็คือ หลังจากเวลาผ่านไป หุ้นตัวเล็กในพอร์ตจำนวนเป็น 100 ตัวนั้นให้ผลตอบแทนน้อยมาก ดูเหมือนมันจะไม่โตเนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเป็นหุ้นรัฐวิสาหกิจที่ผู้บริหารมักจะมีอายุมากและไม่มีแรงจูงใจที่จะสร้างการเติบโต พวกเขาคงอยู่มานานมากหลังจากที่ประเทศกลายเป็นสังคมนิยมเมื่อ 40 ปีก่อน ถึงวันนี้ดูเหมือนว่ามันยังทำกำไรและจ่ายปันผลได้แต่ไม่โตและอาจจะค่อย ๆ ตายไปก็ได้เมื่อถูกแข่งขันจากบริษัทเอกชนที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน   


พูดถึงผลตอบแทนของพอร์ตเวียตนามหลังจาก 4 ปีผ่านไปนั้นต้องบอกว่า “น่าผิดหวัง” สองสามปีที่ผ่านมานั้นพอร์ตแทบไม่โตเลยทั้ง ๆ ที่ดัชนีเวียตนามย้อนหลังไป 4-5 ปีนั้นปรับตัวขึ้นอย่างงดงามจากประมาณ 600 จุดเป็นเกือบ 1,000 จุด ณ. ปัจจุบัน

ในขณะที่ดัชนีหุ้นไทยในช่วงเวลาเดียวกันนั้นแทบจะ “คงที่” ในพอร์ตส่วนตัวผมเองที่ตลาดหุ้นไทยนั้น 4-5 ปีที่ผ่านมาถึงแม้จะไม่ค่อยดีนักแต่ก็ยังพอใช้ได้และดีกว่าพอร์ตที่เวียตนามมาก  

ข้อสรุปของผมก็คือ ผม “Underperform” จากการลงทุนที่เวียตนามมาก แต่เมื่อได้คุยกับเพื่อนนักลงทุน VI ที่ไปลงทุนในเวียตนามในเวลาใกล้เคียงกันก็พบว่าพวกเขาก็ทำได้ไม่ดีเช่นเดียวกัน เกิดอะไรขึ้นกับตลาดเวียตนาม? ทำไม VI ที่มีประสบการณ์สูงในตลาดหุ้นของประเทศไทยในช่วง “ยุคทอง” ซึ่งคล้ายคลึงกับประเทศเวียตนามในช่วงเร็ว ๆ นี้ จึงไม่สามารถทำผลงานที่ดีรวมถึงยังแพ้ผลตอบแทนของดัชนีตลาดหุ้นได้?   


คำตอบของผมก็คือ แม้ว่าเศรษฐกิจของเวียตนามจะโตเร็วและแข็งแกร่งอย่างที่เราคาด แต่ตลาดหุ้นหรือตลาดทุนของเวียตนามนั้นยังค่อนข้างจะด้อยมากในหลาย ๆ ด้านเห็นได้จากการที่เวียตนามยังเป็น Frontier Market หรือตลาดหุ้น “ชายขอบ” ที่สถาบันการลงทุนขนาดใหญ่ระดับโลกยังไม่สามารถเข้ามาลงทุนได้ ปัญหาของเวียตนามก็คือ แม้ว่าจะมีบริษัทขนาดใหญ่และโดดเด่นของประเทศเข้ามาจดทะเบียนเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ อุตสาหกรรม แต่ปริมาณของนักลงทุนในประเทศกลับมีน้อยมาก นักลงทุนส่วนบุคคลรายย่อยของเวียตนามนั้นแม้ว่าจะมีจำนวนมากแต่เม็ดเงินลงทุนแต่ละรายก็น้อยมากและแทบทั้งหมดต่างก็เป็นนักเก็งกำไร ผมแทบไม่เคยเจอนักลงทุนส่วนบุคคลรายใหญ่ไม่ต้องพูดถึงนักลงทุนแบบ VI ซึ่งต้องถือว่า “ไม่มี”     


ตลาดหุ้นเวียตนามนั้นแทบไม่มีนักลงทุนสถาบันในประเทศที่จะมีเม็ดเงินจำนวนมากที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดอย่างสม่ำเสมอ ผมเข้าใจว่าเขาไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนประกันสังคมอย่างในเมืองไทยหรือประเทศก้าวหน้าอื่น ๆ ที่สมาชิกจะออมเงินเข้ากองทุนตลอดเวลาที่ยังทำงานอยู่ ล่าสุดถึงแม้ว่าจะมีการจัดตั้งกองทุนรวมขึ้นบ้าง แต่เม็ดเงินของแต่ละกองก็ยังน้อยมากส่วนใหญ่ระดับเป็นแค่หลักร้อยล้านบาทไทยซึ่งแทบจะไม่มีผลต่อตลาดหลักทรัพย์เลย ดูเหมือนว่าคนที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่รายเดียวของตลาดหุ้นเวียตนามก็คือนักลงทุนต่างประเทศที่เป็นนักลงทุนแนวเฮดจ์ฟันด์ ที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่และมีผลประกอบการที่ดีหรือไม่ก็หุ้นขนาดกลางที่เป็น “ซุปเปอร์สต็อก”  


อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดที่ชาวต่างชาติจะไม่สามารถซื้อหุ้นเกินสัดส่วนได้ในหุ้นหลาย ๆ ตัวก็ทำให้หุ้นดี ๆ เหล่านั้นมี Foreign Premium คือราคาหุ้นจะสูงกว่าราคาที่ซื้อขายบนกระดานปกติ บางที 3-40% ทำให้หุ้นไม่สะท้อนราคาที่แท้จริงอย่างที่ควรจะเป็นทั้งหุ้นใหญ่ กลางและเล็ก   นักลงทุนแบบ VI ไทยซึ่งรวมถึงผมด้วยนั้น นับถึงวันนี้ประมาณ 4-5 ปีแล้วที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามน่าจะพูดได้ว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จนักแม้ว่าจะไม่ล้มเหลว หุ้นในตลาดเวียตนามนั้นจำนวนมากยังเข้าข่ายเป็น “หุ้น VI” ที่มีคุณภาพดีและราคาถูก แต่ดูเหมือนว่า “คนอื่น” หรือผู้เล่นในตลาดหุ้นเวียตนามอาจจะยังไม่มองอย่างนั้นหรือไม่มีเงินพอที่จะเข้ามาซื้อซึ่งจะช่วยดันราคาหุ้นให้ขึ้นไปสะท้อนคุณค่าของมันได้

 ผมคิดว่าจนกว่าตลาดหุ้นเวียตนามจะพัฒนาขึ้น มีนักลงทุนหรือมีเงินเข้ามาลงทุนหุ้นมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีกฎเกณฑ์ที่เข้ามาตรฐานโลก ก็อาจจะเป็นการยากที่หุ้นดี ๆ จะปรับตัวขึ้นไปเร็วและมากอย่างที่เคยเกิดขึ้นในตลาดหุ้นไทย ผมเองลึก ๆ แล้วก็รอ “ทศวรรษทองของหุ้น VI เวียตนาม” อยู่แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเกิดไหมและเกิดเมื่อไร ผมเชื่อว่าคนที่ไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามนั้นยังไม่หมดหวังเห็นได้จากการสัมนาเกี่ยวกับตลาดหุ้นเวียตนามก็ยังมีคนเข้าร่วมคับคั่งพอสมควร ผมเองคิดว่าดูจาก Market Cap. ของตลาดและของหุ้นใหญ่ ๆ ที่เป็นเสาหลักของประเทศเวียตนามแล้ว ยังไงหุ้นก็ต้องโต ไม่มีทางเป็นอื่น




