https://www.facebook.com/soloinvestor19
สรุปปิดปี 2566 กลุ่มธนาคาร ครบจบในที่เดียว by Solo Investor
หลังจากมีดราม่าดังตั้งแต่ต้นปี 2567
ที่มีการประเมินว่ากำไรรวมปี 2566 ของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น 220,000 ล้านบาท เติบโต +18.5% สูงสุดเป็นประวัติกาล (All Time high)...ในขณะที่ GDP เศรษฐกิจไทย ขยายตัวได้เพียง +1.8%...
ยิ่งทำให้คนในสังคมตั้งคำถามกับ กับความเหมาะสมของนโยบายของอัตราดอกเบี้ย และกำไรที่ธนาคารได้รับ ว่าสูงเกินไปหรือไม่?
วันนี้แอด Solo Investor ถือโอกาสหลังจากไม่ได้เขียนเพจ FB มานาน มาสรุปและชี้ประเด็นที่สังคมยังไม่ทันสังเกตุ ของกลุ่มธนาคารกันครับ...
มีนักลงทุนระดับโลกเคยกล่าวว่า
"หากอยากรู้แนวโน้มเศรษฐกิจ ให้ดูผลประกอบการของกลุ่มธนาคาร..."
เพราะธนาคารประกอบไปด้วยลูกหนี้ ตั้งแต่รายย่อย ระดับหนี้เพียง 10,000 บาทไปจนถึง กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ระดับวงเงินกู้เป็น 10,000 ล้านบาท...
ซึ่งหากฟังเผินๆ ข้อเท็จจริงของผลประกอบการข้างต้น มันดูขัดแย้งกับสิ่งที่คนในสังคมกำลังประสบปัญหาอยู่อย่างชัดเจน "กำไรของคุณสูงขึ้น +18% ...แต่ทำไมพวกผมกำลังย่ำแย่ขนาดนี้..."
ดังนั้นการมองกลุ่มธนาคาร ต้องดู 4 มิติ สำคัญ คือ
1. ขนาดของพอร์ตสินเชื่อ <<< แสดงถึงขนาดของเศรษฐกิจ(GDP) ได้ดีที่สุด เพราะล้อไปตามความต้องการการใช้เงินทุน เพื่อเอาทำธุรกิจหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น การบริโภค ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์
แบงค์ = 2566 / 2565
(หน่วย ล้านบาท)
SCB = 2,426,563 / 2,377,214
BBL = 2,671,964 / 2,682,691
KBANK = 2,490,398 / 2,495,077
BAY = 2,017,204 / 1,949,409
TTB = 1,327,964 / 1,376,118
KTB = 2,577,131 / 2,593,370
Total = 13,511,224 / 13,473,879
ภาพรวมสินเชื่อ 6 Bank ใหญ่
ปล่อยกู้ เพิ่มขึ้นเพียง +37,345 ล้านบาท หรือ +0.28% เท่านั้น
...เทียบกับขนาดของเศรษฐกิจไทย (GDP) เติบโต +1.8% ถือว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
หากจะเทียบ แล้วเกิดความผิดปกติ จะต้องเป็น พอร์ตสินเชื่อธนาคารเติบโต +20% แต่เศรษฐกิจไทยเติบโตได้แค่ +2% เพราะหมายความว่า "เงิน" ที่ลูกหนี้ทุกประเภทยืมจาก Bank ไป ไม่สามารถช่วยขยายขนาดของเศรษฐกิจไทยได้นั่นเอง...
หรือในทางกลับกัน เช่น พอร์ตสินเชื่อธนาคารเติบโต +0.5% แต่เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ +7.5% ย่อมแสดงว่าแหล่งที่มาของ "เงิน" ที่เอามาขยายขนาดของเศรษฐกิจไทย อาจมาจากที่อื่น เช่น เปิดเสรีรับเงินกู้และเงินทุนจากต่างประเทศ เป็นต้น
2. ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินกู้ (NIM) <<< แสดงถึงกำไรขั้นต้น ที่ Bank จะได้รับจากการนำเงินฝากของประชาชนไปปล่อยกู้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับดราม่า อัตราดอกเบี้ย BOT โดยตรง
แบงค์ = 2566 / 2565
(หน่วย ล้านบาท)
SCB = 124,682 / 107,865
BBL = 130,860 / 102,223
KBANK = 148,444 / 132,998
BAY = 99,390 / 83,778
TTB = 57,207 / 51,617
KTB = 113,419 / 90,405
Total = 674,002 / 568,886
เพิ่มขึ้น +105,116 ล้านบาท หรือ +18.5% เทียบกับปีก่อน...
