Saturday, December 31, 2022

Year 2022 assessment

 Year 2022 assessment

Return = -21% included Dividend 
SET =  +0.7% , if add Dividend Yield 3% = Total +3.7%





Sunday, December 18, 2022

SCAP as of Dec2022

 SCAP as of Dec2022

- project งบปี Q4 ไว้ เวลาออกจริง จะได้ไม่งง โดยเฉพาะพวก majority  

- ตั้ง กำไร scap =  800 MB เป็น base --> คาดหวัง top line 1300 MB (งบปี 3800 MB)  เพราะ Q3 หายไปเยอะ ไม่รู้เกี่ยวกับการ merge หรือเปล่า

- ระยะยาว yield ค่อย ๆ ลด (สคบ law 23%) --> top line ลด --> แต่ expense ลด (Cost to income ลดด้วย)

-  คาดหวัง ขนาด port 2023 = 35b --> Net profit only Q4 = 650 MB (EPS = 0.5)     







Friday, December 2, 2022

Set status as of Dec 01, 2022

 Set status as of Dec 01, 2022

SET Index = 1648  PE = 17.9  (Thai Government 10 year Bond = 3.21% as per   Oct 2022)
Yield Gap =   2.38%

 Billy B. =  BEAR**--> BULL เมื่อ 30 Nov 2022 นี่เอง 



Stock Monthly Winner

 
SET  1625 -->  1648  (+1.4%)  

------------------------------------------------------
My Stock
SCAP                         +2%
Sawad                       +12%

---------------------------------------------------------

อสังหา และก่อสร้าง
A5                          47%  
Q-CON                    20% 
SIRI                        19%
CPANEL                  16%



กลุ่ม electronic and tech and electronics and ไฟฟ้า and Telecom
TEAM                 90%
HANA                 48%
SMT                   20%  
SVI                    20%  
SYNEX               16%  
DELTA                15%  
KCE                   14%  
PRAPAT              14%  


อาหาร และขนม และ เครื่องดื่ม
TKN                   62%
MALEE                13%


HEALTH
IMH                    27%
WPH                  18%


เคมีภัณฑ์
NFC                 19%  (ปุ๋ยแห่งชาติ)
GIFT                17%


Logistic
PRM                 13%
III                    13%
RCL                 13%


Media
PLANB               14%
VGI                    13%



อื่น ๆ
DEMCO                 36%  (พลังงานทดแทน)
TNR                     32%  (ถุงยาง)
KAMART               26%  (เครื่องสำอาง)
VARO                   18%    (แผ่นรีดอลูมิเนียม)
TPBI                    15%    (บรรจุภัณฑ์)
ETC                     14%  (พลังงานทดแทน)
AH                       14%  (Auto)
KBS                     12%  (น้ำตาลครบุรี)





Thursday, November 24, 2022

SCAP as of Nov2022

SCAP as of Nov 2022

-------------------------------------------------------------

ข้อมูลทั่วไป :

1)  Port โตเยอะมาก 11,000 to 16,000 MB 


2)  ระบบ Credit scoring  ที่ดี
      (คุณธิดา ให้ข้อมูลว่า ลูกค้าจำนำทะเบียน เข้า S-Leasing ไม่ได้,  จะได้ คุณภาพลูกค้าดีมาก แต่จะหาลูกค้ายากไหม)


3)  NPL น้อยมาก  1.8%  (HP=2.x% and P-Loan = 1.x%)


4)  มีการเตรียมคนไว้ 10,000 คน สำหรับการขยายงาน ยิ่งรับ contact ได้เยอะ ยิ่งคุ้ม จาก Economy of scale  (ถ้ารับคนละ 1 contact ต่อเดือน at ticket size 50,000 baht = 500 MB ต่อเดือน =  6000 MB ต่อปี)


------------------------------------------------------------


CONS:

1) งบล่าสุด Q3'2022 หักส่วน ของ BFIT ออก (งบเดี่ยว)  จะพบว่า
         - รายได้ SCAP เหลือ 900 MB กว่า  = yield 27% ซึ่งถือว่าน้อยมาก (จากเดิม 30กว่า %)

        - มี ECL SCAP = 80 MB (ในขณะที่ BFIT กลับสำรอง 121 MB)  
           (Q ต่อไป จะตั้งขนาดไหน เพราะ port ขยายมาก)

       - กำไร SCAP Q3'2022 = 200 MB (NPM 22% น้อยมาก)

    แต่ไม่แน่ใจว่า มีรายได้บางส่วน ยัง clear กับ S2014 หรือเปล่า เช่น P-Loan
  ต้องดู Q ต่อไป  


2) From Jan 2023 --> Yield new contact = 23%


3)  ภาพ NPL ของอุตสาหกรรม HP มอไซด์ แย่มาก ๆ
      SCAP จะ outlier ขนาดนั้นเลยเหรอ