Wednesday, December 25, 2019

JMT as of Dec2019

JMT as of Dec2019


PROS
 - ตั้งเป้ากำไรโต 27% from 2019 (say ตาม Kimeng --> EPS2020 ประมาณ 1)
 - กอง Unsecure Loan ใหญ่ขึ้น และมีการตัดต้นทุน มากขึ้น
 - กอง Secure Loan ของปี 2016 น่าจะมีการ Re-Finance ทำให้ได้รับเงินก้อน
 - ซื้อหนี้ใหม่ ของ2019 ยังไม่ประกาศอีก 10,000 MB
 - ซื้อหนี้ใหม่ เป้า2020 ตั้งงบอีก 4500 MB
 - Bank เคลียร์หนี้ออกมาเยอะ จาก IFRS9
 - JP Insurance ไม่ขาดทุน


CONS
  - ซื้อหนี้ไม่เข้าเป้า
  - การ relate BAM ซึ่ง PEต่ำ
  - กอง Secure Loan ไม่ Re-Finance ทำให้เลื่อนการได้เงินก้อน
  - JP Insurance ขาดทุน



Monday, December 2, 2019

Set status as of Dec 02, 2019

Set status as of Dec 02, 2019


 SET Index = 1569  PE = 19.23  (Thai Government 10 year Bond = 1.52% as per Oct 2019)
Yield Gap = 3.68%

 Billy B. =   BEAR

 O'Neil   =   Correction
% SET compare to EMA50 = ติดลบ (ถ้า 5% ถือว่าค่อนข้าง peak ทีเดียว!!!)
 
Stock Monthly Winner
 
SET 1592 --> 1569 (-1.4%)
KCE                 43%
HANA             28%
VIH                 24%
SPA                 10%
 
แก๊ง Bank
KBANK                 15%
TMB                       12%
SCB                        10%
 
 
 
 

 

Tuesday, November 26, 2019

Sell RJH as of Nov2019

Sell RJH as of Nov2019

- งบ Q3'19 ออกมาน้อยกว่าที่คิดไว้
- EPS2019 น่าจะประมาณ  1  เคยคิดไว้ 1.2 (Normal operate)

- Story โรงพยาบาลใหม่ Done
- การปรับปรุงภายในโรงพยาบาล Done
- ปันผลพิเศษ Done

So, no more catalyst soon.


Thursday, November 14, 2019

SAWAD as of Q3'19 announce (Nov 2019)

SAWAD as of Q3'19 announce (Nov 2019)

- เป็นผลการดำเนินงาน Q แรก หลังจาก ถือ BFIT 82% (Net Profit 947MB ถือว่า OK เลย)
- หวัง NPM ที่อาจจะดีขึ้นจาก BFIT ที่เก็บดอกเบี้ยได้มากกว่า
- หวัง Port Growth ที่ aggressive กว่าที่ผ่านมา หลังจาก take BFIT สำเร็จ


- For 2020 --> EPS say 3.3 แต่ยังไม่ Dilute ปันผลหุ้นนะ


- Port Size Q3'19 = 39,000 MB
  If Market Cap = 100,000 MB / 1325 M share = 75 Baht
  (MTC as of Nov2019 : Port 57,000 MB --> Mkt Capt = 126,000 MB // NPM 32.6%)
 










Friday, November 8, 2019

“โลกกำลังคลั่ง ระบบกำลังพัง” สรุปบทความล่าสุด จาก Ray Dalio / โดย ลงทุนแมน

https://www.facebook.com/longtunman/posts/664714200727858?__tn__=K-R

“โลกกำลังคลั่ง ระบบกำลังพัง” สรุปบทความล่าสุด จาก Ray Dalio / โดย ลงทุนแมน

เรย์ ดาลิโอ ผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่สุดในโลก
ได้ออกมาเขียนบทความล่าสุดเรื่อง
“The World Has Gone Mad and the System Is Broken”
หรือแปลว่า โลกกำลังบ้าคลั่ง และ ระบบกำลังพังลง

เขาคนนี้ คือ ผู้บริหารบริษัท Bridgewater Associates
เฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่สุดในโลก ที่บริหารเงินกว่า 4.8 ล้านล้านบาท

ล่าสุด เขาได้ออกมาเตือนผู้คนทั่วโลกผ่านบทความที่เขียนใน Linkedin ว่าระบบการเงินในโลกของเราใกล้จะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่..

1) เงินกำลังเป็นของฟรีสำหรับคนที่มีเครดิตดี
สมัยนี้ นักลงทุนทั่วโลกต่างก็เทเงินให้กับคนที่มีเครดิตดีเอาเงินไปใช้
ซึ่งคำว่า ฟรี ในที่นี้ก็เพราะว่าอัตราดอกเบี้ยตอนนี้ต่ำมาก หรือ แทบจะติดลบในบางประเทศ


 2) ธนาคารกลางก็พยายามนำเงินเข้าระบบผ่านการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินคืน เช่น พันธบัตรรัฐบาล เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบ และหวังจะเพิ่มระดับเงินเฟ้อ
แต่แทนที่คนจะใช้จ่ายมากขึ้น
แต่คนกลับนำเงินไปลงทุน..
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์
(ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงชีวิตเรา)
พอเรื่องเป็นแบบนี้ มูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินจึงปรับตัวสูงขึ้น

ที่น่าสนใจคือ เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับสินทรัพย์อื่น เช่น
หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (Equity)
หุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity)
บริษัทร่วมลงทุน (Venture Capital)

3) นักลงทุนมีเงินล้น กำลังหลงใหลไปกับบริษัทสตาร์ตอัปที่มีเรื่องราวเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก
ตอนนี้ บริษัทเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากที่สุดตั้งแต่ยุควิกฤตดอตคอมปี 2000
โดยที่บริษัทเหล่านี้ยังไม่มีแม้แต่แผนธุรกิจ หรือ ความสามารถในการทำกำไร
พวกเขาทำแค่อย่างเดียว คือ ขายความฝัน..

