Thursday, October 31, 2019

IFRS9





https://www.thansettakij.com/content/412980



แบงก์จ่อขายลูกหนี้-เอ็นพีเอเลี่ยงภาระกันสำรองตาม IFRS9 รอเครดิตบูโรไฟเขียวไม่ต้องรายงานNCB”กรณีปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันและไม่มีส่วนสูญเสีย แหยงเกณฑ์กันสำรอง-จัดชั้นตาม IFRS9 หลังธปท.ส่งสัญญาณเปิดช่องให้พัก-ยืดหนี้ก่อนเป็นเอ็นพีแอล    
 
 
นายชัยยุทธ อังศุวิทยา คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการทำบัญชีกล่าวว่า การเริ่มใช้บังคับมาตรฐานรายงาน IFRS9 ในปี 2563 นั้น ในหมวดการประเมินกันสำรองหนี้สูญ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 เรื่องของ IFRS9 โดย
 
1.การจัดประเภทและการวัดมูลค่าของเครื่องมือทางการเงิน
 
2. การรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงินหรือการกันสำรองเพื่อรองรับผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกหนี้ตลอดอายุของลูกหนี้
 
3.การบัญชีป้องกันความเสี่ยง
 
ทั้งนี้ หากบังคับใช้จริงคงจะมีประเด็นมากระหว่างผู้ประกอบการกับผู้สอบบัญชี ซึ่งผู้ประกอบการมุ่งเน้นการทำเปอร์เซ็นต์น้อย เพื่อกันสำรองในระดับตํ่า ดังนั้นในทางปฏอบัติทางสภาวิชาชีพฯจะออกเกณฑ์เป็นกรอบในการปฎิบัติให้ชัดเจน
 
โดยเฉพาะผู้ประกอบการกลุ่มเช่าซื้อ ลีสซิ่ง หรือธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก ซึ่งเป็นสินเชื่อที่จะต้องตั้งสำรองหนี้สูญ ซึ่งหลักการใหม่ต้องจัดอายุ กำหนดหนี้เป็นอัตราเปอร์เซ็นต์ ซึ่งยังหาคำตอบไม่ได้ จากอดีตการยืดหนี้เป็นปกติ
 
 
 
นอกจากนี้ กรณีการรับซื้อหนี้เสีย ภายใต้ IFRS9 ถือเป็นลูกหนี้หรือเป็นทรัพย์สิน แนวทางปฏิบัติต้องเข้ากระบวนการเดียวกับการคำนวณหนี้สงสัยจะสูญ เพราะเป็นลูกหนี้ที่รับซื้อมาเพื่อเก็บหนี้มีกำไร ซึ่งสมัยก่อนไม่ต้องกันสำรองหนี้สูญเพราะเป็นหนี้เสียแล้ว แต่ภายใต้มาตรฐานรายงาน IFRS9 ต้องประเมินว่า โอกาสจะสูญเสียเท่าไรตลอดอายุสัญญา เช่น เดิมเป็นลูกหนี้เอ็นพีแอล ซึ่งค้างชำระ 90 วันหรือ Stage3 เมื่อรับซื้อหนี้ดังกล่าวกลับมา ลูกหนี้ต้องอยู่ในฐานะเดิมและต้องกำหนดกันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตลอดอายุสัญญาว่า จะมีความเสียหายเท่าไหร่หรือระดับไหน แต่เมื่อถึงเวลาขายลูกหนี้ออกไป จึงจะปลดกันสำรองฯได้
 

 ขณะที่แหล่งข่าวอีกรายระบุว่า ในส่วนของสินทรัพย์รอการขาย (NPA) ก็ยังเป็นประเด็นกันว่า ธนาคารที่ประมูลซื้อเอ็นพีเอมาเป็นสินทรัพย์ของธนาคารแม้ธปท.กำหนดกฎเกณฑ์การถือครอง 10 ปี โดยถือครองเอ็นพีเอ 5 ปีและผ่อนผันอีก 5 ปี แต่ภายใต้มาตรฐานบัญชี IFRS9 ธนาคารจะต้องกันสำรองการด้อยค่าลงของเอ็นพีเอจนกว่าจะขายออกไป ดังนั้น หากธนาคารต้องกันสำรองฯในที่สุดเชื่อว่า ธนาคารจะต้องขายออกด้วย
 

No comments:

Post a Comment