4)  ค่าใช้จ่ายพนักงานช่วงแรก จะยังเยอะ จนกว่าพนักงาน จะรับ contact ได้เยอะขึ้น


5) คุณวิชิต 
       - ยังไม่แต่งตั้ง ซะที
       - port ที่เคยทำ สูงสุด 10,000 กว่าล้าน  ถ้าระดับ 30b to 100b จะ different ไหม


-----------------------------------------------------

Expectations:

1) Yield แม้จะเริ่มลดใน Q1  แต่ ค่าใช้จ่าย Dealer ก็ควรลดเยอะด้วย (คุณวิชิต say 50-70% from current situation)  และ  พนักงานที่เริ่มเก่งมากขึ้น สุดท้าย Cost to income ลดลงได้เยอะ

2) Port ยังโตมาก ๆ ต่อเนื่อง  (กิน Mkt Share ตอนคนอื่นสะดุด และ เจ้าเล็กๆ ทำงานไม่ได้ เพราะ new yield 23% ต่ำ)

3)  แต่งตั้งคุณวิชิต, งบการเงิน และ การสื่อสาร นักลงทุน ที่ clear 

4)  Corner and Money Game


----------------------------------------------------------





Projection แบบโลกสวย


 





Monday, November 21, 2022

NCAP as of Nov 2022

 NCAP as of Nov 2022


-  Port ไม่โตแล้ว (7300 MB) 

   หยุดแก้ไข หลังบ้านก่อน (ระบบ tracking และ NPL จากโดนโกง)

- NPL ยังพุ่ง ( 1.4% --> 2.1% --> 3.1% )   ทำให้ การตั้ง ECL สูง ทั้งที่ write off ออกเยอะ

- Yield ลดลง 3 Q ติดต่อกัน

- Cost to income ลดลง เพราะ ไม่ต้องจ่าย dealer ช่วงนี้ เพราะยังไม่เพิ่ม port

- เป้าการ growth ของ port ที่ 8800 MB ไม่น่าจะทำได้ , ปีหน้าจะตั้ง growth เท่าไหร่  รอดูข่าว







Friday, November 18, 2022

MTC as of Nov 2022

  MTC as of Nov 2022

1)  Port Title Loan โตดีมาก 101,000 --> 108,000 MB

     Port HP  หยุดโตมา 3 Q แล้ว  5700 -->  5800  -->  5800  MB

     (Q4'2022  เดาว่า Total = 120,000 MB

       say  เป้าทั้งปี port โต 25% = 150,000 MB หรือเพิ่ม 30,000 MB จาก year end 2022)


2) Yield Q1 , Q2 and Q3 maintain = 18.7%


3) Cost to income = 39% (swing มาก ๆ 44% --> 48% --> 44% --> 40% --> 39%)


4) NPL = 2.3%   (trend ขึ้นมาเรื่อย ๆ  1.2% --> 1.4% --> 1.5% --> 2%  --> 2.3%)

   ทำให้ เกิด สำรอง ECL โหดกว่าเดิม ใน Q3 นี้ = 958 MB   (169 --> 524 --> 958 MB )

   ผบห บอก NPL จะ flat Q2-3 ปี2023



Summary: 
      NPL จะเริ่มหยุดเมื่อไหร่ เพื่อที่ ECL จะได้กลับสู่ Normalize

      ถ้าทำ Model ตาม ผบห บอก = NPL flat at Q2-3 ปี 2023  และ คงสัดส่วน Coverage Ratio = 100%
พบว่า จะต้อง วาง ECL Q ละ 500-600 MB ต่อ Q

     forecast Financial Projection ต่อจากนี้ ได้แบบนี้



   
 







Tuesday, November 1, 2022

Set status as of Nov 01, 2022

 Set status as of Nov 01, 2022

SET Index = 1625  PE = 17.73  (Thai Government 10 year Bond = 2.95% as per   Sep 2022)
Yield Gap =   2.69%

 Billy B. =  BEAR --> BEAR** (หุ้นเริ่มวิ่งขึ้นเหนือ SMA200 จาก BEAR stage) 




Stock Monthly Winner

 
SET  1558 -->  1625  (+4%)  

------------------------------------------------------
My Stock
SCAP                         -3%
AMANAH                    +4%
Sawad                       -1%

---------------------------------------------------------
Inside   
TEAMG                27%  (EEC medical hub)



อสังหา และก่อสร้าง
U                          18%  (พัฒนา อสังหาทั่วโลก)
DPAINT                  17% (สีเดลต้า)
SRICHA                  14%  (รับเหมา โรงงานอุตสาหกรรม)
SIRI                       13%



กลุ่ม electronic and tech and electronics and ไฟฟ้า and Telecom
BBIK                 20%
SICT                 15%
OTO                 14%  (บริการ Digital)



ประกันภัย
SMK                    39%      สินมั่นคง
NSI                     13%        นำสิน


