Tuesday, November 25, 2014

ทีดีอาร์ไอเตือนรับมือ'สังคมสูงอายุ'

ทีดีอาร์ไอเตือนรับมือสังคมสูงอายุ ชี้เกิดเต็มรูปแบบปี 2568-เร็วสุดในเอเชีย




นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ได้เสนอรายงาน เรื่อง "สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ : ความท้าทายละโอกาสของประเทศไทยในสามทศวรรษหน้า " ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2557 โดยเสนอให้รัฐเร่งหามาตรการรับสังคมสูงอายุ มีประเด็นดังนี้

สหประชาชาติได้พยากรณ์ไว้ว่าในสภาพสถานการณ์อัตราการเจริญพันธุ์ระดับปานกลาง ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ในช่วงประมาณปี 2025 เมื่อประชากร 20% กลายเป็นประชากรสูงอายุ (มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) และในปี ค.ศ. 2045 ประเทศไทยจะมีคนสูงอายุถึง 36% หรือมากกว่าหนึ่งในสามของประชากร

เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียแล้ว ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์เร็วกว่าหลายประเทศ ยกเว้นเฉพาะบางประเทศเช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งล้วนเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่เข้าสู่สังคมสูงอายุเร็วกว่าประเทศไทย โดยไทยจะมีจำนวนประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเท่ากับจำนวนประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมาในปี ค.ศ. 2025 ในขณะที่จีนจะเข้าสู่จุดดังกล่าวในปี ค.ศ. 2030 เวียดนามในปี ค.ศ. 2040 มาเลเซียในปี ค.ศ. 2050 ส่วนฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียจะยังไม่เข้าสู่จุดดังกล่าวก่อนปี ค.ศ. 2050 หรือเข้าสู่สังคมสูงอายุช้ากว่าไทยเกือบ 3 ทศวรรษ

การที่อัตราการเกิดของประชากรไทยลดลงยังมีผลทำให้จำนวนประชากรไทยในปี ค.ศ. 2045 ลดลงเหลือ เพียง 63.8 ล้านคน ซึ่งจะทำให้ไทยประสบกับสภาวะขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง นอกจากนี้ การที่ไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างรวดเร็ว ยังจะส่งผลทำให้ฐานะทางการเงินของกองทุนประกันสังคมมีปัญหาจนถึงขั้นล้มละลายในประมาณปี ค.ศ. 2045 หากไม่มีการปฏิรูประบบประกันสังคมอย่างทันกาล ซึ่งจะก่อให้เกิดภาระทางการคลังอย่างมาก เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่คนวัยทำงานซึ่งจะเป็นผู้จ่ายภาษีมีจำนวนที่ลดลง

การเข้าสู่สังคมสูงอายุจะทำให้ประเทศไทยประสบกับปัญหาต่างๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อคนไทยเป็นอย่างมาก หากประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจจนมีรายได้พ้นระดับรายได้ปานกลาง หรือที่เรียกกันว่า “ติดอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง” เพราะเราจะกลายเป็นประเทศที่ “แก่ก่อนรวย” และ “แก่โดยยังไม่มีระบบสวัสดิการสังคมรองรับอย่างเพียงพอ”

นายสมเกียรติ กล่าวว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วที่สุดในทวีปเอเชีย โดยคาดว่าจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบในปี 2568 และในปี 2588 จะมีประชากรผู้สูงอายุเป็น 36% ของประชากรทั้งหมด

"ในอนาคตเราจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ และเร็วกว่าเพื่อนบ้านในเอเชีย ตามหลังญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่ข้อแตกต่างคือทั้ง 2 ประเทศพวกเขารวยก่อนจะแก่ แต่ประเทศไทยเรายังติดกับดักรายได้ปานกลาง และทำให้พวกเราจะแก่ก่อนที่จะรวยได้"

นายสมเกียรติ กล่าวว่าเพื่อให้เห็นถึงโฉมหน้าของเศรษฐกิจไทยในอนาคต และความท้าทายต่างๆ จึงประเมินว่าภาพสถานการณ์ที่เป็นไปได้ (possible scenario) ใน 3 ทศวรรษหน้า 3 สถานการณ์คือ

1. “ประเทศไทยไปเรื่อยๆ”

2. “ประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า”

3. “ประเทศเกษตรทันสมัยและบริการฐานความรู้”

