Thursday, June 29, 2023

การลงบัญชี กลุ่ม AMC by Solo Investor

 การลงบัญชี กลุ่ม AMC by Solo Investor

https://www.facebook.com/search/top?q=solo%20investor

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

----------------------------  Secured Loan ---------------------------------------------------

----------------------------------------------------------------------------------------------

ในกรณีของ บริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) แห่งนึง...มีคนกังวลเกี่ยวกับบริษัท C ที่รับรู้รายได้ โดยยังไม่สามารถเก็บเงินสด ทำให้รายได้ที่เคยรับรู้มาแล้ว 4-5 ปี อาจต้องตั้งสำรองผลขาดทุน (ECL) และส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัท C ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง...
...จากนั้นไม่นานคนทั่วไป และนักวิเคราะห์ ก็คิดกันไปเองว่าบริษัทอื่นๆในกลุ่มอุตสาหกรรม อาจมีงบการเงินที่ไม่น่าจะดีเช่นเดียวกัน จนเกิดการ Panic ขายหุ้นตัวอื่นๆจนราคาตกลงมาด้วย
ทั้งที่ข้อเท็จจริง ในแต่ละบริษัท ต่างใช้วิธีการบันทึกบัญชีที่แตกต่างกัน...
นับเป็นตัวอย่างความเข้าใจผิดในงบการเงิน…ที่ไม่มีใครเคยบอกคุณ...ดังนี้
บริษัทบริหารสินทรัพย์
ลงทุนในลูกหนี้ Secured Loan
เงินลงทุน 100
หลักประกัน 200 ขายได้ 150 (75% ของหลักประกัน)
รับรู้รายได้ 10% ต่อปี
ปีที่ 1-4 เก็บเงินไม่ได้
ปีที่ 5 เก็บเงินได้ 150
งบบริษัท C.......
รายได้ / ยอดจัดเก็บเงินสด / ECL / กำไรในงบ และ ต้นทุนคงเหลือ / ดอกเบี้ยค้างรับ / ECL สะสม
2555 = 10 / 0 / 0 / 10 และ 100 / 10 / 0
2556 = 10 / 0 / 0 / 10 และ 100 / 20 / 0
2557 = 10 / 0 / 0 / 10 และ 100 / 30 / 0
2558 = 10 / 0 / 0 / 10 และ 100 / 40 / 0
2559 = 10 / 150 / 0 / 10 และ 0 / 0 / 0
ความเสี่ยงที่คนกังวลของบริษัทนี้ คือ หากระยะเวลาที่ใช้กลายเป็น 6 - 7 ปี บริษัท C…. จะต้องตั้งสำรองในปีที่ 5 ทันที
เนื่องจาก อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจะไม่ใช่ 10% ต่อปีอีกแล้ว โดยอาจเหลือ 7-8% ต่อปี ดังนั้นรายได้ที่เคยรับรู้ไปแล้ว จะต้องตั้งสำรองก้อนใหญ่ก้อนนึงเพื่อให้งบการเงินสะท้อนคุณภาพของ Financial Asset ชิ้นนี้

งบบริษัท B.......
รายได้ / ยอดจัดเก็บเงินสด / ECL / กำไรในงบ และ ต้นทุนคงเหลือ / ดอกเบี้ยค้างรับ / ECL สะสม
2555 = 10 / 0 / -10 / 0 และ 100 / 10 / -10
2556 = 10 / 0 / -10 / 0 และ 100 / 20 / -20
2557 = 10 / 0 / -10 / 0 และ 100 / 30 / -30
2558 = 10 / 0 / -10 / 0 และ 100 / 40 / -40
2559 = 10 / 150 / +40 / 50 และ 0 / 0 / 0
ในกรณีเดียวกัน แต่กำไรในงบของบริษัท B จะเกิดเฉพาะปีที่ 5 เท่านั้น...และหากระยะเวลาที่ใช้กลายเป็น 6 - 7 ปี บริษัท B.... จะต้องสำรองแค่ส่วนของรายได้ดอกเบี้ยในปีที่ 6-7 จนกว่าจะได้เงินสด
ซึ่งกำไรก็จะบวมขึ้นมาในปีที่ได้รับเงินสดเป็นกำไรก้อนใหญ่