โรงแรม
SHREIT               36%     กอง truss 
SHR                   14%



อาหาร และขนม และ เครื่องดื่ม
SNNP                24%
ICHI                 21%
ZEN                  17%



อื่น ๆ
SPACK                 50%    (บรรจุภัณฑ์)
JKN                    40%  (ได้ลิขสิทธินางงามจักรวาล)
TMC                   38% (Mobile crane, ที่จอดรถโครงเหล็ก)
ABM                   29%   (ฺBiomass ปาล์ม  ขี้เลื่อย)
TKT                   25%  (Part รถ และตู้เย็น)
PDJ                   20%   (Jewerly)
SALEE                20%  (Plastic)
SELIC                18%   (กาวอุตสาหกรรม)
AMA                 16%  (เรือ)
JWD                 16%  (Logistic)
MBK                 16%  
SPA                  16%  
PJW                 14%  (Plastic)
CMO                 13%  (ทำ Event)
ESSO                13% 
KISS                 13%  (เครื่องสำอาง)

Monday, October 31, 2022

SCAP slide as per new regulator issue (Oct 2022)

 SCAP slide as per new regulator issue (Oct 2022)







Calculation from Slide

- Net Profit from Interest income = around  0.5% per month

- say Port SCAP

     - End 2022 = 18,000 MB -->  Net Profit = 90 MB per month

     - End 2023 = 32,000 MB  -->  Net Profit = 160 MB per month

- ยังไม่รวม รายได้อื่น ๆ, ค่าธรรมเนียม และค่าปรับ 

Tuesday, October 18, 2022

Berkshaire Hathaway Market Cap and Cash on hand

 Berkshaire Hathaway Market Cap and Cash on hand


https://www.macrotrends.net/stocks/charts/BRK.B/berkshire-hathaway/market-cap


https://www.macrotrends.net/stocks/charts/BRK.A/berkshire-hathaway/cash-on-hand




as of Oct 2022 = Cash (say 30 B) /Market Cap = 30/600 = 5%

End of June 2022 = Cash/Market Cap = 30/610 = 4.9%

End of Dec 2021 =  Cash/Market Cap = 88/677 = 13%

Covid time (End of Mar 2020) = Cash/Market Cap = 42/420 = 10% 


Tuesday, October 4, 2022

โลกในมุมมอง Value Investor (1 Oct 2022)

โลกในมุมมอง Value Investor (1 Oct 2022)


ดอกเบี้ย-เงินเฟ้อ-ค่าเงินบาท และตลาดหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร : สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)

