Friday, November 15, 2024

Wednesday, November 13, 2024

MTC and Tidlor (as of Nov 2024)

 MTC and Tidlor (as of Nov 2024)


รถยนต์  มอเตอร์ไซด์ เริ่มดีขึ้น จากมาตรการ แจก 10,000 baht

รถบรรทุก มือสอง  แย่ลง  (รองานภาครัฐลงทุน)







Friday, November 1, 2024

Set status as of Nov 01, 2024

 Set status as of Nov 01, 2024

SET Index = 1464  PE = 18.21  (Thai Government 10 year Bond = 2.52% as per   Sep  2024)
Yield Gap =   2.97%

 Billy B. =  BULL

SET  1464   -->  1464  (+0%)  




Tuesday, October 1, 2024

Set status as of Oct 01, 2024

 Set status as of Oct 01, 2024

SET Index = 1464  PE = 18.23  (Thai Government 10 year Bond = 2.57% as per   Aug  2024)
Yield Gap =   2.92%

 Billy B. =  BULL

SET  1353   -->  1464  (+8.2%)  




Friday, September 20, 2024

สรุป กองทุนวายุภักษ์ การแบกระดับ 100,000 ล้าน ของรัฐบาลไทย /โดย ลงทุนแมน

 สรุป กองทุนวายุภักษ์ การแบกระดับ 100,000 ล้าน ของรัฐบาลไทย /โดย ลงทุนแมน

- 10 คนใกล้ตัว ที่ลงทุนแมนถามว่า จะซื้อกองทุนวายุภักษ์ ไหม ?
เกือบทั้งหมดตอบว่า
- ยังไม่แน่ใจ ยังไม่รู้ ซื้อแล้วได้อะไร
- คุ้มครองเงินต้นหรือเปล่า
- หุ้นตกได้เงินคืนไหม
- ผลตอบแทนคุ้มค่าไหม

ทันทีที่ลงทุนแมนได้ฟัง ก็รู้เลยว่า คนเหล่านั้นคงยัง “งง” กับกลไกที่ซับซ้อนของกองทุนนี้
และกว่าจะรู้ตัว กองทุนนี้ก็คงปิดรับจองแล้ว

รู้ไหมว่า ไม่เคยมีครั้งไหนที่ประเทศไทย ที่จะมีการระดมทุนครั้งไหนใหญ่เท่าครั้งนี้
- หุ้น OR ที่มีคนแห่จองซื้อ 5.3 แสนราย เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ระดมทุนไปได้ 47,000 ล้านบาท
- หุ้น CRC เป็นหุ้นที่เคยระดมทุนได้มากสุด เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ระดมทุนไปได้ 78,000 ล้านบาท

- ตอนนี้ กองทุนวายุภักษ์ ตั้งเป้าหมายว่า จะเป็นกองทุนที่จะระดมเงินมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยเงินก้อนนี้จะมีขนาดมหึมา มากถึง 150,000 ล้านบาท..

วายุภักษ์ มีอะไรดี ? ทำไมถึงมั่นใจว่าจะได้เงินมากขนาดนั้น ?
เปิดสมองให้พร้อม
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

จุดเริ่มต้น วายุภักษ์ เกิดขึ้นปี 2546 หรือเมื่อ 21 ปีที่แล้ว
ผู้ถือหน่วย วายุภักษ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท
ประเภท ก. คือ ผู้ลงทุนทั่วไป ที่ไม่ใช่รัฐบาล
ประเภท ข. คือ รัฐบาล โดยกระทรวงการคลังเป็นตัวแทน

สิ้นสุดโครงการแรกไปเมื่อ 2556 ตอนนั้นกองทุนวายุภักษ์ซื้อคืนหน่วยลงทุน ทำให้หน่วยลงทุนประเภท ก. คือ ผู้ลงทุนทั่วไป ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวแล้วตั้งแต่ตอนนั้น

ปัจจุบัน กองทุนวายุภักษ์ เลยเหลือแต่ภาครัฐเป็นผู้ถือหน่วย โดยมีมูลค่าล่าสุดประมาณ 350,000 ล้านบาท
จำตัวเลข 350,000 ล้านบาท ไว้ดี ๆ เพราะมันเป็นจุดสำคัญที่จะมีพูดถึงเป็นระยะในบทความนี้

ปัจจุบัน กองทุนวายุภักษ์ กลับมาเสนอขายประเภท ก. หรือผู้ลงทุนทั่วไปใหม่อีกครั้ง โดยเสนอขายสัปดาห์เดียว ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 - ศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567

มูลค่าที่เสนอขาย ประมาณการไว้ที่ 100,000 - 150,000 ล้านบาท
โดยเสนอขายให้ทั้งบุคคลทั่วไป และสถาบัน

เรื่องของเรื่องคือ สถาบัน เช่น ธนาคาร บริษัทประกัน กองทุนรวม เขารู้ดีว่า กองทุนวายุภักษ์มีกลไกอย่างไร และน่าจะจองเต็ม โดยประมาณการว่าจะขายสถาบันได้ 100,000 - 120,000 ล้านบาท
บุคคลรายย่อย จะขายได้ 30,000 - 50,000 ล้านบาทของก้อนนี้

แล้วกลไกของวายุภักษ์เป็นอย่างไร ?