งบบริษัท K.......
รายได้ / ยอดจัดเก็บเงินสด / ECL / กำไรในงบ และ ต้นทุนคงเหลือ / ดอกเบี้ยค้างรับ / ECL สะสม
2555 = 10 / 0 / -5 / 5 และ 100 / 10 / -5
2556 = 10 / 0 / -5 / 5 และ 100 / 20 / -10
2557 = 10 / 0 / -5 / 5 และ 100 / 30 / -15
2558 = 10 / 0 / -5 / 5 และ 100 / 40 / -20
2559 = 10 / 150 / +20 / 30 และ 0 / 0 / 0
ทำให้กำไรจะปูดเป็นก้อนคล้ายๆ บริษัท B…. แต่ไม่ได้ปูดเท่า และมีกำไรระหว่างปีที่คล้ายๆ บริษัท C…. แต่กำไรระหว่างทางไม่ได้มากเท่า
ซึ่งแลกมาพร้อมกับความเสี่ยงที่น้อยกว่าในกรณีที่ทำไม่ได้ภายใน 5 ปี เพราะมีการตั้งค่าเผื่อไประหว่างทางบ้างแล้ว
========================================
ดังนั้นจะเห็นว่างบ 3 บริษัท แม้จะมีลักษณะธุรกิจเดียวกัน คือ
✓ ลงทุนในหนี้ Secured Loan
✓ มีหลักประกันตั้งใกล้กัน
✓ มีมูลหนี้เท่ากัน
✓ และขายได้ภายใน 5 ปีเหมือนกัน
แต่คนทั่วๆไปที่อ่านงบการเงิน อาจเข้าใจผิดได้ง่ายมาก ในการคำนวน Valuation ของบริษัท
ดังนั้นประเด็นความเสี่ยงที่มีความกังวลในบริษัท C.....
ที่จะโดนตั้งสำรองเยอะในปีที่ 5
จึงไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทอื่นๆที่เป็นธุรกิจเดียวกันแม้แต่นิดเดียว...
ดังนั้นคนทั่วไปและนักวิเคราะห์บางคน อาจโดนข่าวสาร หรือข้อมูลหลอกได้ง่ายๆ จากงบการเงิน โดยการเอางบของบริษัทนึงไปเทียบกับอีกบริษัทนึง
ซึ่งอาจทำให้เราเสียโอกาสในการลงทุน หรือเกิดความเสี่ยง(โดยไม่รู้ตัว)ในการประเมิน Valuation ของบริษัท
นี้เป็นเพียงตัวอย่างความเข้าใจผิดง่ายๆ ในงบการเงิน…ที่ไม่มีใครเคยบอกคุณ




---------------------------------------------------------------------------------------------------------

----------------------------  Unsecured Loan ------------------------------------------------

----------------------------------------------------------------------------------------------


หลักการรับรู้รายได้ Unsecured ของทุกบริษัท
ซื้อหนี้มา 100
มูลหนี้ 1000
ผลตอบแทน 10% ต่อปี
การจัดเก็บใช้ 5 ปีจบอายุ
ดังนั้นคาดว่าจะเก็บได้ปีละ 30
หรือคิดเป็น Cash Collection Rate 3% ต่อปี หรือ เดือนละ 0.25% ของมูลหนี้

สิ่งที่เกิดในงบ JMT / CHAYO / CHASE แบบอุดมคติ
รายได้ / ยอดจัดเก็บเงินสด / ECL / กำไรในงบ และ ต้นทุนคงเหลือ / ดอกเบี้ยค้างรับ / ECL สะสม
2555 = 10 / 30 / 0 / 10 และ 80 / 0 / 0
2556 = 8 / 30 / 0 / 8 และ 58 / 0 / 0
2557 = 5.8 / 30 / 0 / 5.8 และ 33.8 / 0 / 0
2558 = 3.4 / 30 / 0 / 3.4 และ 7.2 / 0 / 0
2559 = 0.7 / 30 / 0 / 22.8 และ 0 / 0 / 0

