Monday, January 29, 2024

คุณฮง โพสเฟส (Jan 2024)

 คุณฮง โพสเฟส (Jan 2024)

คัดมาบางส่วน

ปีที่แล้วเป็นปีที่ผลตอบแทนการลงทุนของผมติดลบหนักที่สุดตั้งแต่เคยลงทุนมา ( ซึ่งตรงข้ามกับที่มิจฉาชีพเอาไปแอบอ้างว่าหุ้นที่ผมบอกบางตัวขึ้นถึง 35% ในอาทิตย์เดียว ) ผมคิดว่าผมได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างอย่างเช่นในอดีตผมเคยทำกำไรได้เยอะมากจากหุ้น finance  แต่ปีที่แล้วผมขาดทุนจากหุ้นกลุ่มนี้บางตัวค่อนข้างเยอะเหตุผลเพราะสภาพแวดล้อมทางการลงทุนมีความแตกต่างกับช่วงหลายปีก่อนเช่นสภาวะเศรษฐกิจเศรษฐกิจที่แย่ทำให้ npl ของบริษัทเป็นขาขึ้นและในภาวะที่ bond yield  เป็นขาขึ้นก็ทำให้ตลาดมองว่าต้นทุนทางการเงินของหุ้นกลุ่มนี้จะสูงขึ้นและลดพีอีของหุ้นลง  ดังนั้นการลงทุนหลักการที่ใช้ได้ผลในการทำเงินในสภาวะสถานการณ์หนึ่งก็อาจจะใช้ไม่ได้ผลเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปในช่วงหลายปีก่อนหุ้นตัวไหนที่ port growth  ได้เยอะมักจะมีพีอีสูงแต่ตอนนี้แม้ว่าจะมี port สินเชื่อเติบโตเยอะ แตาถ้า npl ขยับขึ้นหุ้นก็อาจจะราคาลงได้แม้ว่าบางตัวกำไรจะรักษาระดับได้  ทำให้ผมเริ่มเข้าใจว่าบางครั้งการที่เราเล่นหุ้นบางกลุ่มกำไรในสภาวะสถานการณ์หนึ่งเราอาจจะยังได้เป็นผู้เชี่ยวชาญหุ้นกลุ่มนั้นมากก็ได้  ต่อเมื่อเราเจอกับสถานการณ์อีกแบบนึงอาจจะทำให้เราเข้าใจกลไกของการ ลงทุนใน sector นั้นๆมากขึ้น

ปีที่แล้วมีน้องบางคนเขียนมาปรึกษาบอกว่าลงทุนมาประมาณแปดถึงเก้าปีพอโตขึ้นเยอะมากแต่ช่วงไม่กี่เดือนของปีที่แล้วมูลค่าพอร์ตลดลง 80 ถึง 90% เค้าเล่าให้ผมฟังว่าเกิดจากการที่เค้าขาดทุนและอยากได้เงินคืนเร็วเร็วเค้าก็เลยเล่น block trade  เอาจริงๆผมเคยอ่านอะไรทำนองนี้จากคนที่เขียนมาปรึกษาค่อนข้างเยอะในตลาดหุ้นดูเหมือนกับการจะทำกำไรหลายเท่าตัวเป็นเรื่องยากมากๆโดยเฉพาะทุกวันนี้น่าจะต้องใช้เวลาหลายปีและอยู่ในสถานการณ์ที่เอื้ออำนวยพอสมควรแต่การจะขาดทุนหนักหนักดูเหมือนใช้เวลาสั้นกว่าเยอะถ้าเราใช้เครื่องมือทางการเงินที่ไม่ควรใช้ดังนั้นขอให้คิดไว้เสมอว่ามันไม่สำคัญว่าคุณจะอยู่ในตลาดหุ้นมาแล้วกี่ปีไม่สำคัญว่าคุณจะทำกำไรได้กี่เท่า แต่ความโลภอยากจะได้ผลตอบแทนเร็วเร็วเพียงแค่ชั่วครู่อาจจะพังสิ่งที่คุณสร้างมาอย่างยาวนานเรื่องแบบนี้ถ้าใครไม่เคยเจอกับตัวอาจไม่เข้าใจแต่คนที่เคยผ่านสภาวะหน้ามืดอยากได้ผลตอบแทนไวๆแล้วเสียหายหนักมาแล้วจะเข้าใจดี

