Thursday, June 29, 2023

การลงบัญชี กลุ่ม AMC by Solo Investor

 การลงบัญชี กลุ่ม AMC by Solo Investor

https://www.facebook.com/search/top?q=solo%20investor

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

----------------------------  Secured Loan ---------------------------------------------------

----------------------------------------------------------------------------------------------

ในกรณีของ บริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) แห่งนึง...มีคนกังวลเกี่ยวกับบริษัท C ที่รับรู้รายได้ โดยยังไม่สามารถเก็บเงินสด ทำให้รายได้ที่เคยรับรู้มาแล้ว 4-5 ปี อาจต้องตั้งสำรองผลขาดทุน (ECL) และส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัท C ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง...
...จากนั้นไม่นานคนทั่วไป และนักวิเคราะห์ ก็คิดกันไปเองว่าบริษัทอื่นๆในกลุ่มอุตสาหกรรม อาจมีงบการเงินที่ไม่น่าจะดีเช่นเดียวกัน จนเกิดการ Panic ขายหุ้นตัวอื่นๆจนราคาตกลงมาด้วย
ทั้งที่ข้อเท็จจริง ในแต่ละบริษัท ต่างใช้วิธีการบันทึกบัญชีที่แตกต่างกัน...
นับเป็นตัวอย่างความเข้าใจผิดในงบการเงิน…ที่ไม่มีใครเคยบอกคุณ...ดังนี้
บริษัทบริหารสินทรัพย์
ลงทุนในลูกหนี้ Secured Loan
เงินลงทุน 100
หลักประกัน 200 ขายได้ 150 (75% ของหลักประกัน)
รับรู้รายได้ 10% ต่อปี
ปีที่ 1-4 เก็บเงินไม่ได้
ปีที่ 5 เก็บเงินได้ 150
งบบริษัท C.......
รายได้ / ยอดจัดเก็บเงินสด / ECL / กำไรในงบ และ ต้นทุนคงเหลือ / ดอกเบี้ยค้างรับ / ECL สะสม
2555 = 10 / 0 / 0 / 10 และ 100 / 10 / 0
2556 = 10 / 0 / 0 / 10 และ 100 / 20 / 0
2557 = 10 / 0 / 0 / 10 และ 100 / 30 / 0
2558 = 10 / 0 / 0 / 10 และ 100 / 40 / 0
2559 = 10 / 150 / 0 / 10 และ 0 / 0 / 0
ความเสี่ยงที่คนกังวลของบริษัทนี้ คือ หากระยะเวลาที่ใช้กลายเป็น 6 - 7 ปี บริษัท C…. จะต้องตั้งสำรองในปีที่ 5 ทันที
เนื่องจาก อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจะไม่ใช่ 10% ต่อปีอีกแล้ว โดยอาจเหลือ 7-8% ต่อปี ดังนั้นรายได้ที่เคยรับรู้ไปแล้ว จะต้องตั้งสำรองก้อนใหญ่ก้อนนึงเพื่อให้งบการเงินสะท้อนคุณภาพของ Financial Asset ชิ้นนี้

งบบริษัท B.......
รายได้ / ยอดจัดเก็บเงินสด / ECL / กำไรในงบ และ ต้นทุนคงเหลือ / ดอกเบี้ยค้างรับ / ECL สะสม
2555 = 10 / 0 / -10 / 0 และ 100 / 10 / -10
2556 = 10 / 0 / -10 / 0 และ 100 / 20 / -20
2557 = 10 / 0 / -10 / 0 และ 100 / 30 / -30
2558 = 10 / 0 / -10 / 0 และ 100 / 40 / -40
2559 = 10 / 150 / +40 / 50 และ 0 / 0 / 0
ในกรณีเดียวกัน แต่กำไรในงบของบริษัท B จะเกิดเฉพาะปีที่ 5 เท่านั้น...และหากระยะเวลาที่ใช้กลายเป็น 6 - 7 ปี บริษัท B.... จะต้องสำรองแค่ส่วนของรายได้ดอกเบี้ยในปีที่ 6-7 จนกว่าจะได้เงินสด
ซึ่งกำไรก็จะบวมขึ้นมาในปีที่ได้รับเงินสดเป็นกำไรก้อนใหญ่