ทำให้เบ็ดเสร็จ จะมีกำไรจาก Financial Asset ชิ้นนี้ = 10 + 8 + 5.8 + 3.4 + 22.8 = 50 บาท ตรงตามที่บริษัทคาดการณ์

ความเสี่ยงของธุรกิจ Unsecured มี 2 อย่าง คือ
1. ตั้ง IRR ผิดตั้งแต่ต้น (จากการวางระยะเวลานานเกินไป และตั้ง Cash Collection สูงไป)
2. ตั้งสมมติฐาน Cash Collection สูงเกินไป



จากตัวอย่างด้านบน
ผมเปลี่ยนเฉพาะ IRR จาก 10% เป็น 20%
สิ่งที่เกิดในงบแบบอุดมคติ
รายได้ / ยอดจัดเก็บเงินสด / ECL / กำไรในงบ และ ต้นทุนคงเหลือ / ดอกเบี้ยค้างรับ / ECL สะสม
2555 = 20 / 30 / 0 / 20 และ 90 / 0 / 0
2556 = 18 / 30 / 0 / 18 และ 78 / 0 / 0
2557 = 15.6 / 30 / 0 / 15.6 และ 63.6 / 0 / 0
2558 = 12.7 / 30 / 0 / 12.7 และ 46.3 / 0 / 0
2559 = 9.3 / 30 / 0 / 9.3 และ 25.6 / 0 / 0
เมื่อเป็นแบบนี้ สิ่งที่คุณ Enjoy กำไรเกินจริง มาตั้งแต่ปีแรกๆ จะต้องถูกลบล้าง ณ สิ้นปีที่ 5 คือ ตั้งสำรอง -25.6 ลบ. ทันที เพราะบริษัททำได้จริง ไม่ตรงกับสมมติฐานที่บริษัทตั้งไว้
และหากนับตาม Cash Basis แล้ว ยอดจัดเก็บที่คุณทำได้ คือ 150 จากต้นทุน 100 ดังนั้นกำไรของ Financial Asset ชิ้นนี้ควรอยู่ที่ = 150 - 100 = 50 บาท ไม่ใช่กำไร 75.6 นั่นเอง....ดังนั้นกำไรที่รับรู้เกินจริงไป 25.6 ลบ. จะต้องล้างทิ้งทั้งหมด

จากตัวอย่างแรก
ผมเปลี่ยนเฉพาะ ยอดจัดเก็บจากปีละ 30 เป็น 25
สิ่งที่เกิดในงบแบบอุดมคติ
รายได้ / ยอดจัดเก็บเงินสด / ECL / กำไรในงบ และ ต้นทุนคงเหลือ / ดอกเบี้ยค้างรับ / ECL สะสม
2555 = 10 / 25 / 0 / 10 และ 85 / 0 / 0
2556 = 8.5 / 25 / 0 / 8.5 และ 68.5 / 0 / 0
2557 = 6.9 / 25 / 0 / 6.9 และ 50.4 / 0 / 0
2558 = 5.1 / 25 / 0 / 5.1 และ 30.5 / 0 / 0
2559 = 3.1 / 25 / 0 / 3.1 และ 8.6 / 0 / 0

ในกรณีนี้ก็เช่นกัน เมื่อจบปีที่ 5 ยังเหลือเงินลงทุนค้างอยู่ 8.6 ลบ. ซึ่งตามหลักจะต้องตั้งสำรองทิ้งทั้งหมด เพราะหากนับตาม CASH Basis แล้ว ยอดจัดเก็บคุณทำได้ 125 จากต้นทุน 100 ดังนั้นกำไร = 125 - 100 = 25 บาท นั่นเอง....การที่คุณรับรู้กำไรไประหว่างทาง 33.6 จึงไม่ถูกต้อง และต้องตั้งสำรองล้างส่วนต่าง – 8.6 ลบ. ทิ้งทันที