หลายคนที่เคยชินกับยุคดอกเบี้ยต่ำต่ำแล้วคิดว่าการลงทุนเป็นเรื่องง่ายตอนนี้เราไม่ได้อยู่ในสภาวะดอกเบี้ยต่ำขนาดนั้นอีกแล้วช่วงที่ดอกเบี้ยต่ำมากเวลาดัชนีหุ้นลงแรงแรงเช่น 20 ถึง 25% จากจุดสูงสุดมักจะมีการฟื้นตัวของดัชนีเร็วมากแต่รอบนี้ไม่ได้เป็นอย่างนั้นดัชนีก็ยังคงอยู่ในระดับล่างล่างไม่ได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วเพราะเราไม่ได้อยู่ใน สภาวะเงินล้นโลกไม่มีที่ไปอีกแล้ว  เรียกว่าเป็นการหมดรอบการสร้างเนื้อสร้างตัวยุคที่ดีที่สุดยุคหนึ่งของประวัติศาสตร์การลงทุนไปแล้วการลงทุนหลังจากนี้ไม่ควรคาดหวังผลตอบแทนสูงและไปอาศัยเครื่องมือที่มีความเสี่ยงทางการลงทุนเช่น margin block trade  การตั้งความหวังจากการลงทุนที่เหมาะสมคือการกระจายความเสี่ยงการไม่ใช้เครื่องมือในการเร่งผลตอบแทนและการหวังผลจากการลงทุนระยะยาวเช่นหลัก 10 ปีมากกว่าหวังสั้นสั้น

Monday, January 22, 2024

สรุปปิดปี 2566 กลุ่มธนาคาร ครบจบในที่เดียว by Solo Investor

 https://www.facebook.com/soloinvestor19


สรุปปิดปี 2566 กลุ่มธนาคาร ครบจบในที่เดียว by Solo Investor

หลังจากมีดราม่าดังตั้งแต่ต้นปี 2567
ที่มีการประเมินว่ากำไรรวมปี 2566 ของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น 220,000 ล้านบาท เติบโต +18.5% สูงสุดเป็นประวัติกาล (All Time high)...ในขณะที่ GDP เศรษฐกิจไทย ขยายตัวได้เพียง +1.8%...
และยิ่งไปถามคนชั้นกลางหรือคนรายได้น้อย ที่มีภาระหนี้สินสูง และมีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการขยับขึ้นดอกเบี้ยของ BOT ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนจำนวนมาก...
ยิ่งทำให้คนในสังคมตั้งคำถามกับ กับความเหมาะสมของนโยบายของอัตราดอกเบี้ย และกำไรที่ธนาคารได้รับ ว่าสูงเกินไปหรือไม่?
วันนี้แอด Solo Investor ถือโอกาสหลังจากไม่ได้เขียนเพจ FB มานาน มาสรุปและชี้ประเด็นที่สังคมยังไม่ทันสังเกตุ ของกลุ่มธนาคารกันครับ...
มีนักลงทุนระดับโลกเคยกล่าวว่า
"หากอยากรู้แนวโน้มเศรษฐกิจ ให้ดูผลประกอบการของกลุ่มธนาคาร..."
เพราะธนาคารประกอบไปด้วยลูกหนี้ ตั้งแต่รายย่อย ระดับหนี้เพียง 10,000 บาทไปจนถึง กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ระดับวงเงินกู้เป็น 10,000 ล้านบาท...
ซึ่งหากฟังเผินๆ ข้อเท็จจริงของผลประกอบการข้างต้น มันดูขัดแย้งกับสิ่งที่คนในสังคมกำลังประสบปัญหาอยู่อย่างชัดเจน "กำไรของคุณสูงขึ้น +18% ...แต่ทำไมพวกผมกำลังย่ำแย่ขนาดนี้..."
ดังนั้นการมองกลุ่มธนาคาร ต้องดู 4 มิติ สำคัญ คือ