 4) รัฐบาลก็ตกอยู่ในภาวะขาดดุลอย่างหนัก
ทำให้รัฐต้องกู้เงินเพิ่มโดยการออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวนมาก
มากเสียจนพันธบัตรเหล่านี้ไม่สามารถขายหมดได้โดยวิธีปกติ หากไม่มีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้น่าดึงดูดพอ
แต่ถ้าต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริงๆ ก็คงเป็นหายนะทางเศรษฐกิจ
เพราะตอนนี้โลกอยู่ในช่วงกู้เกินตัวมานาน
แล้วคำถามคือ โลกนี้จะเอาเงินจากที่ไหนมาซื้อพันธบัตรที่มากมาย และปิดการขาดดุลนี้?
คำตอบที่ได้เราอาจจะตกใจก็คือ
เงินพวกนั้นมาจาก ธนาคารกลางที่คอยพิมพ์ธนบัตรใหม่ เพื่อมาซื้อพันธบัตรนั่นเอง

สรุปง่ายๆ ที่ เรย์ ดาลิโอ กำลังจะสื่อก็คือ “รัฐกำลังพิมพ์แบงก์ เพื่อมาซื้อพันธบัตรของตัวเอง”
ซึ่งระบบที่ดูเหมือนจะพังลงนี้ ก็ยังคงดำเนินต่อไป
และกำลังเป็นอัตราเร่ง
โดยเฉพาะในประเทศที่สกุลเงินนั้นถูกนำมาใช้เป็นเงินสำรองของประเทศต่างๆ
เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ในรูปของเงิน ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร และ เยน


5) อีกระบบที่กำลังจะพังลงในไม่ช้าก็คือ ระบบบำนาญ และประกันสุขภาพ
ระบบบำนาญกำลังจะครบกำหนดการจ่ายเงิน และไม่สามารถจ่ายเงินตามที่แจ้งไว้ได้
น่าตกใจที่กองทุนเหล่านี้ต้องทำผลตอบแทนให้ได้ปีละ 7% เพื่อให้จ่ายเงินได้ตามที่คาดการณ์ไว้ซึ่งอัตราผลตอบแทนขนาดนี้ มากกว่าผลตอบแทนของตลาดปัจจุบันเป็นอย่างมาก
คนที่จะโดนผลกระทบก็หนีไม่พ้น คุณครู พนักงานองค์กรรัฐต่างๆ ที่ในขณะเดียวกันก็ถูกบีบโดยการปรับลดงบประมาณ
ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็นเรา ก็คงไม่ยอมที่จะได้รับสวัสดิการที่ลดลงอย่างแน่นอน
ปัญหานี้ก็เกิดขึ้นกับสวัสดิการด้านสุขภาพเช่นกัน เพราะโครงสร้างประชากรกำลังเปลี่ยนไป ประชากรรุ่นใหม่ที่มีจำนวนน้อยกว่าต้องทำงานเพื่อสนับสนุนประชากรยุคเบบี้บูมเมอร์ที่มีจำนวนมาก และกำลังต้องการสวัสดิการทางสุขภาพ


6) แล้วทางออกของรัฐบาล มีอะไรบ้าง?
ทางออกที่ 1 คือ ลดสวัสดิการลง
ทางออกที่ 2 คือ ขึ้นภาษี
ทางออกที่ 3 คือ พิมพ์เงินเพิ่มเข้ามาในระบบ
จากทางเลือกทั้งหมดนี้ ดูเหมือนว่าจะไม่มีทางออกไหนเข้าท่า
แถมมันอาจจะเป็นการเร่งให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม การพิมพ์เงินเพิ่มดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ง่ายที่สุด และเป็นทางลัด
ประเด็นมันอยู่ที่ว่า สัญญากู้ยืมเงินทั้งหมดบนโลกนี้มันระบุแค่ว่าต้องคืนเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามจำนวนเงินในสัญญา แต่มันไม่ได้ห้ามพิมพ์เงินขึ้นมาใหม่ และไม่ได้ห้ามว่าเงินต้องด้อยค่าลง
ความเสี่ยงที่สำคัญคือ เรื่องนี้กำลังจะเป็นการทดสอบว่า เงินสกุลหลักที่ใช้เป็นเงินสำรองทั่วโลก 3 สกุล คือ ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร เยน จะยังคงมีค่าในตัวมันเองอยู่หรือไม่


7) และก็มาถึงประเด็นข้อสุดท้าย..
ที่พูดมาทั้งหมด จริงๆ แล้ว เงินเป็นของฟรีก็เฉพาะสำหรับผู้ที่มีเครดิตเท่านั้น
ไม่ว่าโลกนี้จะมีเงินล้นมากเท่าไร
กลับเป็นของหายากสำหรับผู้ที่ไม่มีเงินและไม่มีเครดิต
เมื่อรวมกับช่องว่างในอนาคต ที่เทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
จนเครื่องจักรสามารถมาทำงานแทนมนุษย์ได้
กลับมาถามหัวใจสำคัญของ “ระบบทุนนิยม”
ระบบทุนนิยมเกิดขึ้นจากรากฐานความเชื่อว่า
ถ้านายทุนมีเงินเพื่อสร้างการผลิต
คนจน จะได้ประโยชน์เองจากตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้น
สุดท้ายภาพรวมจะดีขึ้นเอง
แต่มาวันนี้ ทฤษฎีนี้อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป
เพราะนายทุนเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องจ้างมนุษย์..
เรื่องทั้งหมดที่กล่าวมานี้อาจแสดงให้เห็นว่า
“ระบบทุนนิยม” แบบเดิมซึ่งเราเชื่อกันว่า
จะเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนมากในที่สุด
อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป..
จากสิ่งที่เล่ามาทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่ยั่งยืนที่พร้อมจะแตกหัก
และมันไม่สามารถฝืนได้อีกต่อไป
เรื่องนี้จะเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นตอนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008
ซึ่งโลกนี้กำลังดำเนินเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ในไม่ช้า..

Sunday, November 3, 2019

Set status as of Nov 01, 2019

Set status as of Nov 01, 2019

SET Index = 1592  PE = 18.34  (Thai Government 10 year Bond = 1.54% as per Sep 2019)
Yield Gap = 3.91%

 Billy B. =   BEAR

 O'Neil   =   Correction

% SET compare to EMA50 = ติดลบ (ถ้า 5% ถือว่าค่อนข้าง peak ทีเดียว!!!)
 
Stock Monthly Winner
 
SET 1624 --> 1592 (-2%)
GPSC               17%
SAWAD          14%
COM7              13%
JMT                 11%
MTC                 9%
DTAC               7%
CKP                  7%
 

 

Thursday, October 31, 2019

IFRS9





https://www.thansettakij.com/content/412980



แบงก์จ่อขายลูกหนี้-เอ็นพีเอเลี่ยงภาระกันสำรองตาม IFRS9 รอเครดิตบูโรไฟเขียวไม่ต้องรายงานNCB”กรณีปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันและไม่มีส่วนสูญเสีย แหยงเกณฑ์กันสำรอง-จัดชั้นตาม IFRS9 หลังธปท.ส่งสัญญาณเปิดช่องให้พัก-ยืดหนี้ก่อนเป็นเอ็นพีแอล    
 
 
นายชัยยุทธ อังศุวิทยา คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการทำบัญชีกล่าวว่า การเริ่มใช้บังคับมาตรฐานรายงาน IFRS9 ในปี 2563 นั้น ในหมวดการประเมินกันสำรองหนี้สูญ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 เรื่องของ IFRS9 โดย
 
1.การจัดประเภทและการวัดมูลค่าของเครื่องมือทางการเงิน
 
2. การรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงินหรือการกันสำรองเพื่อรองรับผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกหนี้ตลอดอายุของลูกหนี้
 