งบบริษัท K.......
รายได้ / ยอดจัดเก็บเงินสด / ECL / กำไรในงบ และ ต้นทุนคงเหลือ / ดอกเบี้ยค้างรับ / ECL สะสม
2555 = 10 / 0 / -5 / 5 และ 100 / 10 / -5
2556 = 10 / 0 / -5 / 5 และ 100 / 20 / -10
2557 = 10 / 0 / -5 / 5 และ 100 / 30 / -15
2558 = 10 / 0 / -5 / 5 และ 100 / 40 / -20
2559 = 10 / 150 / +20 / 30 และ 0 / 0 / 0
ทำให้กำไรจะปูดเป็นก้อนคล้ายๆ บริษัท B…. แต่ไม่ได้ปูดเท่า และมีกำไรระหว่างปีที่คล้ายๆ บริษัท C…. แต่กำไรระหว่างทางไม่ได้มากเท่า
ซึ่งแลกมาพร้อมกับความเสี่ยงที่น้อยกว่าในกรณีที่ทำไม่ได้ภายใน 5 ปี เพราะมีการตั้งค่าเผื่อไประหว่างทางบ้างแล้ว
========================================
ดังนั้นจะเห็นว่างบ 3 บริษัท แม้จะมีลักษณะธุรกิจเดียวกัน คือ
✓ ลงทุนในหนี้ Secured Loan
✓ มีหลักประกันตั้งใกล้กัน
✓ มีมูลหนี้เท่ากัน
✓ และขายได้ภายใน 5 ปีเหมือนกัน
แต่คนทั่วๆไปที่อ่านงบการเงิน อาจเข้าใจผิดได้ง่ายมาก ในการคำนวน Valuation ของบริษัท
ดังนั้นประเด็นความเสี่ยงที่มีความกังวลในบริษัท C.....
ที่จะโดนตั้งสำรองเยอะในปีที่ 5
จึงไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทอื่นๆที่เป็นธุรกิจเดียวกันแม้แต่นิดเดียว...
ดังนั้นคนทั่วไปและนักวิเคราะห์บางคน อาจโดนข่าวสาร หรือข้อมูลหลอกได้ง่ายๆ จากงบการเงิน โดยการเอางบของบริษัทนึงไปเทียบกับอีกบริษัทนึง
ซึ่งอาจทำให้เราเสียโอกาสในการลงทุน หรือเกิดความเสี่ยง(โดยไม่รู้ตัว)ในการประเมิน Valuation ของบริษัท
นี้เป็นเพียงตัวอย่างความเข้าใจผิดง่ายๆ ในงบการเงิน…ที่ไม่มีใครเคยบอกคุณ




---------------------------------------------------------------------------------------------------------

----------------------------  Unsecured Loan ------------------------------------------------

----------------------------------------------------------------------------------------------


หลักการรับรู้รายได้ Unsecured ของทุกบริษัท
ซื้อหนี้มา 100
มูลหนี้ 1000
ผลตอบแทน 10% ต่อปี
การจัดเก็บใช้ 5 ปีจบอายุ
ดังนั้นคาดว่าจะเก็บได้ปีละ 30
หรือคิดเป็น Cash Collection Rate 3% ต่อปี หรือ เดือนละ 0.25% ของมูลหนี้

สิ่งที่เกิดในงบ JMT / CHAYO / CHASE แบบอุดมคติ
รายได้ / ยอดจัดเก็บเงินสด / ECL / กำไรในงบ และ ต้นทุนคงเหลือ / ดอกเบี้ยค้างรับ / ECL สะสม
2555 = 10 / 30 / 0 / 10 และ 80 / 0 / 0
2556 = 8 / 30 / 0 / 8 และ 58 / 0 / 0
2557 = 5.8 / 30 / 0 / 5.8 และ 33.8 / 0 / 0
2558 = 3.4 / 30 / 0 / 3.4 และ 7.2 / 0 / 0
2559 = 0.7 / 30 / 0 / 22.8 และ 0 / 0 / 0

ทำให้เบ็ดเสร็จ จะมีกำไรจาก Financial Asset ชิ้นนี้ = 10 + 8 + 5.8 + 3.4 + 22.8 = 50 บาท ตรงตามที่บริษัทคาดการณ์

ความเสี่ยงของธุรกิจ Unsecured มี 2 อย่าง คือ
1. ตั้ง IRR ผิดตั้งแต่ต้น (จากการวางระยะเวลานานเกินไป และตั้ง Cash Collection สูงไป)
2. ตั้งสมมติฐาน Cash Collection สูงเกินไป



จากตัวอย่างด้านบน
ผมเปลี่ยนเฉพาะ IRR จาก 10% เป็น 20%
สิ่งที่เกิดในงบแบบอุดมคติ
รายได้ / ยอดจัดเก็บเงินสด / ECL / กำไรในงบ และ ต้นทุนคงเหลือ / ดอกเบี้ยค้างรับ / ECL สะสม
2555 = 20 / 30 / 0 / 20 และ 90 / 0 / 0
2556 = 18 / 30 / 0 / 18 และ 78 / 0 / 0
2557 = 15.6 / 30 / 0 / 15.6 และ 63.6 / 0 / 0
2558 = 12.7 / 30 / 0 / 12.7 และ 46.3 / 0 / 0
2559 = 9.3 / 30 / 0 / 9.3 และ 25.6 / 0 / 0
เมื่อเป็นแบบนี้ สิ่งที่คุณ Enjoy กำไรเกินจริง มาตั้งแต่ปีแรกๆ จะต้องถูกลบล้าง ณ สิ้นปีที่ 5 คือ ตั้งสำรอง -25.6 ลบ. ทันที เพราะบริษัททำได้จริง ไม่ตรงกับสมมติฐานที่บริษัทตั้งไว้
และหากนับตาม Cash Basis แล้ว ยอดจัดเก็บที่คุณทำได้ คือ 150 จากต้นทุน 100 ดังนั้นกำไรของ Financial Asset ชิ้นนี้ควรอยู่ที่ = 150 - 100 = 50 บาท ไม่ใช่กำไร 75.6 นั่นเอง....ดังนั้นกำไรที่รับรู้เกินจริงไป 25.6 ลบ. จะต้องล้างทิ้งทั้งหมด