ถ้าเราคิดว่า วายุภักษ์จะไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ให้ผู้ถือหน่วยประเภท ก. แล้วก็ลุ้นกันไปว่าหุ้นจะขึ้นหรือจะลง.. “จะเป็นความเข้าใจที่ผิด”

ลงทุนแมนจะขอพูดแบบรวบรัด และทำความเข้าใจให้ใหม่หมดเลย

สำหรับการถือหน่วยประเภท ก. ในภาษาการเงิน ลงทุนแมนจะเรียกว่ามันเป็น Structured Note หรือ เป็นตราสารที่ถูกออกแบบมาประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายตราสารหนี้แบบมีเงื่อนไข (จริง ๆ แล้วถือเป็นตราสารอนุพันธ์ แต่ไม่ขอพูดถึง ณ จุดนี้เพราะจะทำให้งง)

เงื่อนไขของกองทุน แปลเป็นภาษาชาวบ้าน
ถ้ากองทุนเริ่มต้น 10 บาท
กองทุนจะจ่ายเงินอย่างน้อย 0.3 บาทให้เราต่อปี
และมากสุด 0.9 บาทต่อปี

หมายความว่า เราจะได้เงินจากการถือหน่วยประเภท ก. 3% ถึง 9% ต่อปี

แล้วปีไหน จะเป็น 3% ปีไหนเป็น 9% ? มาดูกัน..

กองทุนวายุภักษ์บอกว่า จะนำเงินที่ระดมทุนได้ 150,000 ล้านบาท บวกกับของเดิม 350,000 ล้านบาท ไปกระจายการลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์ (หุ้น) ตลาดตราสารหนี้ เพื่อมุ่งหวังให้ได้ผลตอบแทนที่สูงในระยะยาว

แล้วมาวัดกันปีต่อปี ถ้าปีไหนกองทุนมีผลตอบแทนน้อยกว่า 3% ผู้ถือหน่วย ก. จะได้ขั้นต่ำ 3% (ส่วนที่ต่ำกว่า 3% ผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาลจะแบกรับไว้เอง)

ถ้าถามว่าผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาล จะช่วยรับการขาดทุนมากถึงขนาดไหน ?
คำตอบก็คือ ด้วยเงินทั้งหมดของเดิมของผู้ถือหน่วย ข. ซึ่งเป็นจำนวนเงินมากถึง 350,000 ล้านบาท..

ถ้าให้คิดว่าการขาดทุนนี้คิดเป็น % เท่าไร ? ให้เอา 350,000 / 500,000 ซึ่งก็คือ กองทุนนี้ต้องขาดทุนถึง 70% จากเงินต้น ผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาล ถึงจะเริ่มแบกรับการขาดทุนไม่ไหว..

แล้วผู้ถือหุ้นหน่วย ข. หรือรัฐบาล ได้อะไร ?
คำตอบก็คือ ในปีที่ผลตอบแทนดีเกิน 9% ส่วนที่เกิน 9% ผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาลจะได้รับไป

พูดง่าย ๆ ก็คือ ผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาล จะดูดซับความผันผวนในปีที่ผลตอบแทนต่ำกว่า 3% และปีที่ผลตอบแทนสูงกว่า 9% นั่นเอง

ส่วนปีที่กองทุนทำผลตอบแทนอยู่ในระหว่าง 3% ถึง 9% เช่นปีไหนกองทุนทำผลตอบแทนได้ 5% ผู้ถือหน่วย ก. และผู้ถือหน่วย ข. ก็จะได้รับเงินไป 5% เท่ากัน

โดยครบ 10 ปี ผู้ถือหน่วย ก. ก็จะได้เงินต้นคืนเต็มจำนวน หาก 350,000 ล้านบาท ของผู้ถือหน่วย ข. ไม่ได้หายไปทั้งหมด

เรามาจำลองสิ่งที่เกิดขึ้นย้อนหลังกัน กับผลตอบแทนของกองทุนวายุภักษ์หนึ่ง 10 ปีย้อนหลัง ว่ากลไกของวายุภักษ์จะทำงานอย่างไร ถ้ามีหน่วยลงทุนประเภท ก. เข้ามาอยู่ในสมการ
(แค่ตัวอย่างจำลอง ผลตอบแทนในอนาคตอาจไม่ได้เป็นแบบนี้)

ผลตอบแทนกองทุนวายุภักษ์หนึ่ง เมื่อเทียบกับ ผลตอบแทนผู้ถือหน่วย ก.

ปี 2557: 24.07% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2558: -25.39% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2559: 42.13% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2560: 12.83% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2561: -0.79% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2562: -0.97% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2563: -11.73% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2564: 13.76% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2565: -3.58% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2566: 5.50% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 5.5%

พอเห็นผลตอบแทนเป็นแบบนี้ ก็บอกได้เลยว่า ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ผลตอบแทนคล้ายตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ย 3% ต่อปี ที่มีโบนัสบางปีที่ได้มากกว่านั้น

ซึ่งจะได้ผลตอบแทนรวม 56.5% ใน 10 ปี หรือผลตอบแทนเฉลี่ย (CAGR) ปีละ 5.61%

รู้ไหมว่า ตอนนี้พันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ให้ yield หรือดอกเบี้ย แค่ 2.5% เท่านั้น