3.การบัญชีป้องกันความเสี่ยง
 
ทั้งนี้ หากบังคับใช้จริงคงจะมีประเด็นมากระหว่างผู้ประกอบการกับผู้สอบบัญชี ซึ่งผู้ประกอบการมุ่งเน้นการทำเปอร์เซ็นต์น้อย เพื่อกันสำรองในระดับตํ่า ดังนั้นในทางปฏอบัติทางสภาวิชาชีพฯจะออกเกณฑ์เป็นกรอบในการปฎิบัติให้ชัดเจน
 
โดยเฉพาะผู้ประกอบการกลุ่มเช่าซื้อ ลีสซิ่ง หรือธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก ซึ่งเป็นสินเชื่อที่จะต้องตั้งสำรองหนี้สูญ ซึ่งหลักการใหม่ต้องจัดอายุ กำหนดหนี้เป็นอัตราเปอร์เซ็นต์ ซึ่งยังหาคำตอบไม่ได้ จากอดีตการยืดหนี้เป็นปกติ
 
 
 
นอกจากนี้ กรณีการรับซื้อหนี้เสีย ภายใต้ IFRS9 ถือเป็นลูกหนี้หรือเป็นทรัพย์สิน แนวทางปฏิบัติต้องเข้ากระบวนการเดียวกับการคำนวณหนี้สงสัยจะสูญ เพราะเป็นลูกหนี้ที่รับซื้อมาเพื่อเก็บหนี้มีกำไร ซึ่งสมัยก่อนไม่ต้องกันสำรองหนี้สูญเพราะเป็นหนี้เสียแล้ว แต่ภายใต้มาตรฐานรายงาน IFRS9 ต้องประเมินว่า โอกาสจะสูญเสียเท่าไรตลอดอายุสัญญา เช่น เดิมเป็นลูกหนี้เอ็นพีแอล ซึ่งค้างชำระ 90 วันหรือ Stage3 เมื่อรับซื้อหนี้ดังกล่าวกลับมา ลูกหนี้ต้องอยู่ในฐานะเดิมและต้องกำหนดกันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตลอดอายุสัญญาว่า จะมีความเสียหายเท่าไหร่หรือระดับไหน แต่เมื่อถึงเวลาขายลูกหนี้ออกไป จึงจะปลดกันสำรองฯได้
 

 ขณะที่แหล่งข่าวอีกรายระบุว่า ในส่วนของสินทรัพย์รอการขาย (NPA) ก็ยังเป็นประเด็นกันว่า ธนาคารที่ประมูลซื้อเอ็นพีเอมาเป็นสินทรัพย์ของธนาคารแม้ธปท.กำหนดกฎเกณฑ์การถือครอง 10 ปี โดยถือครองเอ็นพีเอ 5 ปีและผ่อนผันอีก 5 ปี แต่ภายใต้มาตรฐานบัญชี IFRS9 ธนาคารจะต้องกันสำรองการด้อยค่าลงของเอ็นพีเอจนกว่าจะขายออกไป ดังนั้น หากธนาคารต้องกันสำรองฯในที่สุดเชื่อว่า ธนาคารจะต้องขายออกด้วย
 

Monday, October 14, 2019

Debt to GDP Crisis checking

https://www.facebook.com/MySetStock/?__tn__=%2Cd%2CP-R&eid=ARC4dlGdXujD7oaXqDDaXMiwlOUT9nRTYv822G_6AdHLnj9ZXBF2yVLfcsu0PZXYmrnsOHRqQGwfB-ki

Global debt at its highest level in peacetime
Median Debt to GDP of 12 countries-70%
[ Are we going to have WWIII? or the world will handle debt with peace method?]
...
Before subprime, debt to GDP at 40%
After subprime, debt to GDP at 50%
Now it hits 70%

• Third Italian war of dependence (1866)
debt to GDP from 60% to 70%
_______________________
• Russo Japanese war (1904)
debt to GDP from 30% to 50%
_______________________
• WWI (1914-1918)
debt to GDP from 40% to 70%
_______________________
• Great depression (1929)
debt to GDP from 45% to 70%
_______________________
• WWII (1939-1945)
debt to GDP from 70% to 125%
_______________________
• Global financial crisis (2009)
debt to GDP from 35% to 50% in 2015

_______________________
*This calculation includes 12 countries
USA, Japan, Netherlands, Germany, France, UK, Italy, Australia, Canada, Spain, Switzerland & Sweden)

Source: Deutsche bank

 

Wednesday, October 2, 2019

Set status as of Oct 01, 2019

Set status as of Oct 01, 2019

SET Index = 1624  PE = 18.56  (Thai Government 10 year Bond = 1.56% as per Aug 2019)
Yield Gap = 3.83%


 Billy B. = DEAD BULL

 O'Neil   = Correction
% SET compare to EMA50 = ติดลบ (ถ้า 5% ถือว่าค่อนข้าง peak ทีเดียว!!!)
 
Stock Monthly Winner
 
SET 1654 --> 1624 (-1.8%)
SPVI                50%
AMANAH      46%
SVI                  22%
AUCT             16%
JUBILE           13%
GULF               8%
EKH                  8%
 

 

Sunday, September 29, 2019

SAWAD as of Sep2019

SAWAD as of Sep2019 (57 baht)

- Expect Q3'19 --> Net Profit = 932 MB
- EPS = 932 / 1325 = 0.7
- EPS 2019 = 2.77

- EPS 2020 = say 20% Growth after Dilute หุ้นปันผล (ต้องปันเป็นหุ้นอีกแน่ๆ) = 3.3
- PE20 = 3.3 x 20 = 66 baht (15% upside)
- PE15 = 3.3 x 15 = 49 baht (16% downside)






Friday, September 20, 2019

JMT as of Sep2019

JMT as of Sep2019

Net Profit 2018 = 505 MB

Net Profit 2019 expect = 40% Growth (as News 30% minimum)
                                     = 707 MB (Q1+Q2 = 144+148 = 292 MB)

Expect Q3+Q4 = 415 MB (Q ละ 208 MB)

EPS = 707/888 = 0.8






Tuesday, September 3, 2019

ความเห็นจากบทความ ดร.นิเวศน์ (Sep2019)

สรุปความเห็นจากบทความของ ดร.นิเวศน์ ล่าสุด เกี่ยวกับประเทศไทย as of SEP2019

-เด็กไทยเกิดน้อยลงเรื่อยๆ

-ไม่ได้เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก หรือการเมือง แต่สังคมไทยกำลังแก่ตัวลง

-เศรษฐกิจไทยเติบโตช้า ดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสจะอยู่ที่เดิมนาน 30 ปีเหมือนญี่ปุ่น

(Nikei Stock Index)


-สร้างโรงงานน้อยลง ผลิตน้อยลง...