จากการศึกษาพบว่าหากประเทศไทยเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ในอีก 30 ปีข้าวหน้า หรือในปี 2587 เราจะมีรายได้ต่อหัวที่ 17,016 ดอลลาร์ อัตราการเติบโตเฉลี่ย 3.55% ต่อปี เราจะก้าวผ่านกับดักรายได้ปานกลางในปี 2579 หลังจากที่เราเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ แรงงานในระบบคิดเป็น 60% ทั้งหมด เราจะมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มจากอุตสาหกรรม 49.8% บริการ 45.8% เกษตร 4.4%

อย่างไรก็ตามหากมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เข้ามาอาจทำให้ไทยพ้นกับดักรายได้ปานกลางช้าลง โดยหากมีภาระการคลังจากการรักษาพยาบาลจะล่าช้าออกไป 2 ปี มีต้นทุนจากนโยบายประชานิยมปีละ 1 แสนล้านบาทจะล่าช้าไป 4 ปี มีวิกฤติสถาบันการเงินจะล่าช้าไป 4 ปีและหากมีปัญหาการเมืองจะช้าแบบประมาณการไม่ได้

ชี้2ทางเลือกดันไทยพ้นกับดักรายได้ปานกลาง

นายสมเกียรติ กล่าวว่า ทางเลือกของไทย มี 2 ทางคือ 1. เป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าโดยพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาวิศวกรและช่างเทคนิคเน้นทักษะเฉพาะคุณภาพสูง จูงใจให้เอกชนพัฒนาและวิจัยมากขึ้น แต่สิ่งที่ไม่ควรทำคือการดึงดูดแรงงานจากต่างประเทศที่ไร้ทักษะมาทำงานในไทย ซึ่งหากสามารถทำได้จะทำให้ใน 30 ปีข้างหน้าเราจะมีรายได้ 23,736 ดอลลาร์ต่อคน อัตราการเติบโตที่ 4.59 % จะพ้นกับดักรายได้ปานกลางในปี 2571

ส่วนอีกทางเลือกหนึ่งนั้นคือการพัฒนาสังคมไปยังเกษตรทันสมัยและบริการฐานความรู้ โดยให้ภาคการเกษตรส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนสู่เกษตรทันสมัยใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ และมีการพัฒนาและวิจัยพันธุ์พืชโดยใช้เกษตรประณีต เช่น อินทรีย์เป็นองค์ประกอบเสริมโดยสิ่งที่ควรทำคือการบริหารแหล่งน้ำให้มีประสิทธิภาพลงทุนพัฒนาและวิจัยพันธุ์พืช

แต่สิ่งที่ไม่ควรทำคือการอุดหนุนราคาสินค้าเกษตรในระดับสูงส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรขนาดใหญ่โดยนโยบายรัฐและระวังคอนแทคฟาร์มมิ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง หากสามารถจะทำให้รายได้ใน 30 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 28,402 ดอลลาร์ต่อคนอัตราการเติบโตอยู่ที่ 5.21% ต่อปี ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางอยู่ที่ 2571

การเปลี่ยนผ่านไปสู่อนาคตที่พึงปรารถนาดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้สำเร็จก็ต่อเมื่อมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 4 ประการเกิดขึ้นคือ

ทุนมนุษย์ : ความท้าทายที่สำคัญที่สุดคือ การพัฒนาทุนมนุษย์(human capital) ให้มีคุณภาพสูง โจทย์สำคัญก็คือ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตก้าวหน้าต้องการทักษะเฉพาะ แต่แรงงานไทยเปลี่ยนงานบ่อย ทำให้ไม่สามารถสะสมทักษะเฉพาะในระดับสูงได้ ในขณะเดียวกัน ภาคบริการฐานความรู้ต้องการทักษะทั่วไป แต่ระบบการศึกษาของไทยตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงอุดมศึกษายังมีคุณภาพต่ำ แนวทางที่เหมาะสมในการตอบรับความท้าทายดังกล่าวคือ การพัฒนาให้ประชาชนไทยมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st century skill) และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของประชาชน

เงินทุน: การจัดสรรเงินทุนในระบบเศรษฐกิจจะต้องจูงใจให้เกิดกิจกรรมที่เพิ่มผลิตภาพเช่น การทำวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการสร้างนวัตกรรม ซึ่งต้องการเงินทุนสนับสนุนในหลายรูปแบบทั้ง เงินให้เปล่า (grant) จากภาครัฐ สินเชื่อ (credit) จากธนาคารพาณิชย์และเงินร่วมลงทุนเพื่อเริ่มกิจการ (venture capital) จากนักลงทุน ทั้งนี้ตามระดับความเสี่ยงของกิจกรรม