ดังนั้นถ้าเรามีส่วนผสมของวายุภักษ์ประเภท ก. ที่ให้ผลตอบแทน 3% - 9% ต่อปี ในพอร์ตการลงทุนอยู่ด้วย ก็คงจะเป็นเรื่องที่ไม่ผิดนัก

และถ้าให้คาดเดา สถาบัน เช่น ธนาคาร บริษัทประกัน กองทุนรวม

ผู้จัดการกองทุนของสถาบันเหล่านี้ ก็คงจะเลือกกองทุนวายุภักษ์ หน่วย ก. เข้าพอร์ตอย่างเต็มที่ เพราะผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง มันมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลอยู่มาก

นอกจากนั้น ถ้าเราไม่อยากถือครอง หน่วยลงทุนวายุภักษ์ ก. จนครบ 10 ปี หน่วยลงทุนนี้ก็มีให้ซื้อขายได้ในตลาดรอง เสมือนหุ้นตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ได้ด้วย

คิดต่อไป เมื่อเทียบกับ yield ของพันธบัตรรัฐบาลแล้ว ก็เป็นไปได้เหมือนกันว่าราคาในตลาดรองของ หน่วยลงทุนวายุภักษ์ ก. อาจจะซื้อขายกันในราคาที่ไม่ใช่หน่วยละ 10 บาท..

มาดูข้อมูลต่อ
แล้วถ้าจำลองให้ใน 10 ปีที่ผ่านมา กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง มีหน่วยลงทุน ก. มาถืออยู่ด้วย รัฐบาลจะได้ผลตอบแทนเท่าไร ?

ผลตอบแทนกองทุนวายุภักษ์หนึ่ง เมื่อเทียบกับ ผลตอบแทนผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาล

ปี 2557: 24.07% รัฐบาลจะได้ 30.53%
ปี 2558: -25.39% รัฐบาลจะได้ -37.56%
ปี 2559: 42.13% รัฐบาลจะได้ 56.33%
ปี 2560: 12.83% รัฐบาลจะได้ 14.47%
ปี 2561: -0.79% รัฐบาลจะได้ -2.41%
ปี 2562: -0.97% รัฐบาลจะได้ -2.67%
ปี 2563: -11.73% รัฐบาลจะได้ -18.04%
ปี 2564: 13.76% รัฐบาลจะได้ 15.80%
ปี 2565: -3.58% รัฐบาลจะได้ -6.40%
ปี 2566: 5.50% รัฐบาลจะได้ 5.50%

จะเห็นว่าในปีที่บวกก็จะบวกสุด ๆ จากการได้ส่วนเกินจากหน่วย ก.
ปีที่ลบ ก็จะลบสุด ๆ จากการต้องไปคุ้มครองหน่วย ก.

โดยจะได้ผลตอบแทน 29.8% ใน 10 ปี หรือผลตอบแทนเฉลี่ย (CAGR) ปีละ 2.64%

ต้องหมายเหตุว่า การคำนวณนี้เป็นการคำนวณอย่างง่าย ซึ่งในตัวเลขจริงอาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ทำให้ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามแบบจำลอง

แต่น่าสนใจตรงที่ เมื่อเทียบกับข้อมูลจริงย้อนหลัง 10 ปี
รัฐบาลยอมให้ ผู้ถือหน่วย ก. ได้ผลตอบแทน 5.61% ต่อปี
ส่วนตัวรัฐบาลเองยอมรับความผันผวนสุด ๆ และได้ผลตอบแทนแค่ 2.64% ต่อปี

ก็คงจะพูดได้ว่า รัฐบาลยอมให้ตัวเองแบก เพื่อให้ผู้ถือหน่วย ก. ได้รับผลตอบแทนที่มีขั้นต่ำ แถมยังมีโบนัสในบางปี

คนที่รู้ความจริงของกองทุนนี้ เมื่อหาย งง แล้ว ก็คงแปลกใจ

ทำไมรัฐ ถึงยอมแบก ?

และจากข้อเท็จจริง ผู้ถือหน่วย ก. จะมี 150,000 ล้านบาท
โดยสถาบัน จะซื้อ 100,000 - 120,000 ล้านบาท
อีก 30,000 - 50,000 ล้านบาท จะให้บุคคลรายย่อยจอง

แปลทางอ้อมได้ว่า คนที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่ของการแบกของรัฐบาลครั้งนี้ ก็คือสถาบัน อย่างธนาคาร บริษัทประกัน กองทุนรวม..

เมื่อคิดรวมกัน 10 ปี การแบกของรัฐบาล คาดว่าอาจจะมีมูลค่ารวมกันหลักหลายหมื่นล้านบาท จนถึงแสนล้านบาท เลยทีเดียว

พออ่านจบ สิ่งเดียวที่เหลืออยู่ ที่คนธรรมดาพอจะทำได้ในช่วงนี้ก็คือ เตรียมเงินไปซื้อ กองทุนวายุภักษ์ ประเภท ก. แล้วให้รัฐบาลแบกไปอีก 10 ปี นั่นเอง..

Tuesday, September 17, 2024

Mr. DIY กำลังจะ IPO หุ้นไทย

 Mr. DIY กำลังจะ IPO หุ้นไทย





ไพ่ลับการเติบโต ของ MR. D.I.Y.

https://www.facebook.com/profile.php?id=61565337634821

ร้านขายสินค้าราคาถูก MR. D.I.Y. กำลังจะ IPO เข้าตลาดหุ้นไทย คนที่มองระยะยาวอาจจะมีคำถามว่า แล้วมันจะเติบโตได้แค่ไหน? ถ้าขยายสาขาจนเต็มประเทศไทยแล้ว ก็ไม่น่าจะขยายไปต่างประเทศได้ใช่ไหม?