-ภาคบริการพอไปได้ แต่มีปัญหาคนน้อยลง ไม่มีดีมานด์ไปใช้บริการ ตัวอย่างเช่นมหาวิทยาลัยปิดตัว ต้องอาศัยการท่องเที่ยวมาชดเชย


-อสังหาริมทรัพย์ยังไงก็แย่ลง คนน้อยลง สต็อกเหลือเพียบ


-ชอปปิงมอลล์แย่ลง ยกเว้นแหล่งนักท่องเที่ยว


-สตาร์ตอัป อย่าไปหวัง ไม่ง่าย เพราะถูกครอบงำความคิดจากคนรุ่นก่อนที่ยังเป็นผู้นำสังคมและการเมือง


-วิธีแก้: กระจายไปลงทุนในประเทศอื่นที่อยู่ในวัยฉกรรจ์

(Vietnam Stock Index)

 

Monday, September 2, 2019

Set status as of Sep 02, 2019

Set status as of Sep 02, 2019

 SET Index = 1654  PE = 18.79  (Thai Government 10 year Bond = 2.0% as per July 2019)
Yield Gap = 3.32%


 Billy B. = SICK and DEAD BULL

 O'Neil   = Correction
% SET compare to EMA50 = ติดลบ (ถ้า 5% ถือว่าค่อนข้าง peak ทีเดียว!!!)
 
Stock Monthly Winner
 
SET 1699 --> 1654 (-2.6%)
GULF          25%
U                  21%
WHAUP      20%
AMATA      14%
EPCO           14%
MCS              13%
EPG               11%
 

 
 

Sunday, August 18, 2019

Inverted Yield Curve (IYC) ดร. นิเวศน์ Aug2019

Inverted Yield Curve (IYC) ดร. นิเวศน์  Aug2019

โลกในมุมมองของ Value Investor
====วิกฤติกำลังจะมา?====

​สัปดาห์ก่อนตลาดหุ้นโลกและไทยค่อนข้างผันผวน บางวันดัชนีดาวโจนส์ตกลงมาถึง 3% เช่นเดียวกันตลาด...หุ้นไทยบางวันก็ตกลงมาเกือบ 2% ทั้ง ๆ ที่ในช่วงหลายปีหลังดัชนีตลาดหลักทรัพย์บ้านเราค่อนข้างมั่นคงไม่ค่อยผันผวนมากนัก ที่สำคัญ หุ้นแบงค์ใหญ่ซึ่งโดยปกติไม่ค่อยปรับตัวมากต่างก็ตกลงมาถึงประมาณ 3% ในวันเดียว
การตกลงมาอย่างหนักของหุ้นนั้นส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากการปรับตัวของตลาดเงินและพันธบัตรที่มีการปรับลดลงโดยธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ รวมถึงไทยซึ่งก็ส่งผลไปถึงตลาดการเงินด้วย เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ทำให้อัตราผลตอบแทนหรือที่เรียกว่า Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้นอายุ 2 ปีลดลงมาเหลือ 1.63% ต่อปี แต่ที่ลดลงหนักยิ่งกว่าก็คือผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีได้ตกลงมาเหลือเพียง 1.62% ต่อปี ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ผิดปกติที่เรียกว่า Inverted Yield Curve (IYC) ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก อาจจะ 10 ปีหนอะไรทำนองนั้น
แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ เกือบทุกครั้งที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 12 เดือน เศรษฐกิจก็เกิด “วิกฤติ” ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา มีเพียงครั้งเดียวที่เวลาเกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า Inverted Yield Curve นี้แล้วเศรษฐกิจไม่วิกฤติ ส่วนอีก 6 ครั้งนั้น เศรษฐกิจเกิดปัญหาหลังจากนั้นภายใน 7-24 เดือน ดังนั้น การเกิด IYC ครั้งนี้จึงทำให้นักเศรษฐศาสตร์กังวลกันมาก และตลาดหุ้นจึงตกลงมาแรง

คำถามก็คือ วิกฤติกำลังจะมาใช่ไหม? และเราในฐานะของนักลงทุนจะทำอย่างไร?

ก่อนอื่นคงต้องดูว่า IYC หรือการที่ผลตอบแทนพันธบัตรหรือการลงทุนระยะสั้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรหรือการลงทุนระยะยาวนั้นมีความหมายอย่างไร?

​โดยปกติถ้าเราลงทุนระยะยาว เราต้องการที่จะได้ผลตอบแทนสูงขึ้น เช่น ถ้าฝากเงินออมทรัพย์หรือฝากแค่ 3 เดือน ผลตอบแทนก็อาจจะได้แค่ 1-2% ต่อปี แต่ถ้าเราฝากประจำหรือลงทุนในพันธบัตรอายุ 3 ปีที่ไม่มีความเสี่ยงเหมือนกันนั้น เราก็มักจะได้ผลตอบแทนสูงกว่าเช่น อาจจะ 3% ถ้ายาวกว่านั้นเช่น 10 ปี เราก็มักจะได้ผลตอบแทนสูงขึ้นเช่น 5% ต่อปี นี่เป็นเรื่องปกติ แต่สถานการณ์ IYC ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ในอเมริกานั้นกลับกลายเป็นว่าถ้าเราลงทุนแค่ 2 ปีกลับได้ผลตอบแทนสูงกว่าลงทุน 10 ปี ซึ่งเป็นเหมือนกับสัญญาณว่าในอนาคตอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนระยะสั้นจะลดลงและจะลดลงอยู่ในระดับต่ำไปอีกนานเป็น 10 ปี นักลงทุนจึงยอมที่จะ “ล็อก” อัตราผลตอบแทนไว้ก่อน ว่าที่จริงผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 30 ปีของอเมริกาในช่วงนี้อยู่ที่เพียง 2.015% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์และเป็นการส่งสัญญาณโดยตลาดเงินว่าผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยในอีก 30 ปีข้างหน้านั้นจะต่ำมากอย่างน่าตกใจคือเฉลี่ยปีละประมาณ 2%

​เหตุที่ผลตอบแทนในอนาคตจะต่ำมากนั้นเป็นสัญญาณว่าคนที่จะกู้เงินเพื่อลงทุนซึ่งต้องอาศัยเงินระยะยาวนั้นมีน้อยและคนที่จะปล่อยกู้หรือลงทุนมีมาก ซึ่งก็เป็นสัญญาณต่อไปว่าเศรษฐกิจกำลังถดถอย ธุรกิจจะไม่ค่อยลงทุน บริษัทไม่โต กำไรไม่โตหรืออาจจะตกลง ธุรกิจบางส่วนจะล้มละลายและอาจจะก่อปัญหาให้กับสถาบันการเงิน และในที่สุดก็อาจจะกลายเป็น “วิกฤติ” ว่าที่จริงเราก็เริ่มเห็นแล้วว่าเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ รวมถึงไทยกำลังเติบโตน้อยลง มีการปรับเป้าหมายการเติบโตลดลงกันทั่วโลก การส่งออกติดลบ การลงทุนภาคเอกชนน้อยลง ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากประเด็นเรื่องของสงครามการค้าระหว่างอเมริกากับจีนและโลก และไม่ว่าเหตุผลจะเป็นอย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นชัดเจนว่าเศรษฐกิจโลกและไทยกำลังชะลอลงและการแก้ไขไม่ใช่เรื่องง่าย เหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะว่าประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างก็ใช้ “เครื่องมือ” และทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจเช่น การลดดอกเบี้ยและการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยรัฐกันเกือบหมดแล้วตั้งแต่ปี 2008 ในช่วงวิกฤติรอบก่อน ดังนั้น การป้องกันปัญหาในรอบนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย

ว่าที่จริงคนที่มีชื่อเสียงทางด้านเศรษฐศาสตร์บางคนทำนายมานานพอสมควรแล้วว่าอเมริกาจะเกิดวิกฤติในปี 2020 คือปีหน้าตั้งแต่เศรษฐกิจอเมริกันยังไม่มีปัญหา ยังไม่มีเรื่องสงครามการค้าและปรากฎการณ์ IYC เหตุผลผมจำไม่ได้ชัดแต่น่าจะมาจากการที่เศรษฐกิจอเมริกาไม่สมดุลเช่นการขาดดุลการค้าและอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำต่อเนื่องกันยาวนานเป็นต้น แต่อีกส่วนหนึ่งนั้นอาจจะมาจากการที่เศรษฐกิจดีต่อเนื่องมายาวนานจนเกินไปคือเกิน 10 ปีซึ่งตามประวัติศาสตร์ไม่ค่อยเกิดขึ้นและมักจะจบลงด้วยการถดถอยหรือวิกฤติ ในตอนนั้นก็แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ก็คงไม่ได้ให้น้ำหนักมากเพราะว่าเรื่องการทำนายทายทักเรื่อง “โลกาวินาศ” นั้น มีอยู่ตลอดเวลา
คนที่ได้ชื่อว่าเป็น “Doomsayer” หรือคนที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถทำนายเรื่องร้ายแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้แม่นยำนั้นมีอยู่มากมายและพวกเขาก็ “ทำนายอยู่เรื่อย ๆ” จนคนไม่ค่อยสนใจแล้ว อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์หลาย ๆ เรื่องที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ก็น่าจะทำให้คนหลายเริ่มสนใจและอาจจะเชื่อมากขึ้นว่า “วิกฤติกำลังจะมา” และนั่นน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ตลาดหุ้นผันผวนอย่างแรงในสัปดาห์ก่อน

ในฐานะของ VI เราคงไม่สรุปว่าวิกฤติจะมาแน่ ความเชื่อที่ว่า “วิกฤติมักจะมาโดยที่เรามักจะไม่คาดคิดหรือไม่รู้ตัว ถ้าทุกคนคาดว่าจะเกิดมันก็คงไม่เกิดเพราะเราจะแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงก่อน” นั้น ดูเหมือนว่าจะฝังอยู่ในความคิดของนักคิดจำนวนไม่น้อย คนมักจะพูดกันว่าในอดีตที่เกิดวิกฤติแต่ละครั้ง ก็ดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นโดยไม่มี “เซียน” คนไหนบอกก่อน สำหรับประเด็นนี้ผมเองก็มีข้อถกเถียงอยู่เหมือนกัน เพราะผมเองก็เคยผ่านมาหลายวิกฤติ ผมยอมรับว่าวิกฤติซับไพร์มในปี 2008 นั้น เกิดขึ้นโดยผมแทบไม่รู้ตัวเลย เหตุผลอาจจะเป็นเพราะมันอยู่ไกลตัวมาก แต่วิกฤติของไทยในปี 2540 ซึ่งผมเองอยู่ใน “ศูนย์กลาง” ของปัญหานั้น ผมรู้ดีมากว่ามันจะต้องเกิดก่อนที่มันจะเกิดจริงไม่น้อยกว่า 1 ปี เพียงแต่ว่าเราทำอะไรไม่ได้ แก้ไขอะไรไม่ได้ และ “พูดไม่ได้”

ในตอนนี้ที่เราไม่ได้เป็นศูนย์กลางของปัญหาและไม่มีข้อมูลที่ดีพอ เราก็ไม่รู้จริง ๆ ว่าในที่สุดจะเกิดวิกฤติหรือไม่ แต่ด้วยปรากฎการณ์และสัญญาณที่เราเห็นอยู่หลายเรื่อง โอกาสที่จะเกิดปัญหากับเศรษฐกิจและตลาดหุ้นก็น่าจะมีอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนนั้น เราคงไม่ได้ให้น้ำหนักว่าวิกฤติจะต้องเกิดแน่นอน เพราะถ้าคิดอย่างนั้น เราอาจจะตัดสินใจขายหุ้นทิ้งทั้งหมดซึ่งไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีเลย
 
สิ่งที่ควรจะทำก็คือ เตรียมปรับพอร์ตการลงทุนในลักษณะ Defensive หรือแนวอนุรักษ์นิยมที่อาจจะไม่ได้ถือหุ้น 100% และหุ้นที่ถืออยู่นั้นจะไม่ถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากเกินไป ราคาหุ้นก็ไม่ควรแพง เพราะถ้าเกิดวิกฤติจริง ราคาอาจจะตกลงมาได้มาก ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ วิกฤติอาจจะส่งผลต่อตลาดหุ้นยาวนาน ดังนั้น ควรเลือกหุ้นที่สามารถจ่ายปันผลได้ดีพอสมควรแม้ว่าเศรษฐกิจจะย่ำแย่ การได้รับปันผลในยามที่หุ้นตกลงมาหรือภาวะตลาดซบเซานั้นผมคิดว่าจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น
 
อีกประการหนึ่งก็คือ หุ้นที่ยังสามารถจ่ายปันผลได้ดีนั้นก็คือกิจการที่แข็งแกร่งและไม่ล้มหายตายจากไปง่าย ๆ และพร้อมกลับมาเติบโตต่อไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อวิกฤติผ่านไป

​คำถามสุดท้ายก็คือ ถ้าเราค่อนข้างมั่นใจว่าปัญหาคงจะมีแน่แม้ว่าเศรษฐกิจอาจจะไม่วิกฤติ ทำไมเราไม่ถือเงินสด? คำตอบของผมก็คือ เงินสดนั้นก็คือการลงทุนอีกอย่างหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนน้อยมากน่าจะแค่ไม่เกิน 1-2% ต่อปี และจะน้อยต่อไปอีกน่าจะเป็น 10 ปีขึ้นไป ดังนั้น ถ้าเราสามารถเลือกหุ้นที่ให้ปันผลได้ซัก 3-4% ต่อปีขึ้นไปในระยะยาวแม้ในยามที่เศรษฐกิจยากลำบาก การถือเป็นหุ้นก็น่าจะดีกว่า และในกรณีแบบนี้ เราคงต้องลืมเรื่องของราคาหุ้นไปก่อน ​

17 สิงหาคม 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

Monday, August 5, 2019

RJH as of Aug 2019

RJH as of Aug 2019

PROS
   - เปลี่ยน ผบห ใหม่ปี 2018
   - Q1'19 หักกำไรพิเศษขายที่ดิน โต 45% YOY
   - จำนวนเตียงและห้องผ่าตัดที่เพิ่ม รองรับ High Season Q3'19
   - New Hospital open 2564(2021)
   - ปันผลพิเศษ จากการขายที่ดิน
   - ลุ้น All time high
   - EPS2019 = 1.2 (40% Growth, EPS2018= 0.85)
   - RAM เข้ามาซื้อหุ้น
   - มีข่าว ร่วมทุน และซื้อกิจการ









CONS
   - Q2'19 มีค่าใช้จ่ายพิเศษ
           - ประกันสังคมที่ สปสช.จ่ายจิง ต่ำกว่าที่ขอ = 20MB
           - พรบ แรงงานใหม่ = 10 MB
  - โรงบาลใหม่ ใช้เวลากว่าจะ Breakeven

Thursday, August 1, 2019

Set status as of Aug 01, 2019

Set status as of Aug 01, 2019

 SET Index = 1699  PE = 18.36  (Thai Government 10 year Bond = 2.23% as per June 2019)
Yield Gap = 3.22%


 Billy B. = BULL but nearly Sick
O'Neil   = Few Distribution Day
% SET compare to EMA50 = 0.7% (ถ้า 5% ถือว่าค่อนข้าง peak ทีเดียว!!!)
 