.
ประเด็นทางเศรษฐกิจในช่วงเวลานี้ดูเหมือนว่าจะวนเวียนอยู่กับ 3-4 เรื่องคือ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้นทั่วโลก ทุกประเทศต่างก็ประสบกับปัญหาซึ่งเริ่มต้นจากราคาพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวขึ้นแรงอานิสงค์จากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทำให้รัสเซียลดการส่งให้กับยุโรปอย่างกระทันหันผสมกับการที่เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะสหรัฐฟื้นตัวขึ้นแรงหลังวิกฤติโควิด-19 ซึ่งทำให้มีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นในขณะที่กำลังการผลิตของโลกไม่ได้ปรับตัวขึ้นมานาน
.
อย่างไรก็ตาม “ภาพใหญ่” ของเรื่องเงินเฟ้อก็คือ เศรษฐกิจของอเมริกาเติบโตร้อนแรงเกินไปทำให้การผลิตตามไม่ทัน การแก้ไขก็คือ ต้องลดอัตราเงินเฟ้อลงอย่างรีบด่วน
.
วิธีการก็คือ เพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารกลางหรือเฟดที่อยู่ในอัตราที่ต่ำต่อเนื่องมายาวนานน่าจะเป็น 10 ปีหลังวิกฤติซับไพร์มซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในอัตราบางช่วงที่ 1% หรือต่ำกว่านั้น ให้ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลง อาจจะเหลือไม่เกิน 2-3% ต่อปี ซึ่งเป็น “อัตราปกติ” ที่จะทำให้เศรษฐกิจโตแบบมีเสถียรภาพ
.
โดยที่อัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะทยอยปรับขึ้นไปเรื่อย ๆ นั้น ก็มองกันว่าจะไปถึงประมาณ 4-5% ภายในสิ้นปีนี้และสิ้นปีหน้า จากอัตราปัจจุบันที่ 3-3.25% และนั่นก็คือ “อัตราดอกเบี้ยปกติ” ของอเมริกาที่เคยเป็นมายาวนานก่อนหน้าที่จะลดลงจนเหลือ 1-2% ช่วงหลังซับไพร์มที่เป็นอัตราที่ “ผิดปกติ”
.
.
.
สรุปก็คือ สหรัฐกำลังพยายามนำพาประเทศกลับสู่ “สภาวะปกติ” ที่จะทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและเดินหน้าเติบโตต่อไปได้ในระยะยาวที่เศรษฐกิจอาจจะโตต่อไปเรื่อย ๆ ในอัตราประมาณซัก 3% ต่อปี แต่ผลกระทบในระยะสั้นก็คือ เศรษฐกิจในช่วงนี้ที่โตเร็วเกินไปจะต้องลดลง คือปีหน้าอาจจะติดลบเล็กน้อย เป็น “Soft Landing”
.
ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและภาวะเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยลงทำให้ตลาดหุ้นที่เฟื่องฟูมากเกินไปและปรับตัวขึ้นเป็นจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์หลังโควิด-19 ตกลงมาอย่างแรง และถึงวันนี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อย่าง S&P 500 ก็ตกลงมาเกิน 20% นับจากต้นปี ไม่ต้องพูดถึงดัชนีแนสแด็กที่ตกลงมากว่า 30% เป็นวิกฤติตลาดหุ้นไปแล้ว
.
ผลกระทบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรับอัตราดอกเบี้ยที่รวดเร็วและรุนแรงมากก็คือ ค่าเงินดอลลาร์ของสหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างมากเทียบกับค่าเงินของประเทศอื่น ๆ ทั้งโลกคือแข็งขึ้นประมาณ 18% ค่าเงินปอนด์ของอังกฤษและค่าเงินเยนของญี่ปุ่นลดลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ถึงประมาณ 20% นับจากต้นปี
.
ค่าเงินยูโรตกลงมา 15% เช่นเดียวกับเงินวอนของเกาหลีที่อยู่ในกลุ่มของประเทศเจริญแล้วที่ตกลงมา 16% ในขณะที่เงินบาทและเงินในกลุ่มประเทศเอเชียอื่น ๆ ตกลงมาในระดับประมาณ 12% เทียบกับดอลลาร์
.
เนื่องจากอเมริกาเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเงินดอลลาร์เป็นเงินที่ถูกใช้ทั่วโลก ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นกับอเมริกาทั้งหมดที่กล่าวถึงนั้นจึงเกิดขึ้นกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกด้วย และก็เช่นกัน เมื่ออเมริกาปรับนโยบายทางการเงินเพื่อแก้ปัญหาของตนเอง เกือบทุกประเทศก็ต้องปรับตาม มิฉะนั้นก็จะเกิดปัญหาการไหลออกของเงินดอลลาร์ซึ่งจะทำให้เงินสำรองของประเทศมีปัญหา
.
.
.
ผลก็คือ เกือบทุกประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่กำลังเติบโตเร็วที่ต้องอิงกับประเทศพัฒนาแล้วต่างก็มีปัญหาแบบเดียวกับอเมริกาคือ เศรษฐกิจกำลังจะถดถอยลงและตลาดหุ้นตกลงอย่างหนักในขณะที่ประเทศกำลังกำหนดนโยบายทางการเงินให้ “กลับเข้าสู่ภาวะปกติ”
.
นั่นคือ ต่อต้านเงินเฟ้อโดยการขึ้นดอกเบี้ยอ้างอิงที่คิดว่าจะเป็น “อัตราดอกเบี้ยปกติ” ที่เหมาะสมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาวของตนเอง
ส่วนเรื่องค่าเงินนั้นก็เป็นไปตาม “กลไกตลาด” สำหรับประเทศส่วนใหญ่ที่ไม่ได้กำหนดอัตราคงที่ตามเงินดอลลาร์สหรัฐ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือซาอุดิอาระเบีย
.
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเรื่องของค่าเงินอาจจะไม่ได้มีปัญหามากอย่างที่คนอาจจะคิด เหตุผลก็คือ ค่าเงินของประเทศต่าง ๆ นั้น อาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ในสถานะเดียวกันและมีการค้าขายกันมาก ที่อาจจะเป็นปัญหาก็คืออเมริกาประเทศเดียวที่ค่าเงินแข็งมาก
.
ในส่วนของเงินบาทนั้น โดยเฉลี่ยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นนอกจากอเมริกาเราก็อยู่กลาง ๆ ไม่อ่อนไม่แข็ง ดังนั้น คนที่ส่งออกก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก เช่นเดียวกับผู้นำเข้าเองก็อาจจะไม่ได้ลำบากอะไรในการซื้อ-ขายสินค้า โดยรวมแล้ว ดุลการค้าของประเทศก็อาจจะไม่ได้ดีขึ้นแม้ว่าเงินบาทจะอ่อนลงถึงกว่า 10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ นี่ก็อาจจะไม่เหมือนช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งที่ค่าเงินบาท “อ่อนจริง” เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่ค้าขายด้วย ซึ่งทำให้การส่งออกของไทยดีขึ้นมากหลังวิกฤติ
.
.
.
สิ่งที่ประเทศไทยแตกต่างจากประเทศอื่นอย่างมีนัยสำคัญช่วงนี้นั้น น่าจะอยู่ที่การเติบโตทางเศรษฐกิจหรือ GDP ของเรายังติดลบอยู่เมื่อเทียบกับสถานะก่อนโควิด-19 เราเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัวในขณะที่ประเทศอื่นฟื้นตัวและเติบโตไปสูงกว่าก่อนโควิดแล้ว
.
ดังนั้น ถึงแม้ว่าเราก็มีเงินเฟ้อสูงมากในช่วงราคาพลังงานปรับตัวขึ้นแรง แต่อีกระยะหนึ่งมันก็คงปรับตัวลงเมื่อราคาพลังงานเริ่มลดลงซึ่งจะทำให้เงินเฟ้อลดลงโดยอัตโนมัติ ดังนั้น เราจึงแทบไม่จำเป็นที่จะต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อที่จะลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ
.
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยของไทยที่ไม่ถึง 1% นั้นก็ยังต่ำเกินไป เราจึงต้องปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นบ้างเพื่อนำไปสู่ “อัตราปกติ” ที่เหมาะสมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาวที่จะโตช้าลงมากเมื่อเทียบกับอดีต ซึ่งอาจจะเป็นอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2-3% ต่อปี
.
และนั่นก็อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมแบ้งค์ชาติจึงปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นช้ามากเมื่อเทียบกับอเมริกาหรือเวียตนามที่เป็นเศรษฐกิจที่จะโตเร็วกว่าไทยมาก และนี่ก็อาจจะเป็นแบบเดียวกับญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจโตช้ามานานมากและจะช้าต่อไปในอนาคตที่แทบจะไม่ปรับดอกเบี้ยอ้างอิงขึ้นเลยแม้ว่าอัตราที่เป็นอยู่ใกล้ศูนย์เปอร์เซ็นต์ต่อปีมานาน
.
.
.
ประเด็นสุดท้ายก็คือเรื่องของตลาดหุ้นไทยที่ดัชนีตกลงมาน้อยมากประมาณแค่ 4% นับจากต้นปีเทียบกับระดับ 20% ของประเทศที่ตลาดหุ้นโตเร็วมากก่อนหน้านี้
.
เหตุผลนั้นคงเป็นว่าเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยก่อนหน้านั้นไม่ได้เติบโตหรือโตช้ามากโดยเฉพาะปัญหาจากโควิดซึ่งทำให้ดัชนีหุ้นไม่ได้ปรับตัวขึ้นมาก และหลังจากนั้นเราก็อยู่ในช่วง Turnaround หรือช่วงฟื้นตัวโดยเฉพาะจากการท่องเที่ยวที่จะกลับมาแรงและเร็วหลังโควิด-19 จบลง ดังนั้น หุ้นจึงไม่ตกลงมาก และผมคิดว่าหากไม่ได้มีปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน ป่านนี้หุ้นไทยก็อาจจะปรับตัวขึ้นเหนือจุดสูงสุดเดิมไปแล้ว
.
นอกจากหุ้นไทยที่ตกลงมาไม่มากแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นของประเทศที่ไม่ได้ขึ้นมามากในช่วงโควิด เช่น ตลาดหุ้นอังกฤษหรือญี่ปุ่นเองนั้น ในช่วงปีนี้ดัชนีหุ้นก็ไม่ได้ตกลงมากคือไม่เกิน 10%
.
ดังนั้น ข้อสรุปของผมก็คือ การปรับนโยบายทางการเงินของประเทศต่าง ๆ ในช่วงนี้เป็นเรื่องของการปรับให้กลับมาสู่ภาวะปกติที่ควรเป็นของแต่ละประเทศ โดยที่ประเทศไทยเองนั้น ภาวะปกติของเราอาจจะเป็นการที่อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อต่ำตลอดไปคล้าย ๆ ของญี่ปุ่นเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลงอย่างถาวรเพราะประชากรแก่ตัวลงและขาดการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ และดังนั้น หุ้นจึงไม่สามารถปรับตัวขึ้นให้ผลตอบแทนที่ดีมากได้ในระยะยาวแต่ก็ไม่ตกลงมาแรงอย่างประเทศที่ยังเติบโตดีทั้งหลาย