ซึ่งเรื่องนี้ BOT ต้องออกมารับผิดชอบโดยตรง
เพราะเป็นผู้ที่ขึ้นดอกเบี้ย นโยบาย +1.5% ภายใน 1 ปีที่ผ่านมา
โดยธนาคาร หลายแห่ง อาศัยจังหวะนี้
ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากเพียง +0.5 - 1.0%
แต่ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ +1.2 - 1.5%
ทำให้เกิดส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) มากขึ้น แม้จะเพียง 0.6-0.8% และฐานเงินให้สินเชื่อไม่ได้เพิ่มขึ้น
แต่เมื่อ คูณกับฐานเงินของเงินปล่อยกู้ระดับ 13.5 ล้านล้านบาท...
ย่อมทำให้ 6 Bank ใหญ่มีรายได้จากส่วนต่างนี้ เพิ่มขึ้นรวมกันเป็น 100,000 ลบ. ได้...
ดังนั้น BOT ไม่สามารถปฎิเสธ ความรับผิดชอบได้ในมิตินี้
3. ปริมาณ NPLs / ตั้งสำรอง <<< แสดงถึงความสามารถในการจ่ายหนี้ของลูกหนี้ ในกรณีที่คนเบี้ยวหนี้จำนวนมากขึ้น ยิ่งต้องตั้งสำรองหนี้นั้นๆ ซึ่งจะมีผลไปยังกำไรของ Bank
3.1 ปริมาณ NPLs <<< ปริมาณหนี้เสียที่ยังคงค้างใน Book ของธนาคาร แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนคนเบี้ยวหนี้ ณ เวลานั้นๆ
แบงค์ = 2566 / 2565
(หน่วย ล้านบาท)
SCB = 96,832 / 96,832
BBL = 85,955 / 97,188
KBANK = 94,241 / 92,536
BAY = 61,481 / 53,875
TTB = 41,006 / 41,707
KTB = 99,439 / 101,096
Total = 478,954 / 483,234
หรือ NPLs หดตัวเล็กน้อย -4,280 ลบ. หรือลดลง -0.89% แสดงว่า ธนาคารต่างๆ ได้มีการจัดการ NPLs เช่น ปรับโครงสร้างหนี้ , ขายหนี้เสีย หรืออื่นๆออกไป จนทำให้ปริมาณ NPLs สุทธิ ณ สิ้นปี ดูไม่เพิ่มขึ้น...
3.2 การตั้งสำรองฯ <<< สะท้อนการจัดการลูกหนี้ NPLs (ผลขาดทุนจากเงินกู้นั้นๆ) และการบริหารความเสี่ยงของธนาคารแต่ละแห่ง
แบงค์ = 2566 / 2565
(หน่วย ล้านบาท)
SCB = 43,600 / 33,829
BBL = 33,666 / 32,647
KBANK = 51,840 / 51,919
BAY = 35,617 / 26,652
TTB = 22,199 / 18,353
KTB = 37,085 / 24,338
Total = 224,007 / 187,738
หรือตั้งสำรองเพิ่มขึ้น +36,269 ลบ. หรือเพิ่ม +19.3%
ซึ่งเมื่อหนี้เสียเพิ่มขึ้น บ้าน-รถ โดนยึดมากขึ้น สอดคล้องกับสำรองในปีนี้ที่ตั้งสำรองไปกว่า 224,000 ลบ. สูงกว่าปีก่อน
และเราไม่อาจทราบได้ว่า bank ขายหนี้ออกไปแล้วจำนวนเท่าไหร่ในปีนี้ เพื่อเอา NPLs / สำรองฯ ออกไปจาก Book ของตัวเอง แต่จากข้อมูลพบว่าเอามูลหนี้ที่เอาออกมาขายกว่า 130,000 ล้านบาท...