เพราะว่า MR. D.I.Y. มาเลเซีย ก็จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์กัวลาลัมเปอร์อยู่แล้ว

และยังมีข่าวออกมาว่า MR. D.I.Y. อินโดนีเซีย ก็กำลังจะ IPO ที่ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย ช่วงปลายปี 2024
นั่นแปลว่า น่าจะประเทศใครประเทศมัน..

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ MR. D.I.Y. ประเทศไทย มีจดทะเบียนบริษัทลูกไว้ชื่อ KKVSC และ KKVBM โดยระบุไว้ว่าประกอบธุรกิจร้านค้าปลีกภายใต้แบรนด์ KKV

KKV เป็นร้านค้าปลีกสัญชาติจีน ขายสินค้าไลฟ์สไตล์ เครื่องสำอาง ไปจนถึงของเล่น มีประมาณ 450 สาขาในประเทศจีน

ที่มาเลเซียมีร้าน KKV แล้ว 3 สาขา และคาดว่าจะเปิดเพิ่มอีก โดย MR. D.I.Y. มาเลเซีย ถือหุ้น 49% ยอดขายต่อสาขาของ KKV มากกว่า MR. D.I.Y. สามเท่า!

ในไทย ตามข่าวคาดว่าจะเปิด KKV สาขาแรกที่ห้างเดอะมอลล์ท่าพระ ซึ่งจากข้อมูลที่เห็น MR. D.I.Y. ประเทศไทย ถือหุ้น KKVSC และ KKVBM 100%

นั่นก็แปลว่า ถ้าขยายสาขา KKV ในประเทศไทย ผลกำไรก็จะเข้า MR. D.I.Y. ประเทศไทยเต็ม ๆ

ในแง่ที่ว่าจะแย่งลูกค้ากันเองหรือไม่ MR. D.I.Y. จะวางสินค้าที่คุ้มค่าเงินของลูกค้า ส่วน KKV จะจับกลุ่ม “ลูกค้าที่มีวิจารณญาณและร่ำรวย”

KKV นี่เองที่อาจเป็น “ไพ่ลับ” ซึ่งทำให้ MR. D.I.Y. ประเทศไทย เติบโตต่อได้ยาวขึ้น ถ้าพึ่งพาการขยายสาขาของ MR. D.I.Y. อย่างเดียวก็อาจจะดูอิ่ม ๆ เพราะในไทยมีมากถึง 800 สาขาแล้ว อาจจะโตได้อีกไม่กี่ปี (มาเลเซีย 1,255 สาขา, อินโดนีเซีย 700 สาขา)

ร้านที่ต้องเตรียมรับมือ น่าจะเป็น Moshi Moshi, Miniso และ Daiso

แต่เรื่องคุณภาพสินค้าจากจีน และสินค้าในร้าน KKV จะได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างไร จะทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำได้หรือไม่ เพื่อนลงทุนยังไม่ขอสรุป ต้องติดตามต่อไปครับ..








Monday, September 9, 2024

Monday, September 2, 2024

Set status as of Sep 02, 2024

 Set status as of Sep 02, 2024

SET Index = 1353  PE = 16.86  (Thai Government 10 year Bond = 2.64% as per   July  2024)
Yield Gap =   3.29%

 Billy B. =  BEAR**

SET  1322   -->  1353  (+2.3%)  




Saturday, August 31, 2024

SAWAD as of Aug 2024

 SAWAD as of Aug 2024

Good:

- ค่าใช้จ่ายลดลง  น่าจะขาดทุนรถยึดลดลง


Neutral:

- Port ทรงตัว  เน้น quality อีกครั้ง

- Cost of Fund


Bad:

- NPL เพิ่มจากปลายปี 3.1% --> 3.4%

- Credit cost เลยสูงขึ้น

- จำนวนหุ้นเพิ่ม จากปันผลหุ้น 10:1





Friday, August 23, 2024

SCAP as of Aug 2024

 SCAP as of Aug 2024


Good

- Loss on Sales  ข่าวบอก Q3 จะลดลงอีก 100 ล้าน

- Cost dealer จะลดลง เรื่อย ๆ ได้อีก


Neutral

- Coverage

- Cost of Fund


Bad

- Credit Cost (สำรอง)

- Stage 2 and NPL increase

- Total Port reduced  (เน้นคุณภาพ , port ไม่โต)







Friday, August 9, 2024

Thursday, August 1, 2024

Set status as of Aug 01, 2024

 Set status as of Aug 01, 2024

SET Index = 1322  PE = 17.22  (Thai Government 10 year Bond = 2.75% as per   June  2024)
Yield Gap =   3.06%

 Billy B. =  BEAR

SET  1299   -->  1322  (+1.8%)  




Friday, July 26, 2024

ข่าวหนี้เสียมอเตอร์ไซด์ July 2024

 ข่าวหนี้เสียมอเตอร์ไซด์  July 2024

https://www.prachachat.net/finance/news-1614122


ในการประชุมคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ (ครม.) ครั้งล่าสุด มีการพูดถึงการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนกันอย่างกว้างขวาง และให้โจทย์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำรายละเอียดเพิ่มเติม


แก้หนี้ครัวเรือนเรื่องเร่งด่วน


โดย นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นเรื่องสำคัญ โดยนอกจากหนี้บ้านแล้ว ก็ยังมีรถยนต์ แล้วก็มีสินค้าอุปโภคบริโภค... 