อย่างไรก็ตาม ที่ผมบอกในตัวอย่าง 3 กรณี คือ แบบอุดมคติ ที่ไม่มีการตั้ง ECL ระหว่างทางเลยสักบาทเดียว แต่ในความเป็นจริง ECL จะต้องตั้งไว้ระหว่างทางแล้ว ไม่ว่าจะในกรณีที่ 2 หรือ 3 เพราะทุกไตรมาสหรือทุกปี บริษัท และ Auditor จะต้องมานั่งรีวิวสมมติฐานกัน
หากเห็นว่า Cash Collection Rate จะไม่ใช่ 3% ต่อปี หรือ 0.25% ต่อเดือนอีกต่อไป...เช่นอาจกลายเป็น 2% ต่อปี ก็จะต้อง Plot Expected Cash ในอนาคตที่เหลือ แล้วคิด PV ย้อนกลับมา เทียบกับ Book ก็จะเกิดสำรองสะสมขึ้นใน Financial Asset ชิ้นนั้นๆครับ


ปัญหา ของกลุ่ม Unsecured ที่เราไม่รู้ คือ

1. บางบริษัทเอา กระเป๋าซ้าย เข้ากระเป๋าขวา หมายถึง การเอาบริษัทอื่นๆในเครือ มาปล่อนกู้ให้ลูกหนี้ NPL เพื่อมาปิดบัญชีกับบริษัท AMC ซึ่งเป็นการปั้น Cash Collection ให้ยังอยู่ในกรอบตามกรณีที่ 1 (หรืออาจเกินกว่ากรอบ) เพื่อให้บันทึกกำไรในงบ AMC และเป็นหนี้เสียในงบบริษัทอื่นๆ

2. ราคาซื้อปัจจุบันไม่เหมือนในอดีต จากแต่ก่อนซื้อหนี้ 4-5% ของมูลหนี้ ปัจจุบันอาจไป 6-10% ซึ่งการใช้สถิติเดิมทั้งเรื่อง IRR และ Cash Collection Rate ในอดีตอาจไม่ถูกต้องอีกต่อไป ซึ่งตามจริง เมื่อต้นทุนสูงขึ้น AMC ที่ดีควรจะต้องลด Expected IRR ลงให้สะท้อนกับต้นทุนของ Financial Asset ชิ้นนั้นๆ


เท่าที่ผมทราบคร่าวก็ประมาณนี้ครับ ลองเอาไปถามแต่ละบริษัทดูว่าใช่ไหม และมีบริษัทไหนมีพฤติกรรมแบบที่ผมกล่าวข้างต้นหรือไม่

Monday, June 26, 2023

ธุรกิจ Non-bank (โดย เพจ ซั่มหุ้น) as of June 2023

 ธุรกิจ Non-bank (โดย เพจ ซั่มหุ้น) as of June 2023


ภาพอุตสาหกรรม สินเชื่อในประเทศไทย เติบโต จาก ปี 2550-2565 โต 8.6%ต่อปี
1. ภาคธนาคารและสถาบันการเงิน คิดเป็น 70%
2. สหกรณ์ออมทรัพย์ 15%
3. Non Bank 12%

สินเชื่อ Non Bank ภายใต้การกำกับของ BOT ปรับตัวขึ้นเป็น 5แสนล้านบาท ในเดือน เมษายน 2566
แบ่งเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีรถเป็นประกัน 2แสนล้านบาท (CAGR 42% ใน4ปี)
และ สินเชื่อส่วนบุคคลไม่รวมที่มีรถเป็นประกัน 3 แสนล้านบาท (CAGR 10% ใน4ปี)

สาเหตุที่สินเชื่อจำนำทะเบียน เติบโตสูงมากมาจาก
สัดส่วนคนที่มีบัญชีธนาคารและได้รับสินเชื่อจากธนาคาร มีแค่ 20%