การบริหารจัดการ: การบริหารจัดการภาครัฐจะต้องเป็นไปเพื่อสนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพ โดยรัฐจะต้องมีขนาดไม่ใหญ่เกินไป และมีหน้าที่ที่เหมาะสมคือเสริมการทำงานของตลาด มีวินัยทางการเงินการคลังและมีธรรมาภิบาล ซึ่งหมายถึง มีความโปร่งใส (transparency) เปิดให้มีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ (participation) และมีความพร้อมรับผิด (accountability) ซึ่งรวมถึงมีประสิทธิภาพในการให้บริการ

ตลาด: ประเทศไทยจำเป็นจะต้องพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศแห่งการค้า (trading nation) ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (open economy) โดยเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ การเชื่อมโยงดังกล่าวอาจเริ่มต้นจากการเชื่อมโยงกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ก่อน


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20141125/619592/%C2%B7%D5%B4%C3%95%C3%8D%C3%92%C3%83%C3%AC%C3%A4%C3%8D%C3%A0%C2%B5%C3%97%CD%B9%C3%83%D1%BA%C3%81%C3%97%C3%8D%C3%8A%D1%A7%C2%A4%C3%81%C3%8A%D9%A7%C3%8D%C3%92%C3%82%C3%98.html

Tuesday, November 18, 2014

KTC Q3'57

KTC Q3'57

  • ประกาศ Operating Net Profit = 504 MB (EPS=1.95 bps)
  • Top line รวมโต 10% yoy (Credit card 7.5%, Loan 12%)
  • NPL 2.7% (reduce from 3.9% yoy)
  • หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ = 1,159 MB (ลดลง 5% QoQ)
  • หนี้สูญได้คืน = 452 MB (เพิ่ม 21% yoy)
  • Operating Cost to Income = 27.4% (ระดับเหมาะสม 27%-29%)
  • Marketing Cost = 267 MB (Q3'56 = 190 MB)






From Oppday (17 Nov 2014)

  • 2015 ตั้งเป้าโต 10% (หมอบอก conservative มาก) อยากตั้ง 15% แต่พลาดมาหลายปี เลยตั้งลดลง
  • KTC Proud จะเป็นตัว driver กำไร ตัวนึงในปี 2015 เพราะในตลาดถือว่าแข็งแกร่ง แต่ยังไม่ expand ปีหน้าจะ expand แล้ว
  • หนี้สูญ จะอยู่ในระดับนี้ ไม่มาก ไม่น้อยกว่านี้
  • การเปิด AEC ไม่มีผลอะไร

  • Spending Q4'57 ยังคง beat Industry แน่นอน (Q3'57 ผลงานดีมาก ๆ เกิดโมเมนตัมที่เห็นได้ชัดมาก ๆ ๆ)


การเป็นที่ 1 ในปี 2561 (2018)

  • Market share อยู่ที่ปะมาน 10%
  • ที่ 1,  Market share อยู่ที่ปะมาน 20%
  • มองในแง่ most trusted brand อยู่อันดับ 3-4
  • มองในแง่ spending, No. of Card, account receivable ไม่ติด Top3
  • มองในแง่ Net Operating Profit อยู่อันดับ 1


Valuation



ถ้าลงมาถึง 60 baht ถือว่า น่าเก็บมาก ๆ ๆ


Tuesday, November 4, 2014

Lewis Turning Point โดย ดร.นิเวศน์ (as of Nov 4' 14) & ข้อมูลปลากรอบ



สำหรับนักลงทุนระยะยาว การคาดการณ์ได้ถูกต้องว่าประเทศที่ตนเองลงทุน จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตอย่างไร

นับว่ามีประโยชน์มาก คือ จะได้รู้ว่าบริษัทจดทะเบียนที่จะลงทุน มีการเติบโตเร็วขึ้น หรือช้าลง และอาจจะหยุดโตเมื่อไรตามภาวะเศรษฐกิจ ประเทศหรือสังคมที่เศรษฐกิจไม่โต โอกาสก็ยากที่ดัชนีหุ้นของประเทศจะปรับตัวขึ้นไปได้มาก


ตัวอย่าง ตลาดหุ้นในยุโรปและญี่ปุ่น ที่ไม่ไปไหนมานานตามภาวะเศรษฐกิจที่โตน้อยมากมานาน ย่อมยืนยันได้ดี ประเด็นอยู่ที่เราจะคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างไร? เรื่องนี้ผมคิดว่า โมเดลของ Arthur Lewis นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบิล ที่ตีพิมพ์ผลการศึกษาเรื่องของการพัฒนาทางเศรษฐกิจตั้งแต่ 60 ปีที่แล้วสามารถจะอธิบายได้ดี