ดังนั้น การแก้ไขหนี้รถยนต์ก็อาจจะต้องมี ต้องใช้ความพยายาม และผู้ที่จะร่วมแก้ไข ก็ต้องเข้าใจสถานการณ์ เพื่อให้การแก้ไขลุล่วง ซึ่งหนี้เสียรถยนต์ที่น่าเป็นห่วง จะเป็นกลุ่มรถกระบะที่เริ่มเป็นมากขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้ใช้รถในการทำมาหากิน


“การที่เราจะผลักดันประเทศให้เดินต่อ เราจะไม่ผลักดันที่ตัวคนไม่ได้ ประชาชนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้น ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด ต้องเร่งแก้ไข”


ห่วงหนี้เสียรถกระบะ-มอ’ไซค์

นายพิชัยกล่าวว่า จากข้อมูลที่หนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) หรือราว 10 ล้านล้านบาท พบว่า มีเป็นหนี้เสีย (NPL) อยู่กว่า 1 ล้านล้านบาท และหลายเดือนที่ผ่านมา มีสัญญาณว่าหนี้เสียจะเพิ่มขึ้น จากข้อมูลหนี้ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ (SM) ซึ่งหมายถึงหนี้ค้างชำระระหว่าง 1-3 เดือน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น... 


“เมื่อผ่าเข้าไปดู พบว่า ครึ่งหนึ่งเป็นหนี้บ้านกับหนี้รถยนต์ ต่อมาคือหนี้บัตรเครดิต และหนี้การใช้จ่ายเพื่อบริโภค ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงได้สั่งการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปหารือในเรื่องของแก้ไขหนี้บ้านกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อช่วยให้ประชาชนหลุดพ้นหนี้และรักษาบ้านไว้ได้”


ทั้งนี้ นายกฯได้สั่งการให้พิจารณาการปรับโครงสร้างหนี้ยานยนต์ โดยเน้นในกลุ่มลูกหนี้ประเภทรถกระบะ และมอเตอร์ไซค์ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือทำมาหากินของประชาชน โดยตอนนี้กำลังเร่งหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และบริษัทไฟแนนซ์ โดยแยกกลุ่มหนี้เสีย ที่ถูกยึดรถแล้ว และสินเชื่อใหม่ ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำมารายงานในการประชุม ครม.เศรษฐกิจครั้งหน้า


เปิดตัวเลขหนี้เสียเพิ่มขึ้น

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สินเชื่อรถปิกอัพ ณ สิ้น พ.ค. 2567 มีทั้งสิ้น 2.7 ล้านบัญชี มูลหนี้ 9.9 แสนล้านบาท หดตัว -4.2% โดยเป็น NPL จำนวน 4.3 แสนบัญชี เพิ่มขึ้น 28.7% มูลหนี้ 1.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.1% ส่วนที่เป็น SM อยู่ที่ 2.8 แสนบัญชี เพิ่มขึ้น 7.1% มูลหนี้ 1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.3%


“ยอดสินเชื่อรถกระบะคิดเป็น 38.9% ของสินเชื่อรถยนต์ ส่วนยอด NPL คิดเป็นสัดส่วน 55.7% ของ NPL รถยนต์ และยอด SM คิดเป็น 54.9% ของ SM รถยนต์”


ส่วนสินเชื่อรถจักรยานยนต์ ณ สิ้น พ.ค. 2567 มีทั้งสิ้น 3.5 ล้านบัญชี มูลหนี้ 2.1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.3% โดยเป็น NPL จำนวน 1 ล้านบัญชี หดตัว -2.4% มูลหนี้ 5.7 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.2% ส่วน SM มี 2 แสนบัญชี หดตัว -3.9% มูลหนี้ 1.1 หมื่นล้านบาท หดตัว -4.9%


ลีสซิ่งปรับโครงสร้างหนี้ต่อเนื่อง

นายมงคล เพียรพิทักษ์กิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด และอุปนายกสมาคมธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ธปท.ก็ได้เข้ามาหารือและพูดคุยถึงการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มรถจักรยานยนต์ เนื่องจากมองว่า เป็นกลุ่มลูกค้าฐานราก ทั้งนี้ ประเมินแนวโน้ม NPL กลุ่มรถจักรยานยนต์ทั้งระบบน่าจะทรงตัวเฉลี่ย 5-8% ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสถาบันการเงินในเรื่องการตัดหนี้สูญ (Write off) ว่าทำเร็วหรือช้าระดับใด


“บางค่ายหนี้เสียจะอยู่ที่ 3% หรือบางค่าย 5% เป็นต้น อย่างไรก็ดี เชื่อว่า NPL ใหม่จะลดลง และ มีสัญญาณดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่ การแข่งขันที่ลดลง รวมถึงภายหลังจากสถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลูกค้า”