ส่วนอีก 61% (40ล้านคน) ไม่ได้รับสินเชื่อจากธนาคาร --> เลยไปกู้เงินนอกระบบ
สินเชื่อนอกระบบ จากบทวิเคราะห์ โอลิเวร์ ไวแมน มีจำนวนกว่า 1 ล้านล้านบาท เป็นโอกาสให้Non Bank
ปล่อยสินเชื่อกลุ่มนี้

อีก 18% ไม่มีบัญชีธนาคาร


----------------------------------------------------------------------------------

หุ้นในกลุ่มจำนำทะเบียน

1.MTC พอร์ตหลักคือจำนำทะเบียน เน้นรถจักรยานและรถยนต์ Coverage ratioค่อนข้างต่ำเพราะมีสินทรัพย์เป็นหลักประกัน
2.SAWAD มี3ประเภท คือ จำนำทะเบียน บ้านและโฉนดที่ดิน และ เช่าซื้อรถจักรยานยนต์
3.TIDLOR พอร์ตหลักคือ จำนำทะเบียน และเช่าซื้อรถบรรทุกมือสอง
ปัจจุบัน จำนำทะเบียนเจ้าใหญ่กิน Market share รวมอยู่ที่ 38% ของตลาดทั้งหมด (2562)

4.SAK พอร์ตหลัก จำนำทะเบียนรถยนต์ และ รถการเกษตร เน้นรถกระบะ รถเพื่อการเกษตร มอเตอร์ไซด์
5.HENG พอร์ตสินเชื่อแบบ Hybrid แบ่งเป็น เช่าซื้อรถยนต์ และ จำนำทะเบียน อย่างละครึ่ง หลังๆจำนำทะเบียนเริ่มมากขี้น เน้นลูกค้า พ่อค้า แม่ค้า รายได้แน่นอน
6.AMANAH เดิมเช่าซื้อ เริ่มเปลี่ยนเป็นจำนำทะเบียน เน้นการrefinance จากสถาบันการเงินอื่น


หุ้นในกลุ่มเช่าซื้อรถบรรทุก

1.ASK เช่าซื้อรถบรรทุกมือ1,2
2.THANI เช่าซื้อรถบรรทุกมือ1,2
3.MICRO เช่าซื้อรถบรรทุกมือ2 เป็นส่วนใหญ่ และเช่าซื้อรถจักรยานยนต์


หุ้นในกลุ่มเช่าซื้อรถจักรยานยนต์

1.SCAP(BFIT) เช่าซื้อรถจักรยานยนต์
2.NCAP เช่าซื้อรถจักรยานยนต์
3.TK เช่าซื้อรถจักรยานยนต์
4.S11 เช่าซื้อรถจักรยานยนต์

----------------------------------------------------------------------------

- ณ ปัจจุบันแนวโน้ม NPL ยังไม่ได้ดีขึ้นมากนัก เป็นภาพของ NPL ที่ขึ้นอย่างชะลอตัวมากกว่า

- ภาพของกลุ่มนี้กำลังอยู่ในจุด Market consolidation คือรายใหญ่จะกิน Market share ได้ต่อเนื่อง เพราะมีข้อได้เปรียบหลายอย่าง เช่น ต้นทุนการเงินต่ำกว่า / การขยายสาขายึดหัวหาด / แบรนด์ที่ลูกค้าเชื่อถือมากกว่า

- ปัจจุบัน จำนำทะเบียนเจ้าใหญ่กิน Market share รวมอยู่ที่ 50% ของตลาดทั้งหมด

- ธุรกิจเช่าซื้อมอเตอร์ไซด์กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จาก Market conduct ของ ธปท. ที่มีการกำหนดเพดานดอกเบี้ยไม่เกิน 23% จากแต่ก่อนที่ธุรกิจนี้เก็บกัน 30-40% ทำให้รายเล็กที่ไม่สามารถรับแรงกดดันได้ต้องออกจากตลาดไป และรายใหญ่ได้ Market share เพิ่มขึ้น แต่ความสามารถในการทำกำไรคงไม่ได้ดีเหมือนเดิม เพราะ NIM ลดลง (ตอนนี้ภาพที่เกิดขึ้นแล้วคือ SCAP กำลังขยายพอร์ตและมีการแย่งบุคลากรจากคู่แข่งอย่าง TK และ NCAP ที่กำลังลำบาก)