แนวความคิดของ Lewis คือ ในสังคมที่มีคนอยู่ในสองภาค ภาคหนึ่งคือสังคมแบบ "ทุนนิยม" เช่นในเมืองหลวง หรือเมืองท่าขนาดใหญ่ กับอีกภาคหนึ่ง คือ สังคมแบบ "พออยู่พอกิน" เช่นในชนบท หรือในต่างจังหวัดที่ห่างไกล กระบวนการการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จะเริ่มต้นโดยที่โรงงานอุตสาหกรรม หรือธุรกิจจะลงทุนขยายงานโดยมี "แรงงานส่วนเกินที่ไม่จำกัด" จากชนบท


ดังนั้น พวกเขาจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าแรงเพิ่ม ทำให้ธุรกิจมีกำไรดีกว่าปกติ และกำไรที่ได้ก็นำไปลงทุนขยายงานเพิ่ม โดยสามารถดึงคนจากชนบทมาทำงานโดยไม่ต้องจ่ายค่าแรงเพิ่ม กระบวนการนี้ทำให้ประเทศพัฒนาก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นเศรษฐกิจทุนนิยมสมัยใหม่ จุดที่แรงงานในภาคพออยู่พอกินถูก "ดูดซับ" ไปหมดและการลงทุนเพิ่มต่อไปจะทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นนั้นก็คือจุดที่เรียกว่า "Lewis Turning Point" ( LTP)


ณ จุด LTP ค่าแรงจะเพิ่มขึ้นรวดเร็ว การหาแรงงานจะยากขึ้นมาก อุตสาหกรรมที่ต้องจ่ายค่าแรงสูงขึ้น ทำให้การลงทุนคุ้มค่าน้อยลง เพราะผลตอบแทนต่ำลงส่งผลให้การขยายการลงทุนของประเทศลดลง ผลคือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จะชะลอลงกว่าที่เคยเป็น การที่จะทำให้ประเทศเจริญเติบโตต่อไป ต้องอาศัยแรงงานใหม่ คือ คนที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นแรงงานใหม่ แต่โดยปกติมักจะไม่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด เหมือนการเคลื่อนย้ายคนจากภาคเกษตรในต่างจังหวัดอยู่แล้ว


อีกวิธีหนึ่ง คือ การเพิ่ม Productivity หรือผลิตภาพของแรงงานให้มีความสามารถในการทำงานสูงขึ้น ซึ่งอาจจะใช้การเพิ่มสัดส่วนของเครื่องจักร เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน และอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่าสูงขึ้น เรื่องเหล่านี้ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ เหมือนกับการดึงคนที่มีค่าแรงต่ำจากภาคเกษตรมาทำงาน


ประเทศที่นักเศรษฐศาสตร์ เชื่อว่า มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจตรงกับโมเดลของ Arthur Lewis คือจีน ส่วนตัวผมเชื่อว่า ไทย ก็เป็นแบบเดียวกัน ว่า เศรษฐกิจของเรากำลังมุ่งเข้าสู่ "จุดกลับของลิวอิส" หรือ LTP ซึ่งหมายความว่า การเจริญเติบโตเศรษฐกิจ อาจช้าลงเมื่อเทียบกับอดีต "อย่างถาวร"


สิ่งที่ทำให้เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น คือ ปัจจุบันการหาแรงงานของไทยยากขึ้นมาก จนต้องนำเข้าแรงงานจากเพื่อนบ้านจำนวนมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ค่าแรงปรับตัวขึ้นรวดเร็วในเร็วๆ นี้ และว่ากันว่าในชนบทของไทย เวลานี้มีแต่คนแก่กับเด็ก อัตราการว่างงานของไทยต่ำมากจนแทบเป็นศูนย์ ส่วนคนหนุ่มสาวต่างก็เข้ามาทำงานในเมืองกันหมด จีนเองก็มีอาการแบบเดียวกัน ที่ค่าแรงปรับตัวขึ้นสูง จากที่เคยต่ำมากจนเวลานี้สูงกว่าค่าแรงของไทยไปแล้ว