จากตัวอย่างแรก
ผมเปลี่ยนเฉพาะ ยอดจัดเก็บจากปีละ 30 เป็น 25
สิ่งที่เกิดในงบแบบอุดมคติ
รายได้ / ยอดจัดเก็บเงินสด / ECL / กำไรในงบ และ ต้นทุนคงเหลือ / ดอกเบี้ยค้างรับ / ECL สะสม
2555 = 10 / 25 / 0 / 10 และ 85 / 0 / 0
2556 = 8.5 / 25 / 0 / 8.5 และ 68.5 / 0 / 0
2557 = 6.9 / 25 / 0 / 6.9 และ 50.4 / 0 / 0
2558 = 5.1 / 25 / 0 / 5.1 และ 30.5 / 0 / 0
2559 = 3.1 / 25 / 0 / 3.1 และ 8.6 / 0 / 0

ในกรณีนี้ก็เช่นกัน เมื่อจบปีที่ 5 ยังเหลือเงินลงทุนค้างอยู่ 8.6 ลบ. ซึ่งตามหลักจะต้องตั้งสำรองทิ้งทั้งหมด เพราะหากนับตาม CASH Basis แล้ว ยอดจัดเก็บคุณทำได้ 125 จากต้นทุน 100 ดังนั้นกำไร = 125 - 100 = 25 บาท นั่นเอง....การที่คุณรับรู้กำไรไประหว่างทาง 33.6 จึงไม่ถูกต้อง และต้องตั้งสำรองล้างส่วนต่าง – 8.6 ลบ. ทิ้งทันที


อย่างไรก็ตาม ที่ผมบอกในตัวอย่าง 3 กรณี คือ แบบอุดมคติ ที่ไม่มีการตั้ง ECL ระหว่างทางเลยสักบาทเดียว แต่ในความเป็นจริง ECL จะต้องตั้งไว้ระหว่างทางแล้ว ไม่ว่าจะในกรณีที่ 2 หรือ 3 เพราะทุกไตรมาสหรือทุกปี บริษัท และ Auditor จะต้องมานั่งรีวิวสมมติฐานกัน
หากเห็นว่า Cash Collection Rate จะไม่ใช่ 3% ต่อปี หรือ 0.25% ต่อเดือนอีกต่อไป...เช่นอาจกลายเป็น 2% ต่อปี ก็จะต้อง Plot Expected Cash ในอนาคตที่เหลือ แล้วคิด PV ย้อนกลับมา เทียบกับ Book ก็จะเกิดสำรองสะสมขึ้นใน Financial Asset ชิ้นนั้นๆครับ


ปัญหา ของกลุ่ม Unsecured ที่เราไม่รู้ คือ

1. บางบริษัทเอา กระเป๋าซ้าย เข้ากระเป๋าขวา หมายถึง การเอาบริษัทอื่นๆในเครือ มาปล่อนกู้ให้ลูกหนี้ NPL เพื่อมาปิดบัญชีกับบริษัท AMC ซึ่งเป็นการปั้น Cash Collection ให้ยังอยู่ในกรอบตามกรณีที่ 1 (หรืออาจเกินกว่ากรอบ) เพื่อให้บันทึกกำไรในงบ AMC และเป็นหนี้เสียในงบบริษัทอื่นๆ

2. ราคาซื้อปัจจุบันไม่เหมือนในอดีต จากแต่ก่อนซื้อหนี้ 4-5% ของมูลหนี้ ปัจจุบันอาจไป 6-10% ซึ่งการใช้สถิติเดิมทั้งเรื่อง IRR และ Cash Collection Rate ในอดีตอาจไม่ถูกต้องอีกต่อไป ซึ่งตามจริง เมื่อต้นทุนสูงขึ้น AMC ที่ดีควรจะต้องลด Expected IRR ลงให้สะท้อนกับต้นทุนของ Financial Asset ชิ้นนั้นๆ


เท่าที่ผมทราบคร่าวก็ประมาณนี้ครับ ลองเอาไปถามแต่ละบริษัทดูว่าใช่ไหม และมีบริษัทไหนมีพฤติกรรมแบบที่ผมกล่าวข้างต้นหรือไม่

No comments:

Post a Comment