Stock Monthly Winner
VIBHA       29%
AU              27%
RPH            17%
EKH            16%
WORK         15%
SINGER       15%
 
 
 
 

 
 
 

Saturday, July 13, 2019

Compare MTC vs SAWAD (July 12 '2019)

Compare MTC vs SAWAD (July 12 '2019)

                       SAWAD                          MTC

Price                   55                                  55
Mkt Capt         73,500                          118,000
PE                        24                                30
PBV                    4.8                               8.9
NPM                    39%                            35%
Port Size            36,000                         49,000

EPS2016              1.92                             0.69
EPS2017              2.45(+27%)                 1.18(+71%)
EPS2018              2.41(No Growth)         1.75(+48%)

Expected EPS Growth 2019
                             20-30%                          35%



Wednesday, July 3, 2019

Libra: เงินใหม่ในฝัน by ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร (July2019)

Libra: เงินใหม่ในฝัน by ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร (July2019)



การประกาศของ Facebook ที่จะสร้างเงินดิจิตอลชื่อ Libra และนำออกใช้ในต้นปีหน้านั้นเป็นเรื่องที่ทำให้โลก “ตะลึง”  คนจำนวนมากเชื่อว่า Libra จะประสบความสำเร็จและจะเป็นการ “ปฏิวัติโลกการเงิน” ที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง  จริงอยู่ว่าคนตะลึงมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อ Bitcoin ซึ่งเป็นเงินดิจิตอลรุ่นแรกที่สร้างขึ้นโดยคนที่ชื่อ “ซาโตชิ นากาโมโต” ถูก “ปั่น” ขึ้นมาจนมีราคาสูงมโหฬารซึ่งทำให้คนสนใจเข้ามาเรียนรู้ศึกษากันทั่วโลก  คนจำนวนมากคิดว่าในที่สุด Bitcoin จะกลายเป็นเงินสกุลใหม่ที่จะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะมันสามารถลดต้นทุนในการดำเนินการเช่นการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางที่มีต้นทุนสูงเช่นระบบแบ้งค์ เป็นต้น  นอกจากนั้น  มันยังเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง  ไม่มีใครหรือรัฐบาลไหนสามารถที่จะขโมยหรือออกนโยบาย เช่น พิมพ์หรือสร้างเงินเพิ่มขึ้นมาซึ่งจะทำลายมูลค่าของเงินนั้นได้  อย่างไรก็ตาม  นับจนถึงวันนี้  Bitcoin ก็ยังไม่สามารถที่จะสร้างการยอมรับของสังคมธุรกิจ  มีร้านค้าที่จะรับเงินบิทคอยน์น้อยมาก  และแม้แต่คนหรือบริษัทที่ต้องการโอนเงินระหว่างกันข้ามประเทศก็ไม่โอนผ่านบิทคอยน์  ดูเหมือนว่าคนที่สนใจและเข้าไปเกี่ยวข้องกับบิทคอยน์จริง ๆ นั้นก็คือ  “นักเก็งกำไร” ที่เข้าไปเทรดบิทคอยน์เท่านั้น

ปัญหาของบิทคอยน์ก็คือ  ราคาหรือมูลค่าของบิทคอยน์นั้นผันผวนมาก  วันหนึ่งอาจจะเปลี่ยนไปหลาย ๆ เปอร์เซ็นต์  ช่วงเวลาแค่ไม่กี่วันหรือไม่กี่เดือนราคาอาจจะขึ้นไปเป็นเท่าตัวหรือหลายเท่าตัว  ถ้าจะเอามาเป็นเครื่องมือในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ  คนที่ซื้อและขายก็จะมีความเสี่ยงมาก  เพราะวันที่ตกลงราคาซื้อขายกับวันที่จะต้องชำระเงินห่างกัน  มูลค่าที่คิดจากเงินตราของท้องถิ่นซึ่งเป็นฐานของต้นทุนการผลิตสินค้าจะเปลี่ยนไปมาก  ทำให้คนที่เข้าไปทำสัญญาซื้อขายอาจจะขาดทุนหรือกำไรได้โดยไม่เกี่ยวกับเรื่องของธุรกิจ   การที่ราคาบิทคอยน์ขึ้นลงรุนแรงนั้น  ก็เป็นเพราะมันไม่ได้มี  “พื้นฐาน”  ของกิจการรองรับเหมือนอย่างหุ้น  หรือมีประเทศที่เป็น “ผู้ออกสกุลเงิน” มารองรับ  ราคาของบิทคอยน์ขึ้นอยู่กับ Demand – Supply หรือความต้องการซื้อหรือขายของนักเก็งกำไรโดยที่ไม่มีใครมาแทรกแซงได้

Facebook แก้ปัญหาเรื่องของราคาของ Libra และบอกว่ามันจะเป็นเงินที่มีมูลค่า “มั่นคง”  ไม่ผันผวน  เพราะมันจะเป็นเงินที่มีทรัพย์สินหนุนหลังเป็น  “ตะกร้า” ของสกุลเงินหลัก ๆ  ของโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ  ยูโร ปอนด์ เยน และเงินหยวนของจีน  ดังนั้น  ราคาของเงิน Libra ก็ควรจะผันผวนไปตามค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของสกุลเงินเหล่านั้น  ซึ่งทำให้คนสามารถใช้ Libra ในการกำหนดและตกลงราคาสินค้าได้เหมือนกับเงินดอลลาร์สหรัฐหรือเงินยูโร เป็นต้น โดยที่ไม่ได้มีความเสี่ยงเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น  ว่าที่จริงมันน่าจะน้อยลงด้วยซ้ำเพราะมันเป็นค่าเฉลี่ย  ไม่ใช่ค่าสูงหรือต่ำที่สุดของเงินสกุลเดียว

ประเด็นที่ไม่มีร้านค้าหรือคนอยากใช้เงินดิจิตอลนั้น  Facebook แก้โดยการชวนบริษัทที่ทำธุรกิจยุคดิจิตอลโดยเฉพาะที่ต้องจ่ายเงินข้ามประเทศ และการค้าขายแบบ E-commerce เช่นอูเบอร์ วีซ่า และอีเบย์  รวมถึงตัว Facebook เองเข้ามาเป็นหุ้นส่วนทำโครงการนี้  โดยที่จำนวนของลูกค้าเป้าหมายนับตั้งแต่วันแรกเองก็กว่า 2000 พันล้านคนเข้าไปแล้วจากผู้ใช้เฟสบุคทั่วโลก  ซึ่งนี่ก็เป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้คนน่าจะอยากใช้เงิน Libra เพราะมีร้านค้าหรือธุรกิจที่จะรับมากมายในขณะเดียวกัน  การทำธุรกิจจ่ายโอนเงินก็จะง่ายมาก  เพราะมันสามารถทำได้โดยตรงผ่าน Facebook และสื่อสังคมต่าง ๆ ของเฟสบุค  ว่าที่จริงคนจำนวนมากในปัจจุบันก็ค้าขายหรือทำประชาสัมพันธ์ผ่านเฟสบุคอยู่แล้วและทำเรื่องจ่ายเงินและรับเงินผ่านระบบการโอนเงินอื่นอยู่  การที่เฟสบุคมาทำเรื่องนี้เองก็เท่ากับอำนวยความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้เฟสบุคเพิ่มเติม  ดังนั้น  โอกาสที่คนจะหันมาใช้ Libra จำนวนมากจึงมีความเป็นไปได้สูง