1. ขนาดของพอร์ตสินเชื่อ <<< แสดงถึงขนาดของเศรษฐกิจ(GDP) ได้ดีที่สุด เพราะล้อไปตามความต้องการการใช้เงินทุน เพื่อเอาทำธุรกิจหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น การบริโภค ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์
แบงค์ = 2566 / 2565
(หน่วย ล้านบาท)
SCB = 2,426,563 / 2,377,214
BBL = 2,671,964 / 2,682,691
KBANK = 2,490,398 / 2,495,077
BAY = 2,017,204 / 1,949,409
TTB = 1,327,964 / 1,376,118
KTB = 2,577,131 / 2,593,370
Total = 13,511,224 / 13,473,879
ภาพรวมสินเชื่อ 6 Bank ใหญ่
ปล่อยกู้ เพิ่มขึ้นเพียง +37,345 ล้านบาท หรือ +0.28% เท่านั้น
...เทียบกับขนาดของเศรษฐกิจไทย (GDP) เติบโต +1.8% ถือว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
หากจะเทียบ แล้วเกิดความผิดปกติ จะต้องเป็น พอร์ตสินเชื่อธนาคารเติบโต +20% แต่เศรษฐกิจไทยเติบโตได้แค่ +2% เพราะหมายความว่า "เงิน" ที่ลูกหนี้ทุกประเภทยืมจาก Bank ไป ไม่สามารถช่วยขยายขนาดของเศรษฐกิจไทยได้นั่นเอง...
หรือในทางกลับกัน เช่น พอร์ตสินเชื่อธนาคารเติบโต +0.5% แต่เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ +7.5% ย่อมแสดงว่าแหล่งที่มาของ "เงิน" ที่เอามาขยายขนาดของเศรษฐกิจไทย อาจมาจากที่อื่น เช่น เปิดเสรีรับเงินกู้และเงินทุนจากต่างประเทศ เป็นต้น

2. ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินกู้ (NIM) <<< แสดงถึงกำไรขั้นต้น ที่ Bank จะได้รับจากการนำเงินฝากของประชาชนไปปล่อยกู้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับดราม่า อัตราดอกเบี้ย BOT โดยตรง
แบงค์ = 2566 / 2565
(หน่วย ล้านบาท)
SCB = 124,682 / 107,865
BBL = 130,860 / 102,223
KBANK = 148,444 / 132,998
BAY = 99,390 / 83,778
TTB = 57,207 / 51,617
KTB = 113,419 / 90,405
Total = 674,002 / 568,886
เพิ่มขึ้น +105,116 ล้านบาท หรือ +18.5% เทียบกับปีก่อน...
ซึ่งเรื่องนี้ BOT ต้องออกมารับผิดชอบโดยตรง
เพราะเป็นผู้ที่ขึ้นดอกเบี้ย นโยบาย +1.5% ภายใน 1 ปีที่ผ่านมา
โดยธนาคาร หลายแห่ง อาศัยจังหวะนี้
ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากเพียง +0.5 - 1.0%
แต่ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ +1.2 - 1.5%
ทำให้เกิดส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) มากขึ้น แม้จะเพียง 0.6-0.8% และฐานเงินให้สินเชื่อไม่ได้เพิ่มขึ้น
แต่เมื่อ คูณกับฐานเงินของเงินปล่อยกู้ระดับ 13.5 ล้านล้านบาท...
ย่อมทำให้ 6 Bank ใหญ่มีรายได้จากส่วนต่างนี้ เพิ่มขึ้นรวมกันเป็น 100,000 ลบ. ได้...
ดังนั้น BOT ไม่สามารถปฎิเสธ ความรับผิดชอบได้ในมิตินี้