Monday, October 3, 2022

Set status as of Oct 03, 2022

 Set status as of Oct 03, 2022

SET Index = 1558  PE = 17.17  (Thai Government 10 year Bond = 2.52% as per   Aug 2022)
Yield Gap =   3.30%

 Billy B. =  BEAR** (หุ้นเริ่มวิ่งขึ้นเหนือ SMA200 จาก BEAR stage) --> BULL --> Sick Bull --> Dead Bull




Stock Monthly Winner

 
SET 1621 --> 1558  (-4%)  

------------------------------------------------------
My Stock
SCAP                         -15%
AMANAH                   -8.5%
Sawad                      -18%

---------------------------------------------------------
Inside   
TEAMG               158%  (EEC medical hub)
DITTO                  19%


Meida
WAVE                  66% (บริการ, สื่อ, สิ่งพิมพ์)
PRAKIT                31% (บริการ, สื่อ, สิ่งพิมพ์)
NBC                     22%   (Nation22)


อาหารสัตว์
PPPM               46%  (มีพลังงานสะอาดด้วย)


อสังหา และก่อสร้าง
DPAINT                 32% (สีเดลต้า)
Hydro                   29%
STPI                     26%
STI                       20%
A5                        18%
PROS                    18%
CRD                      17%  (เชียงใหม่ริมดอย)


กลุ่ม electronic and tech and electronics and ไฟฟ้า and Telecom
Delta                 24%
IRCP                  21%
SCI                    21%
TPS                   18%



น้ำมันปาล์ม
AIE                       28%


เครื่องสำอางค์
KAMART                26%
KISS                      20%



อื่น ๆ
UREKA                 25% (เดิมผลิตเครื่องจักร แต่จะไปทำเม็ดพลาสติก และน้ำปะปา)
TMC                    24% (Mobile crane, ที่จอดรถโครงเหล็ก)
HPT                    22% (Ceramics)
BM                      21%  (ตู้ Conduit, ตู้ Control Panel)
SISB                    21%
SUSCO                20% (merge ปั้ม with ESSO)
MITSIB                20% (Leasing)
ERW                   20% (Hotel)
UAC                   19% (เคมีภัณฑ์)
BYD                   19% (หลักทรัพย์, ลุชัย ยังถือเยอะมาก) 
AMA                  18%  (เรือ)


Monday, September 26, 2022

อัตราดอกเบี้ย , เงินเฟ้อ และผลกระทบ แบบย่อ ๆ (as of Sep2022)

 อัตราดอกเบี้ย , เงินเฟ้อ และผลกระทบ แบบย่อ ๆ (as of Sep2022)

-----------------------------------------------------

1) US Inflation 8.5%

2) FED อยากลดเหลือ 2.x % เลยใช้วิธี ขึ้นดอกเบี้ย
(now 3.25% --> next year 5%)

3) ผลคือ Cost of Fund จะขึ้น --> Business กำไรน้อยลง หรือ ขาดทุน --> Recession
(กลุ่ม Finance กระทบมาก เพราะเอาเงินต่อเงิน แต่ Recession คือแย่ทุกคน)

4) Commo esp. Oil ราคาตก เพราะ business จะ recession
(but US ได้ประโยชน์ทางอ้อม จากการตัดเงิน Russia เพราะขาย Oil and Gas เป็นหลัก ช่วงนี้)

5) ค่าเงิน US แข็ง ส่วนเงินทั่วโลกอ่อน
(กลุ่มส่งออก ต้องรับ US only ถึงจะดี, รับเงินสกุลอื่น คือ neutral)
(กลุ่มท่องเที่ยวดี จากหลายประเทศกระตุ้น เพื่อชดเชย Recession from Cost of Fund )


-------------------------------------------------------------------------

รวมอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก ใครสูง ใครต่ำ - BillionMoney (as of Sep2022)

ญี่ปุ่น -0.10%
สวิตเซอร์แลนด์ 0.50%
ไทย อยู่ที่ 0.75%
สหภาพยุโรป อยู่ที่ 1.25%
ไต้หวัน 1.63%
สหราชอาณาจักร 2.25%
สิงคโปร์ อยู่ที่ 2.34%
เกาหลีใต้ 2.50%
มาเลเซีย 2.50%
สหรัฐอเมริกา 3.25%
กลุ่มประเทศที่ดอกเบี้ยสูงกว่าสหรัฐ
ฮ่องกง 3.50%
จีน อยู่ที่ 3.65%
ฟิลิปปินส์ 3.75%
อินโดนีเซีย 4.25%
เวียดนาม 5.00%
อินเดีย 5.40%
แอฟริกาใต้ 6.25%
ตุรกี 13.00%
บราซิล 13.75%
เวเนซุเอลา 57.63%
อาร์เจนตินา 75.00%







Wednesday, September 14, 2022

เจอหุ้นอะไรในรถยนต์ 1 คัน

 https://www.efinancethai.com/efinReview/efinReviewMain.aspx?release=y&name=er_201909121234&fbclid=IwAR04jDXOu5reS5tcb6DGCJGyL92SNevGrZMA5EwSs4eqxeg4i8fojwlOVpM