อีกประเด็นหนึ่งที่คนใช้เงินดิจิตอล เช่น Bitcoin อาจจะเป็นห่วงก็คือ  Facebook อาจจะเข้ามาควบคุมและใช้ข้อมูลของคนใช้ Libra มาหาประโยชน์เพื่อตนเอง  ในเรื่องนี้ทำให้เฟสบุคตั้งหน่วยงานมาดูแลเงินนี้แทนโดยการจัดตั้งสมาคมลิบราหรือ Calibra ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่ได้หวังผลกำไร  หน่วยงานนี้ประกอบไปด้วยองค์กรขนาดใหญ่ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้เงิน Libra ไม่น้อยกว่า 100 ราย และน่าจะมีบทบาทสำคัญในการที่จะควบคุมและส่งเสริมให้คนมาใช้ Libra กันให้มากที่สุดซึ่งในที่สุดก็จะกลับมาสนับสนุนธุรกิจของตนเองด้วย  อย่างไรก็ตาม  สมาคมนี้ก็ประกาศว่าตนเองเป็นกลางและระบบของ Libra เป็น “ระบบเปิด” ที่จะให้ทุกคนสามารถพัฒนาแอ็ปขึ้นมาทำธุรกรรมกับ Libra ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด  ซึ่งในส่วนตัวผมเองนั้น  ผมเชื่อว่าธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ของโลกในปัจจุบันมี “เครดิต” หรือความน่าเชื่อถือพอที่จะไม่ทำอะไรผิดจรรยาบรรณ  ว่าที่จริงผมเชื่อว่าเมื่อเทียบกับรัฐบาลแล้วผมกลับคิดว่าบริษัทเอกชนบางแห่งเดี๋ยวนี้บางทีได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่าด้วยซ้ำ  เพราะพวกเขาไม่มีอำนาจทางการเมืองมาหนุน  สิ่งที่ทำให้พวกเขาอยู่ได้ก็คือการยอมรับจากสาธารณชนเท่านั้น  เขาจึงไม่กล้าทำอะไรที่ผิดและฝืนความคาดหวังของประชาชน

ด้วยการออกแบบเงิน Libra ที่แก้ปัญหาเงินดิจิตอลแบบเดิมประกอบกับการที่บริษัทยักษ์ใหญ่แบบ Facebook ที่มีทั้งเงินและลูกค้าจำนวนมหาศาลที่มีความต้องการโอนเงินข้ามประเทศซึ่งมีต้นทุนการโอนที่สูงมากนั้น  ทำให้โอกาสที่ Libra จะประสบความสำเร็จก็มีความเป็นไปได้ไม่น้อย  สิ่งที่ลำบากที่สุดนั้น  อาจจะไม่ใช่เรื่องทางธุรกิจ แต่เป็นรัฐบาลต่าง ๆ  ที่อาจจะต่อต้านการ “บุกรุก” ของเฟสบุคที่จะเข้ามาให้บริการทางการเงินในประเทศของตนโดยที่รัฐไม่สามารถจะ “ควบคุม” ได้  อย่างไรก็ตาม  ผมคิดว่า  ประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้เงิน Libra นั้นน่าจะมีไม่น้อยอย่างน้อยก็ในบางส่วนของธุรกรรมทางการเงิน เช่น  การโอนเงินข้ามประเทศสำหรับรายย่อยหรือบุคคลธรรมดา  เป็นต้น  ดังนั้น  ผมคิดว่า อย่างน้อย Libra น่าจะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง   การที่มันจะประสบความสำเร็จแบบ “ถล่มทลาย” และมีคนใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลกแบบเดียวกับการใช้ Facebook นั้น  เราคงต้องติดตามดูกันต่อไป

และถ้าเป็นอย่างนั้น  โลกทางการเงินก็อาจจะเปลี่ยนไปอีกครั้งหนึ่งนั่นคือ  เงินดิจิตอล Libra จะกลายเป็นเงินหลักของโลกอีกสกุลหนึ่ง

ในฐานะที่เป็นนักลงทุน  ผมเองคิดว่าการมีเงินหรือถือเงินสดในระยะยาวแล้วมีความเสี่ยงไม่ได้น้อยไปกว่าหุ้น  เหตุผลก็เพราะว่าเงินเฟ้อมีโอกาสที่จะทำลายค่าของเงินได้มากมาย  ตัวอย่างที่เตือนผมตลอดเวลาก็คือเวเนซูเอลา  ซึ่งถ้าคุณเคยเป็นคนรวยเป็นเศรษฐี “พันล้าน” ของเวเนซูเอลาและเก็บเงินทั้งหมดเป็นเงินในธนาคารหรือในพันธบัตร  ถึงวันนี้เงินนั้นอาจจะเหลือแค่ไม่ถึงล้านและกลายเป็นคนจนไปแล้วได้  ดังนั้น  สำหรับผมแล้ว  ผมอยากที่จะถือเงินสดไว้หลาย ๆ สกุลถ้าทำได้  แต่ในทางปฏิบัติ  การกระจายการถือครองแบบนั้นทำได้ยาก  ต้นทุนในการแลกเปลี่ยนเงินตราในปัจจุบันก็แพงมาก  ต้นทุนในการติดตามทั้งเรื่องของเวลาที่ใช้และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของพอร์ตก็สูง  ดังนั้น  ถ้าในอนาคต Libra กลายเป็นเงินสกุลที่แพร่หลายและการแลกเปลี่ยนก็มีต้นทุนที่ต่ำมาก  ผมเองก็อาจจะอยากฝากเงินหรือลงทุนในเงินสกุลนี้ที่เป็นเสมือนตัวแทนของเงินสกุลหลักอื่น ๆ  ของโลกด้วยแทนที่จะถือเงินสกุลเดียว   ไม่แน่นะครับ  อีกไม่นานเราก็อาจจะได้ใช้เงินใหม่ที่เป็นเสมือน “เงินในฝัน” ในวันนี้

Monday, July 1, 2019

Set status as of July 01, 2019 and Half year performance

Set status as of July 01, 2019 and Half year performance

SET Index = 1740  PE = 18.76  (Thai Government 10 year Bond = 2.52% as per May 2019)
Yield Gap = 2.81%


 Billy B. = BULL!!!!!
O'Neil   = Uptrend!!!!!
% SET compare to EMA50 = 4.5% (ถ้า 5% ถือว่าค่อนข้าง peak ทีเดียว!!!)
 
 
 



Half year 2019 performance