3. ปริมาณ NPLs / ตั้งสำรอง <<< แสดงถึงความสามารถในการจ่ายหนี้ของลูกหนี้ ในกรณีที่คนเบี้ยวหนี้จำนวนมากขึ้น ยิ่งต้องตั้งสำรองหนี้นั้นๆ ซึ่งจะมีผลไปยังกำไรของ Bank
3.1 ปริมาณ NPLs <<< ปริมาณหนี้เสียที่ยังคงค้างใน Book ของธนาคาร แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนคนเบี้ยวหนี้ ณ เวลานั้นๆ
แบงค์ = 2566 / 2565
(หน่วย ล้านบาท)
SCB = 96,832 / 96,832
BBL = 85,955 / 97,188
KBANK = 94,241 / 92,536
BAY = 61,481 / 53,875
TTB = 41,006 / 41,707
KTB = 99,439 / 101,096
Total = 478,954 / 483,234
หรือ NPLs หดตัวเล็กน้อย -4,280 ลบ. หรือลดลง -0.89% แสดงว่า ธนาคารต่างๆ ได้มีการจัดการ NPLs เช่น ปรับโครงสร้างหนี้ , ขายหนี้เสีย หรืออื่นๆออกไป จนทำให้ปริมาณ NPLs สุทธิ ณ สิ้นปี ดูไม่เพิ่มขึ้น...
3.2 การตั้งสำรองฯ <<< สะท้อนการจัดการลูกหนี้ NPLs (ผลขาดทุนจากเงินกู้นั้นๆ) และการบริหารความเสี่ยงของธนาคารแต่ละแห่ง
แบงค์ = 2566 / 2565
(หน่วย ล้านบาท)
SCB = 43,600 / 33,829
BBL = 33,666 / 32,647
KBANK = 51,840 / 51,919
BAY = 35,617 / 26,652
TTB = 22,199 / 18,353
KTB = 37,085 / 24,338
Total = 224,007 / 187,738
หรือตั้งสำรองเพิ่มขึ้น +36,269 ลบ. หรือเพิ่ม +19.3%
ซึ่งเมื่อหนี้เสียเพิ่มขึ้น บ้าน-รถ โดนยึดมากขึ้น สอดคล้องกับสำรองในปีนี้ที่ตั้งสำรองไปกว่า 224,000 ลบ. สูงกว่าปีก่อน
และเราไม่อาจทราบได้ว่า bank ขายหนี้ออกไปแล้วจำนวนเท่าไหร่ในปีนี้ เพื่อเอา NPLs / สำรองฯ ออกไปจาก Book ของตัวเอง แต่จากข้อมูลพบว่าเอามูลหนี้ที่เอาออกมาขายกว่า 130,000 ล้านบาท...

4. แหล่งรายได้อื่นๆ ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย <<< อันนี้ไม่เกี่ยวกับ ดราม่าเรื่องดอกเบี้ย BOT แต่เป็นรายได้ที่ Bank ไปหามาจากแหล่งอื่นๆ เช่น เอาเงินไปลงทุนในพันธบัตร หรือหุ้นกู้ หรือเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ
แบงค์ = 2566 / 2565
(หน่วย ล้านบาท)
SCB = 46,421 / 46,555
BBL = 36,627 / 36,672
KBANK = 44,209 / 40,259
BAY = 39,558 / 32,638
TTB = 17,399 / 17,870
KTB = 36,046 / 34,986
Total = 220,260 / 208,980
แสดงว่าธนาคารมีรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น +11,280 ลบ. ซึ่งส่วนนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับ BOT ที่ขึ้นดอกเบี้ย
==============================