อย่างไรก็ดี บริษัทช่วยเหลือลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีโปรแกรมการปรับโครงสร้างหนี้ ที่ทำมาตั้งแต่ช่วงโควิด-19 เช่น ลูกค้าผ่อนชำระไม่ไหว จะมีการลดค่างวดลง และปรับเทอมการชำระหนี้ออกไป ขึ้นอยู่กับความสามารถของลูกค้า


“เรามีการสื่อสารกับ ธปท.ต่อเนื่องในเรื่องของการช่วยเหลือลูกค้า ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะผู้ประกอบการเองก็ไม่อยากให้เป็นเอ็นพีแอล ดังนั้น คงไม่ได้เห็นการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยมาก หลังจากนี้ เนื่องจากเราทำเป็นปกติอยู่แล้ว”


แบงก์ยันช่วยลูกค้า-ไม่อยากยึดรถ

นายเตชินท์ ดุลยฤทธิรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวว่า แบงก์ได้ช่วยเหลือลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้ (TDR) อยู่แล้ว โดยลูกค้าที่ยังต้องการเก็บรถไว้ประกอบอาชีพสามารถพูดคุยในการปรับโครงสร้างหนี้ตามความสามารถในการผ่อนชำระ เช่น จากเดิมเคยผ่อนเดือนละ 10,000 บาท อาจจะปรับเหลือ 6,000-7,000 บาท


“สถาบันการเงินเอง ก็ไม่ต้องการยึดรถลูกค้าอยู่แล้ว นอกจากลูกค้ารายนั้นไม่ต้องการรถและไม่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้”


สำหรับสถานการณ์ยอดขายรถกระบะในปี 2567 นี้ ยังคงชะลอตัว โดยในช่วง 5 เดือนแรกหดตัว -41% มียอดขายราว 75,903 คัน สะท้อนตามกำลังซื้อที่แผ่วลง เนื่องจากลูกค้ากลุ่มรถกระบะ จะเป็นกลุ่มเกษตรกร กลุ่มภาคผลิต และขนส่ง ซึ่งปัจจุบันรายได้เกษตรยังติดลบหรือค่อนข้างน้อย ส่วนภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากสินค้าจีน ที่เข้ามาแข่งขัน ทำให้กำลังการผลิตลดลง ดังนั้น จึงกระทบต่อกำลังซื้อรถกระบะชัดเจน


“ต้องยอมรับว่า แบงก์เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มกระบะตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งทำให้ยอดขายลดลงราว 50% เพราะโดยปกติลูกค้ากลุ่มนี้จะชำระกระท่อนกระแท่นอยู่แล้ว ยอดรีเจ็กต์จึงสูงกว่ารถยนต์ทั่วไป หรือหากรายได้ไม่ชัดเจน แบงก์ก็ไม่ปล่อย หรือปล่อย ก็ต้องมีเงินดาวน์ เฉลี่ย 20-25% ขึ้นกับราคารถ”


คงต้องติดตามว่า มาตรการที่รัฐบาลจะเคาะออกมาในการช่วยเหลือลูกหนี้รถกระบะ และรถจักรยานยนต์ จะเป็นเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ที่เข้มข้นขึ้น หรือมีอะไรมากกว่านั้น... 




Wednesday, July 24, 2024

SYMC (July 2024) from เพจ Superstarman

 SYMC (July 2024) from เพจ Superstarman

0️⃣.ธุรกิจ Data Center มี Value Chain ที่ครอบคลุมหลายส่วนในอุตสาหกรรม ในส่วนของต้นน้ำ เช่น

(1) ผู้ผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วน บริษัทที่ผลิตส่วนประกอบหลัก เช่น เซิร์ฟเวอร์, อุปกรณ์เก็บข้อมูล, ระบบระบายความร้อน, UPS และอุปกรณ์สนับสนุนอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับ Data Center

(2) ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม บริษัทที่ให้บริการสายไฟเบอร์ออปติกและโครงข่ายการเชื่อมต่อซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการรับส่งข้อมูลเข้าออกจาก Data Center

ในส่วนของปลายน้ำเช่น

(3) ผู้ให้บริการ Cloud / Co-location หรือผู้ให้บริการบริการต่างๆ เช่น SaaS (Software as a Service)

โดย SYMC ก็คือผู้ให้บริการต้นน้ำในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน

1️⃣.บริษัท มีสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเป็นระยะทางกว่า 25,400 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่สำคัญในประเทศไทย ดังนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล / พื้นที่เศรษฐกิจหลักรวม 50 จังหวัด อาคารสำนักงานชั้นนำและนิคมอุตสาหกรรม และรวมถึงเคเบิ้ลใต้น้ำในการเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ (MCT ถือหุ้น 33%) เชื่อมต่อ 3 ประเทศ มาเลเซีย กัมพูชาและไทย ระยะทางรวม 1,300 กิโลเมตร

2️⃣.Over-the-Top (OTT) จะเป็นส่วนเร่งให้การเติบโตสูงขึ้นจากพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น บริการสตรีมมิ่งวิดีโอ Netflix, Amazon Prime Video, และ Disney+ หรือพวกบริการเกมออนไลน์ รวมถึงพวก Facebook Reels , TikTok โดย 2 ใน 3 ของปริมาณการใช้งานมาจาก OTT
.
*เทคโนโลยีสตรีมมิ่งวิดีโอที่ชัดขึ้น จาก FullHD (1080p) มาเป็น 2k (1440p ) จะใช้ข้อมูลเพิ่มขึ้นเยอะมากๆ