- หลักการดูหุ้น Non-bank มีทั้งหมด 5 ข้อ ได้แก่
1. Loan growth
2. NIM (Yield และ Cost Of Fund)
3. NPL และการตั้งสำรอง -> บริษัทที่ฟื้นตัวเร็วคือคนที่เคยตั้งสำรองเยอะเกินไปมาก่อน แต่สามารถฟื้นกลับมาได้
4. แนวโน้มรายได้ค่าธรรมเนียม เช่น ธุรกิจนายหน้าประกัน
5. Cost to income ratio


- โอกาสของ Non-bank คือ
1. ตลาดยังขยายได้อีกมาก
2. ศก กำลังฟื้น
3. การปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้น
4. เงินเฟ้อชะลอ -> ดอกเบี้ยพีค

- ความเสี่ยงของ Non-bank คือ
1. Market conduct ถูกควบคุมเพดานดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมในการทวงถาม
2. การแข่งขันสูง / ผู้เล่นรายใหม่
3. ปัจจัยมหภาค


* ด้านมืด แต่เป็น Fact
1. Smooth งบให้สวยได้ (ด้วยการใช้สำรอง)
2. มักจะปล่อยสินเชื่อ Top-up เพื่อลดการตั้ง ECL
3. การเร่ง loan growth ด้วยการเพิ่ม LTV
4. ให้เป้าการเติบโต และ Operation ไม่สัมพันธ์กัน Ex. SINGER
5. การสร้างยอดขายปลอม หรือ ไม่มีลูกค้าจริง

Friday, June 2, 2023

STARK case

 STARK case

https://www.facebook.com/search/top?q=thailand%20investment%20forum


Timeline ที่สำคัญของหุ้น STARK ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน

23 พ.ค. 65 -- คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ลงทุนในบริษัท LEONI Kabel GmbH ประเทศเยอรมนี และ LEONIsche Holding Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา ในสัดส่วน 100% เป็นเงินประมาณไม่เกิน 20,589 ล้านบาท ซึ่งทั้งสองบริษัทประกอบธุรกิจด้านสายเคเบิลและการชาร์จยานยนต์

29 ก.ค. 65 -- คณะกรรมการพิจารณาว่าบริษัทต้องการเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อเข้าทำธุกรรมข้างต้น จึงมีมติให้จัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติเพิ่มทุน 1,500 ล้านหุ้น เสนอขายในวงจำกัด (Private Placement: PP)

12 ก.ย. 65 -- ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (บจ. อวานการ์ด แคปปิตอล) ให้ความเห็น (ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนปกติของการทำธุรกรรมลักษณะนี้) ต่อผู้ถือหุ้นว่า เป็นรายการที่มีความเหมาะสมและผู้ถือหุ้นควรอนุมัติรายการดังกล่าว

23 ก.ย.65 -- ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติ อนุมัติการซื้อบริษัทในต่างประเทศดังกล่าว และอนุมัติการเพิ่มทุนและการเสนอขาย PP ด้วยเสียง 99.99% ทุกวาระย่อย

4 ต.ค. 65 -- แจ้งราคาเสนอขาย PP ว่าคือ 3.72 บาท/หุ้น ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ว่าต้องไม่ต่ำกว่า 90% ของราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 7 วันทำการก่อนหน้า (3.98 บาท/หุ้น ส่วน 90% คือ 3.58 บาท/หุ้น)

10 ต.ค. 65 -- รายงานผลการจัดสรรหุ้น PP ตามรูป โดยมีผู้ลงทุน PP เป็นสถาบันการเงินต่างประเทศ (TIF คาดว่าบางรายอาจเป็นการถือให้ ultimate shareholders อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทำกันทั่วไป ไม่ได้แปลกอะไร) ร่วมกับ บลจ. และบริษัทในประเทศ รวมกัน 12 ราย