เมื่อเอาข้อมูลทั้ง 4 มิติ มากางบนโต๊ะ เราก็พอจะเห็นภาพว่า
- ขนาดของสินเชื่อเติบโตต่ำ สอดคล้องกับ GDP ไทยที่ขยายตัวต่ำ
- ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นจริง +18.4% หรือเพิ่มกว่า +105,000 ลบ. เพราะนโยบาย BOT ชี้นำ และ Bank ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก
- NPLs ทรงตัว (ซึ่งมาจากการปรับโครงสร้งหนี้ และขายหนี้ NPLs) และตั้งสำรองเพิ่มขึ้น +19.3% ตามที่เห็นในข่าวว่าบ้าน-รถ โดนยึดเพิ่มขึ้น
- รายได้อื่นของธนาคารเพิ่มขึ้น +11,280 ลบ. ซึ่งเป็นรายได้จากการลงทุนและค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นๆของธนาคาร
ดังนั้นกำไรสุทธิรวมของ 6 Bank ใหญ่
แบงค์ = 2566 / 2565
(หน่วย ล้านบาท)
SCB = 43,521 / 37,546
BBL = 41,636 / 29,306
KBANK = 42,405 / 35,770
BAY = 32,929 / 30,713
TTB = 18,462 / 14,195
KTB = 36,616 / 33,698
Total = 215,569 / 181,228
หรือเพิ่มขึ้น +34,341 ลบ. คิดเป็น +18% เทียบกับปีก่อน โดยมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่แอดเรียงมาให้ดูที่ละมิติ
ซึ่งแอดไม่ได้บอกว่า กำไรของกลุ่มธนาคาร 215,000 ล้านบาท เหมาะสมแล้ว
เพราะบางมิติก็เป็นช่องโหว่ ที่ฝ่ายกำกับดูแลและภาครัฐ อาจเข้าไปควบคุมเพิ่มเติมได้
ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น หุ้นกลุ่มธนาคาร ย่อมได้รับประโยชน์จากส่วนต่างดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ตามวัฎจักรของธุรกิจประเภทนี้(และเป็นแบบนี้ทั้งไทยและต่างประเทศ)...
แต่สิ่งที่คนในสังคมตั้งคำถาม คือ ความเหมาะสมของ BOT ที่ขึ้นดอกเบี้ยนโบาย +1.5% ภายใน 1 ปี จนทำให้ลูกหนี้จำนวนมากได้รับผลกระทบในการชำระหนี้ และส่งผลทางอ้อมไปยังความเข้มงวดในการปล่อยกู้ของธนาคาร...
และที่น่าห่วงยิ่งกว่านั้น และคนในสังคมยังมองไม่เห็น
คือ ขนาดของพอร์ตสินเชื่อของธนาคาร 6 แห่ง ที่ขยายตัวได้แค่ +0.28% เทียบกับปี 2565 และหลายแห่งขนาดของสินเชื่อหดตัวลง สะท้อนว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจไทยกำลังมีปัญหา ( คนกู้ไม่ได้ / ธุรกิจไม่กล้ากู้ / แบงค์ไม่ปล่อยกู้ )
การหวังว่าเศรษฐกิจ (GDP) จะเจริญเติบโตได้ +5-6% ต่อปี ไม่สามารถทำได้ หากขนาดของพอร์ตสินเชื่อของธนาคารเติบโตเพียง +0.5% ต่อปี (ยกเว้นว่า รัฐเปิดเสรีเงินทุน/เงินกู้ต่างประเทศ)
เพราะทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต้องใช้ "เงินทุน"
เมื่อไม่มีทุนส่วนตัว ก็ต้องหา "เงินกู้ยืม" หรือหา "ผู้ร่วมลงทุน" ...ซึ่งวันนี้ยังไม่เห็นภาพ ว่าปี 2567 จะเป็นอย่างไรต่อไป...
แอดขอสรุปของกลุ่มธนาคารไทย ไว้เพียงเท่านี้ หวังว่าจะเพิ่มความกระจ่างมากขึ้นให้กับแฟนเพจและผู้สนใจทุกท่านครับ :3

Sunday, January 7, 2024

Set status as of Jan 05, 2024

 Set status as of Jan 05, 2024

SET Index = 1427  PE = 18.55  (Thai Government 10 year Bond = 3.1% as per   Nov 2023)
Yield Gap =   2.29%

 Billy B. =  BEAR**



SET  1380   -->  1427  (+3%)  


------------------------------------------------------
My Stock
SCAP                          +3% 

Sawad                        -6%

-------------------------------------------------------



Weekly Winner and Loser
2-5 Jan 2024