3️⃣.มีบริษัทแม่ในมาเลเซีย TIME dotcom (ผู้ประกอบการด้าน Infrastructure อันดับ 2 ในมาเลเซีย) ซึ่งถือหุ้นใน SYMC อยู่ที่ประมาณ 46.84% และพันธมิตรในสิงคโปร์ จะช่วยให้การเติบโตจากลูกค้าต่างประเทศเพิ่มขึ้นได้ดีเพราะแม่ป้อนงานให้ โดยที่ต้นทุนที่แม่เข้ามาซื้ออยู่เฉลี่ยๆ แถวๆ +/- 10.5 บาท

4️⃣.คู่เทียบ บริษัทที่ใกล้เคียง เช่น ALT และ ITEL และผู้เล่นในต่างประเทศเช่น , Telstra (ออสเตรเลีย) , TIME (Asean)
อื่นๆ เช่น , AT&T(อเมริกา) ,SingTel (สิงค์โปร์) , Vodafone (ยุโรป)

5️⃣.บริษัทมีกำไรขั้นต้นอยู่ที่ ~33% แต่ก็มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากราคาขายต่อปริมาณการใช้ข้อมูลมีแนวโน้มลดลง (แต่ก็ได้ชดเชยจากปริมาณการใช้งานที่มากขึ้น) โดยที่กำไรขั้นต้นที่มาจากต่างประเทศนั้นมีสัดส่วนที่ใหญ่ขึ้นแต่ที่มีอัตรากำไรที่น้อยลง

6️⃣.Capex จะมีเพิ่มเติมบ้างในการลงทุน เช่นต้องลากสายไปเชื่อมกับลูกค้า รวมถึงการเปลี่ยนอุปกรณ์ให้ทันสมัย และมีค่าเสื่อมที่ถูกตั้งไว้ในสัดส่วนที่สูงหน่อย

7️⃣.ความเสี่ยงจากเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลง เช่น ดาวเทียม starlink ที่อาจมา disrupt ได้ (แต่ใยแก้วนำแสงคงอยู่ได้ไปอีกนาน + กับอุตสาหกรรมยังต้องการความเสถียรที่สูงอยู่)

8️⃣.ปัจจัยการขยาย Data Center ในไทย
(1) ทำเลที่ตั้ง ไทยเป็นศูนย์การในการวาง Data Center ได้ / รวมถึงภัยธรรมชาติต่ำ แผ่นดินไหว/น้ำท่วม(นานๆ ที)
(2) ระบบไฟฟ้าที่เสถียร และไฟฟ้าที่เป็น green มีให้ใช้
(3) ตลาดมีการขยายตัว เช่นผู้ใช้งาน facebook , tiktok ในไทยเยอะ รวมถึงการใช้พวก prompt-pay หรือธุรกรรมการเงิน
(4) มี BOI ให้ผู้ประกอบการ







Monday, July 8, 2024

Hmpro จากเพจ Money Lab (July 2024)

 Hmpro จากเพจ Money Lab (July 2024)

อธิบายธุรกิจ HMPRO กำไรโต แต่มูลค่าหาย 50% | MONEY LAB

เมื่อปี 2565 หลังจากการทยอยเปิดเมืองอย่างเต็มรูปแบบ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO เคยมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 228,000 ล้านบาท
ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด

แต่มาวันนี้ มูลค่าบริษัทกลับเหลือเพียง 120,000 ล้านบาท หรือหายไปเกือบ 50%

ทั้ง ๆ ที่รายได้และกำไรของบริษัท ก็เติบโตจนทำสถิติสูงสุดได้

แล้วเกิดอะไรขึ้นกับ HMPRO จนทำให้มูลค่าของบริษัทหายไปมากขนาดนี้ ?

MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก เกี่ยวกับการก่อสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม ซ่อมแซม และปรับปรุงบ้าน
โดยมีอยู่ 2 แบรนด์หลัก ที่รองรับกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน
- HomePro รองรับกลุ่ม ลูกค้าเจ้าของบ้าน
- Mega Home รองรับกลุ่ม ลูกค้าช่างและผู้รับเหมา

สำหรับผลประกอบการของ HMPRO ในช่วงที่ผ่านมา

- ปี 2563 รายได้ 61,765 ล้านบาท กำไร 5,155 ล้านบาท
- ปี 2564 รายได้ 63,926 ล้านบาท กำไร 5,441 ล้านบาท
- ปี 2565 รายได้ 69,389 ล้านบาท กำไร 6,217 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้ 72,822 ล้านบาท กำไร 6,442 ล้านบาท
จะเห็นว่า ในช่วงที่ผ่านมารายได้และกำไรของ HMPRO ยังเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอ

และหากมองย้อนกลับไป 10 ปี จะพบว่า ในปี 2566 บริษัทสามารถทำรายได้และกำไร มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งสะท้อนถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจคือ มูลค่าบริษัทกลับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สวนทางกับรายได้และกำไรที่เติบโตขึ้น
โดยในปี 2565 มูลค่าบริษัทเคยขึ้นไปสูงสุดถึง 228,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันมูลค่าบริษัทลดลงมาเหลือเพียง 120,000 ล้านบาท เท่านั้น
คิดเป็นการปรับตัวลดลงเกือบ 50% ภายในระยะเวลา
ไม่ถึง 2 ปี
แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้มูลค่าบริษัทลดลงอย่างมาก ทั้ง ๆ ที่ผลการดำเนินงานของบริษัทยังคงแข็งแกร่ง