หุ้นกลุ่มยานยนต์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีอยู่หลายบริษัท ตั้งแต่อุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ที่นำมาประกอบเป็นเครื่องยนต์ จนถึงโครงรถ หรือจะเป็นอุปกรณ์ช่วงล่าง ยางรถยนต์  แบตเตอรี่ หรือแม้แต่กลุ่มประดับยนต์อย่างเบาะหนัง แผ่นปูพื้นในรถ แต่นักลงทุนหลายคนยังคงสับสนอยู่ว่า แต่ละบริษัทนั้นผลิตและทำชิ้นส่วนรถยนต์ส่วนไหน   

    ทาง "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย"  จึงได้รวบรวมหุ้นกลุ่มยานยนต์ที่อยู่ในตลาดหุ้นไทย เพื่อให้นักลงทุนได้รู้ว่า แต่ละบริษัทเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนใดบ้าง ช่วยให้ง่ายต่อการจดจำ และนำไปเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุน โดยมีรายละเอียดดังนี้  

*AH  ถังน้ำมัน - ช่วงล่าง - ท่อน้ำมัน  
    บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) หรือ AH  มักจะเป็นหุ้นยานยนต์อันดับต้นๆ ที่นักลงทุนมักจะนึกถึง โดย AH มีผลิตภัณฑ์อยู่ 7 ส่วน ไม่ว่าจะเป็น  ถังน้ำมันโลหะ - อุปกรณ์วัดระดับน้ำมัน  , โครงช่วงล่างรถกระบะ  , ชิ้นส่วนโลหะตีอัดขึ้นรูป  , ชิ้นส่วนรถยนต์ ปั้มขึ้นรูป  , ชิ้นส่วนและถังน้ำมันพลาสติก , ท่อน้ำมัน -ชิ้นส่วนเครื่องยนต์  , ชิ้นส่วนโครงสร้างรถยนต์ - ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์  และท่อสำหรับเครื่องยนต์ (Brazed Steel Tubing) 

*แบตเตอรี่มี 3 บจ.
    มาถึงกลุ่มผู้ผลิตแบตเตอรี่ ถือว่าเป็นอีกส่วนสำคัญต่อระบบไฟฟ้าของรถยนต์ กลุ่มนี้มีผู้ผลิตทั้งหมด 3 เจ้า ได้แก่  บริษัท ฮิตาชิ เคมิคอล สโตเรจ แบตเตอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ BAT-3K ผู้ผลิตแบตเตอรี่ยี่ห้อ 3K , บริษัท สยามภัณฑ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ SPG เจ้าของแบตเตอรี่ โบลิเดน และ บริษัท ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ YUASA เจ้าของแบตเตอรี่ ยัวซ่า   
 
*กลุ่มเบาะหนัง  - สีรถยนต์  
    กลุ่มนี้เป็นเหมือนกลุ่มที่จะเน้นไปทางประดับยนต์ โดยเฉพาะเบาะหนังแท้ - หนังเทียม - แผ่นปูในรถ หรือแม้กระทั่งสีรถยนต์ โดยบริษัทที่ทำเบาะหนัง จะมี 2 เจ้าเด่นคือ บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CWT และ บริษัท อินเตอร์ไฮด์ จำกัด (มหาชน) หรือ IHL    ขณะที่  บริษัท ไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TNPC นั้นเป็นผู้ผลิตเบาะหนังเทียม - PVC รวมถึงแผ่นปูในรถยนต์ และอีกหนึ่งบริษัทอย่าง  บริษัท ไทยรุ่งยูเนียนคาร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TRU ที่หลายคนอาจจะคิดว่าบริษัทนี้รับผลิตและกอบรถยนต์ทั้งคัน แต่ก็มีส่วนที่รับทำสีรถยนต์ และเบาะหนังด้วยเช่นกัน ส่วนอีกหนึ่งบริษัทที่รับทำสีได้แก่ บริษัท อีซึ่น เพ้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ EASON แต่จะเป็นสีของรถจักรยานยนต์เป็นส่วนใหญ่      
 
*ยางรถยนต์ต้อง "กู๊ดเยียร์" 
    ยางรถยนต์ที่คนไทยรู้จักและผูกพันมานานคงหนีไม่พ้นยาง "กู๊ดเยียร์" ภายใต้การผลิตของ บริษัท กู๊ดเยียร์(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ GYT ขณะที่บริษัทที่ทำผลิตภัณฑ์ยางในส่วนอื่นๆ ของรถก็มีเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ  IRC ที่ทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับชิ้นส่วนทีนยางทั้งหมดของรถยนต์  หรือ  บริษัท เอ็น.ดี.รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NDR ที่เป็นอีกหนึ่งผู้ผลิตยางรถแต่จะเป็นยางรถจักรยานยนต์ ส่วน บริษัท ฮั้วฟง รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ HFT ก็ทำกลุ่มยางรถยนต์เช่นกันแต่จะเป็นยางรถยนต์ขนาดเล็กอย่าง รถเข็น รถยก รถแทรคเตอร์ รถตุ๊กตุ๊ก รถที่ใช้ในกำรเกษตร รถกอล์ฟ แต่สัดส่วนขนาดใหญ่จะเป็นยางสำหรับรถจักยานยนต์เช่นเดียวกับ  NDR 