4. แหล่งรายได้อื่นๆ ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย <<< อันนี้ไม่เกี่ยวกับ ดราม่าเรื่องดอกเบี้ย BOT แต่เป็นรายได้ที่ Bank ไปหามาจากแหล่งอื่นๆ เช่น เอาเงินไปลงทุนในพันธบัตร หรือหุ้นกู้ หรือเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ
แบงค์ = 2566 / 2565
(หน่วย ล้านบาท)
SCB = 46,421 / 46,555
BBL = 36,627 / 36,672
KBANK = 44,209 / 40,259
BAY = 39,558 / 32,638
TTB = 17,399 / 17,870
KTB = 36,046 / 34,986
Total = 220,260 / 208,980
แสดงว่าธนาคารมีรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น +11,280 ลบ. ซึ่งส่วนนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับ BOT ที่ขึ้นดอกเบี้ย
==============================
เมื่อเอาข้อมูลทั้ง 4 มิติ มากางบนโต๊ะ เราก็พอจะเห็นภาพว่า
- ขนาดของสินเชื่อเติบโตต่ำ สอดคล้องกับ GDP ไทยที่ขยายตัวต่ำ
- ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นจริง +18.4% หรือเพิ่มกว่า +105,000 ลบ. เพราะนโยบาย BOT ชี้นำ และ Bank ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก
- NPLs ทรงตัว (ซึ่งมาจากการปรับโครงสร้งหนี้ และขายหนี้ NPLs) และตั้งสำรองเพิ่มขึ้น +19.3% ตามที่เห็นในข่าวว่าบ้าน-รถ โดนยึดเพิ่มขึ้น
- รายได้อื่นของธนาคารเพิ่มขึ้น +11,280 ลบ. ซึ่งเป็นรายได้จากการลงทุนและค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นๆของธนาคาร
ดังนั้นกำไรสุทธิรวมของ 6 Bank ใหญ่
แบงค์ = 2566 / 2565
(หน่วย ล้านบาท)
SCB = 43,521 / 37,546
BBL = 41,636 / 29,306
KBANK = 42,405 / 35,770
BAY = 32,929 / 30,713
TTB = 18,462 / 14,195
KTB = 36,616 / 33,698
Total = 215,569 / 181,228
หรือเพิ่มขึ้น +34,341 ลบ. คิดเป็น +18% เทียบกับปีก่อน โดยมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่แอดเรียงมาให้ดูที่ละมิติ
ซึ่งแอดไม่ได้บอกว่า กำไรของกลุ่มธนาคาร 215,000 ล้านบาท เหมาะสมแล้ว
เพราะบางมิติก็เป็นช่องโหว่ ที่ฝ่ายกำกับดูแลและภาครัฐ อาจเข้าไปควบคุมเพิ่มเติมได้
ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น หุ้นกลุ่มธนาคาร ย่อมได้รับประโยชน์จากส่วนต่างดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ตามวัฎจักรของธุรกิจประเภทนี้(และเป็นแบบนี้ทั้งไทยและต่างประเทศ)...
แต่สิ่งที่คนในสังคมตั้งคำถาม คือ ความเหมาะสมของ BOT ที่ขึ้นดอกเบี้ยนโบาย +1.5% ภายใน 1 ปี จนทำให้ลูกหนี้จำนวนมากได้รับผลกระทบในการชำระหนี้ และส่งผลทางอ้อมไปยังความเข้มงวดในการปล่อยกู้ของธนาคาร...
และที่น่าห่วงยิ่งกว่านั้น และคนในสังคมยังมองไม่เห็น
คือ ขนาดของพอร์ตสินเชื่อของธนาคาร 6 แห่ง ที่ขยายตัวได้แค่ +0.28% เทียบกับปี 2565 และหลายแห่งขนาดของสินเชื่อหดตัวลง สะท้อนว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจไทยกำลังมีปัญหา ( คนกู้ไม่ได้ / ธุรกิจไม่กล้ากู้ / แบงค์ไม่ปล่อยกู้ )
การหวังว่าเศรษฐกิจ (GDP) จะเจริญเติบโตได้ +5-6% ต่อปี ไม่สามารถทำได้ หากขนาดของพอร์ตสินเชื่อของธนาคารเติบโตเพียง +0.5% ต่อปี (ยกเว้นว่า รัฐเปิดเสรีเงินทุน/เงินกู้ต่างประเทศ)
เพราะทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต้องใช้ "เงินทุน"
เมื่อไม่มีทุนส่วนตัว ก็ต้องหา "เงินกู้ยืม" หรือหา "ผู้ร่วมลงทุน" ...ซึ่งวันนี้ยังไม่เห็นภาพ ว่าปี 2567 จะเป็นอย่างไรต่อไป...
แอดขอสรุปของกลุ่มธนาคารไทย ไว้เพียงเท่านี้ หวังว่าจะเพิ่มความกระจ่างมากขึ้นให้กับแฟนเพจและผู้สนใจทุกท่านครับ
No comments:
Post a Comment