13 ธ.ค. 65 -- STARK แจ้งว่า ตามที่ขายหุ้นเพิ่มทุนได้เงิน 5,580 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการซื้อบริษัทในต่างประเทศนั้น ล่าสุดพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทางลบหลายประการ จึงตัดสินใจเพิกถอนการซื้อหุ้นดังกล่าว ซึ่งจะนำเสนอแผนการใช้เงินเพิ่มทุนฉบับปรับใหม่ในภายหลัง

21 ธ.ค. 65 -- นำเสนอโครงการซื้อหุ้นคืน (Treasury Stock)

10 ก.พ. 66 -- ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาออก

28 ก.พ. 66 -- แจ้งส่งงบการเงินปี 2565 ล่าช้า โดยคาดว่าจะส่งได้ภายใน 31 มี.ค. 66

1 มี.ค. 66 -- ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย SP เนื่องจากส่งงบการเงินปี 2565 ไม่ทันกำหนด

31 มี.ค. 66 -- แจ้งเลื่อนส่งการเงินปี 2565 อีกครั้ง ขยายเป็น 21 เม.ย. 66 และแจ้งเปลี่ยน CFO

17-19 เม.ย. 66 -- กรรมการลาออก 7 ราย โดยมีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ 5 ราย และแจ้งเปลี่ยน CFO อีกครั้ง

25 เม.ย. 66 -- กรรมการที่เพิ่งเข้าใหม่ก่อนหน้า ลาออก 3 ราย โดยแต่งตั้งกรรมการใหม่ 2 ราย

28 เม.ย. 66 -- ที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ทั้ง 5 ตัวของบริษัท มีมติ ยกเว้น เหตุผิดนัดที่เกิดจากการส่งงบการเงินล่าช้า

17 พ.ค. 66 -- ก.ล.ต. สั่งให้ STARK ชี้แจงข้อเท็จจริงและความคืบหน้า รวมถึงให้มีการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) เกี่ยวกับการขาย ลูกหนี้ และรายการบัญชีที่เกี่ยวข้อง

31 พ.ค. 66 -- ที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ 2 ตัว จาก 5 ตัวของบริษัท มีมติ ไม่ยกเว้น เหตุผิดนัดที่เกิดจากการส่งงบการเงินล่าช้า และมีมติ เรียกให้หนี้ถึงกำหนดชำระโดยพลัน ทำให้เกิดการผิดนัดไขว้ (Cross Default) ภายใต้สัญญาทางการเงินอื่น ๆ และเจ้าหนี้อื่น ๆ สามารถเรียกร้องให้บริษัทชำระหนี้ได้ทันที

1 มิ.ย. 66 -- หลังจากขึ้นเครื่องหมาย SP ไว้ก่อนหน้า ตลาดหลักทรัพย์เปิดซื้อขายหุ้น STARK อีกครั้งในช่วงเวลา 1-30 มิ.ย. 66 ก่อนจะ SP ต่อไปในภายหลังจนกว่าบริษัทจะแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ .. ราคาปิดวันที่ 1 มิ.ย. 66 อยู่ที่ 0.18 บาท ลดลง 92% จากราคาปิดสุดท้ายก่อน SP

2 มิ.ย. 66 (จนถึง 14.55น.) -- ราคาหุ้น STARK ซื้อขายอยู่ในกรอบ 0.14-0.22 บาท/หุ้น

ที่มา: http://set.or.th // เรียบเรียงและนำเสนอ: Thailand Investment Forum





Thursday, June 1, 2023

Set status as of June 01, 2023

 Set status as of June 01, 2023

SET Index = 1521  PE = 18.16  (Thai Government 10 year Bond = 2.50% as per   Apr 2023)
Yield Gap =   3.01%

 Billy B. =  BEAR whole month




SET  1528   -->  1521  (-0.4%)  


------------------------------------------------------
My Stock
SCAP                          -7.7% 

Sawad                       +3%