หากลองเข้าไปดูในรายละเอียดจะพบว่า

1. การเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิมติดลบ

การเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิม หรือ Same Store Sale Growth โดยเรียกสั้น ๆ ว่า SSSG เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญ สำหรับธุรกิจค้าปลีกว่า แต่ละสาขา สามารถทำยอดขายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่
ถ้า SSSG เป็นบวก หมายความว่า ยอดขายของสาขาเดิมยังเติบโตได้
ถ้า SSSG เป็นลบ หมายความว่า ยอดขายของสาขาเดิมลดลง
ซึ่งเมื่อไปดู SSSG ของ HMPRO จะพบว่า
- ไตรมาส 3/2566 SSSG -3.6%
- ไตรมาส 4/2566 SSSG -8.5%
- ไตรมาส 1/2567 SSSG -2.0%
การเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิมติดลบ แสดงถึงการลดลงของยอดขายในสาขาเดิมอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุก็น่าจะเกิดจาก กำลังซื้อที่ฟื้นตัวช้าตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ที่ยังคงชะลอตัวอยู่

2. การขยายสาขาของ HomePro ถึงจุดอิ่มตัว

การเติบโตของธุรกิจประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะเติบโตได้จากการขยายสาขา
ในช่วงที่ผ่านมา HomePro ได้เร่งขยายสาขา จนเกือบจะครอบคลุมกรุงเทพฯ และหัวเมืองหลักแล้ว
- จำนวนสาขา HomePro ในประเทศไทย
สิ้นปี 2565 มี 87 สาขา และสิ้นปี 2566 มี 89 สาขา
- HomePro S เป็นรูปแบบร้านขนาดเล็ก
สิ้นปี 2565 มี 5 สาขา และสิ้นปี 2566 มี 5 สาขา
- HomePro ในประเทศมาเลเซีย
สิ้นปี 2565 มี 7 สาขา และสิ้นปี 2566 มี 7 สาขา
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า ในช่วงที่ผ่านมา HMPRO เปิดสาขาใหม่น้อยมาก ซึ่งอาจส่งผลต่อศักยภาพการเติบโตของบริษัทในอนาคต
เพราะยอดขายของ HomePro ทั้งหมดทุกรูปแบบ คิดเป็นสัดส่วนถึง 81% ของยอดขายรวมในปี 2566

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้หันมาเน้นการขยายสาขาของ Mega Home มากขึ้นแทน
โดยจำนวนสาขาของ Mega Home
- ปี 2564 มี 14 สาขา
- ปี 2565 มี 18 สาขา
- ปี 2566 มี 27 สาขา
ซึ่งการเร่งขยายสาขา Mega Home เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การรักษาการเติบโต และกระจายความเสี่ยง โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างจาก HomePro มากขึ้น

พอสาขาเดิมขายของได้น้อยลง แต่จะขยายสาขาใหม่ก็ไม่ได้ง่าย โดยเฉพาะ HomePro ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก เพราะมีคู่แข่งเดิมเต็มไปหมด เราก็พอจะเห็นภาพแล้วว่า ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดมีมุมมองกับ HMPRO อย่างไรบ้าง

และหากดูราคาหุ้นของ HMPRO ในปัจจุบัน พบว่ามีการซื้อขายอยู่ที่ราคา 9.25 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราส่วน P/E Ratio อยู่ที่ 18.59 เท่า
ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า P/E Ratio ระดับนี้ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเคยซื้อขายกันอยู่สูงถึง 31 เท่า

และเมื่อลองเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่ง ก็จะพบว่า
HMPRO ณ สิ้นปี 2566
มีสาขา HomePro และ HomePro S รวม 101 สาขา
และ Maga Home มีสาขาทั้งหมด 27 สาขา
ปัจจุบันซื้อขายที่ P/E 18.59 เท่า

บมจ.สยามโกลบอลเฮ้าส์ หรือ GLOBAL
สิ้นปี 2566 มีสาขาทั้งหมด 84 สาขา
ปัจจุบันซื้อขายที่ P/E 31.03 เท่า

บมจ.ดูโฮม หรือ DOHOME
สิ้นปี 2566 มีสาขาทั้งหมด 35 สาขา
ปัจจุบันซื้อขายที่ P/E 58.23 เท่า

จากข้อมูลเปรียบเทียบกันจะเห็นได้ชัดเจนว่า HMPRO
มี P/E ต่ำกว่าคู่แข่งอย่างเห็นได้ชัด

ซึ่งหากมองว่า HMPRO เติบโตจนถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ราคาหุ้นที่ระดับราคานี้ ก็อาจจะดูสมเหตุสมผล สะท้อนถึงการเติบโตที่ชะลอตัวลงในอนาคต

แต่ในอีกมุมหนึ่ง หากมองว่า HMPRO ยังมีโอกาสเติบโตได้อีก จากการขยายสาขาของ Maga Home และการขยายสาขาไปต่างประเทศ ราคาหุ้นที่ระดับราคานี้ ก็อาจจะเป็นโอกาสที่ดี ในการลงทุนก็เป็นได้..