*INGRS  "ตัวถังรถ -คานนิรภัย"
    บริษัท อิงเกรส อินดัสเตรียล (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ INGRS  เป็นหนึ่งบจ.ที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มชิ้นส่วนตัวถังรถ กรอบประตู กรอบประตูด้านล่างและด้านใน/กรอบนำกระจก , ท่อหมุนเวียนไอเสียเครื่องยนต์,  ท่ออ่อน/ท่อยุบตัวได้
คิ้วรางน้ำ/ยางขอบกระจกหน้า , ยางรีดน้ำ , การประกอบส่วนหรือโมดูล , บานพับประตู , คานเหล็กนิรภัย , ฉนวนกันความร้อน/แผ่นกันความร้อน
, ชิ้นส่วนยานยนต์ขึ้นรูปโลหะด้วยแม่พิมพ์ , ตัวยึดขนาดเล็ก 
   
 *PCSGH -  SAT  ช่วงล่าง - เกียร์ - เบรค- สปริง  
    หากพูดถึงบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับช่วงล่างรถยนต์และเครื่องยนต์ รวมถึงชุดเกียร์  บริษัท พี.ซี.เอส.แมชีน กรุ๊ปโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PCSGH และ บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SAT เป็น 2 บริษัทที่เชี่ยวชาญอุปกรณ์เหล่านี้ โดย PCSGH ทำ ชุดถ่วงสมดุลเครื่องยนต์ , ชุดปั๊มแรงดันสุญญากาศและปั๊มน้ำมันเครื่อง , ท่อร่วมไอเสีย, รวมถึงชุดเฟืองเกียร์ทั้งหลาย  ขณะที่ SAT  เป็นผู้ผลิต เพลาข้าง ดิสก์เบรค ดัมพ์เบรค แหนบสปริง ขดสปริง และกันโคลง    

* STANLY-FPI ผู้นำไฟส่องสว่าง 
    ชุดอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอีกหนึ่งอย่างคือ อุปกรณ์ส่องสว่างทั้งโคมไฟ หลอดไฟรถยนต์ โดยในตลาดหุ้นมีบจ.เจ้าตลาดอย่าง บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ STANLY ที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟส่องสว่างของรถยนต์อย่างครบวงจร ขณะที่ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟอีกหนึ่งเจ้าคือ บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ FPI  นอกจากนี้ FPI ยังผลิตอุปกรณ์อื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็น  กระจังหน้าและขอบไฟหน้ารถยนต์  กันชน และแผงใต้กันชน   สปอยเล่อร์ ชุดสเกิร์ท  ครอบกันชนหน้า  คิ้วล้อ เป็นต้น   
 
* ตกแต่งภายในไว้ใจ TKT
    บริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ TKT เป็นอีกหนึ่งเจ้าที่ผลิตอุปกร์กลุ่มประดับยนต์ โดยเฉพาะชิ้นส่วนพลาสติกที่ใช้ภายในห้องโดยสาร เช่น แผงหน้าปัด, ผนังพลาสติกภายใน, ชิ้นส่วนแผงประตู ขณะที่ชิ้นส่วนพลาสติกภายนอกรถยนต์ เช่น หน้ากระจัง , ฝาครอบล้อ , ยางกันโคลน  หรือ ชิ้นส่วนพลาสติกภายในห้องเครื่องยนต์ เช่น ฝาครอบเครื่องยนต์ , ชุดแผงยึดหม้อน้า เป็นต้น
 
* งานสายเคเบิ้ล ต้อง TSC 
    ระบบงานสายเคเบิ้ลต่างๆ ในรถเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญ และช่วยอำนวยความสะดวกสบายของผู้ใช้รถ บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน) หรือ TSC เป็นผู้ผลิต สายควบคุมระบบต่างๆ ภายในรถยนต์  อาทิเช่น สายเปิดฝากระโปรงหน้า – หลัง สายสตาร์ทเครื่องยนต์ สายคันเร่ง สายเกียร์ เป็นต้น รวมถึงชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์  ได้แก่ ชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ แบบใช้สายควบคุมสำหรับรถยนต์ทุกประเภท 
 
* EPG ก็ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์   
    ปิดท้ายด้วย บริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EPG แม้ว่าจะเป็นหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมี แต่หลายคนอาจจะไม่ทราบเลยว่า EPG มีส่วนธุรกิจที่เกี่ยวกับยานยนต์เช่นกัน ผ่านบริษัท แอร์โรคลาส จำกัด บริษัทย่อย และบริษัทร่วมในนาม แอร์โรคลาส  (Aeroklas) พื้นปูกระบะ   หลังคารถกระบะ ฝาครอบรถกระบะ บันไดข้างรถ