ที่หนักไปกว่านั้นคือ Demography หรือโครงสร้างประชากรของจีนและไทย ต่างไม่เอื้อต่อการที่ประชากรวัยทำงานจะเพิ่มขึ้น มีการศึกษา และพบว่า ประชากรในวัยทำงานทั้งของจีนและไทย จะเพิ่มขึ้นอีกไม่กี่ปี หลังจากนั้นลดลง คาดการณ์กันว่า อาจจะภายในปี 2569-2568 หรืออีก 6-11 ปี จีนอาจจะถึงจุด LTP ส่วนของไทย ผมคิดว่าไม่ต่างกันมาก ถ้าเป็นอย่างนั้น และไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น เช่นการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพของแรงงาน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ จะช้าลงมาก


โครงสร้างประชากรของจีน กล่าวกันว่ามีความผิดเพี้ยนไปอย่างแรงตรงที่มีนโยบาย "ลูกคนเดียว" มานาน ทำให้จำนวนเด็กเกิดใหม่ช่วงเวลานั้น มีน้อยลงไปมาก แม้ขณะนี้เริ่มปรับในบางเขตของประเทศ ก็ไม่น่าทันกาล ส่วนของไทย การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน "รุ่นใหม่" ทำให้เรามีลูกน้อยลง ผมดูตัวเลขประชากรของไทยกับของจีน ปรากฏว่าต่างก็มีโครงสร้างประชากรใกล้เคียงกันมากทั้งๆ ที่เราไม่ได้มีนโยบายลูกคนเดียวแบบจีน


นั่นคือ เรามีเด็กอายุ 0-14 ปี 17.6% ในขณะที่จีนมี 17.1% อายุ 15-24 ปี เรามี 15% ในขณะที่จีนมี 14.7% ด้านคนสูงอายุ ตั้งแต่ 55-64 ปี เรามี 10.9% ขณะที่จีนมี 11.3% และคนที่เกษียณแล้วที่ 65 ปีขึ้นไป เรามี 9.5% ขณะที่จีนมี 9.6% ที่จริงทั้งไทยและจีนต้องบอกว่ากำลังเป็นสังคม "คนแก่" ของเอเชีย ขณะที่ "คู่แข่ง" ในอาเซียน ต่างยังเป็นสังคมของคน "หนุ่มสาว"

ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่น่าจะ "เด็ก" ที่สุด เพราะมีเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี สูงถึง 33.7% ของประชากร หรือเกือบเท่าตัวของไทย ขณะที่คนแก่อายุเกิน 65 ปี ที่เกษียณแล้วมีแค่ 4.5% หรือน้อยกว่าครึ่งของไทย รองลงมาคือมาเลเซียที่มีเด็ก 28.8% และคนแก่แค่ 5.5% ตามด้วยอินโดนีเซีย ที่มีเด็ก 26.2% และคนแก่ 6.5% ทั้งหมดมาจากเรื่องของศาสนา ที่ห้ามคุมกำเนิดทำให้มีประชากรเกิดมาก


ส่วนเวียดนาม ซึ่งไม่ได้มีข้อห้ามคุมกำเนิด ก็ค่อนข้างเป็นสังคมคนหนุ่มสาวมีเด็ก 24.3% และคนแก่ 5.7% ในส่วนของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้ว แม้อ่อนกว่าไทยเล็กน้อย แต่ตัวเลขเด็กเกิดใหม่ลดลง ปัจจุบันมีคนแก่ 8.5% แต่มีเด็ก 13.4% ทำให้สิงคโปร์ต้องรณรงค์ให้คนมีลูกมากขึ้น


ประเทศคู่แข่ง และ "คู่ค้า" ที่อยู่รอบบ้านเรานี้ กำลังมาแรงในด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พวกเขายังห่างจากจุด LTP มาก ว่าที่จริงหลายประเทศเพิ่งจะเริ่มพัฒนาทางเศรษฐกิจ และอาศัยแรงงานที่มีค่าแรงถูกที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด ไทยเองใกล้ หรืออาจจะถึงจุด LTP แล้ว


ดังนั้น การจะเจริญเติบโตรวดเร็ว จึงต้องการแรงงานเพิ่ม ปัจจุบัน คือ แรงงานต่างด้าวเป็นหลัก เพราะเป็นเรื่องยากที่จะเพิ่มคนโดยการกระตุ้นให้คนไทยมีลูกมากขึ้นหรือเปิดรับคนเข้าเมืองแบบ สหรัฐหรือออสเตรเลีย การเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะช่วยสร้างความ "อยู่ดีกินดี" ของประชาชนอย่างแท้จริง


นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยการศึกษาที่ดีของประชากรและอื่นๆ อีกมาก รวมถึงการจัดการและลงทุนด้านสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยรัฐบาลที่มีเสถียรภาพและมองการณ์ไกล จึงเป็นสิ่งที่ไทยยังไม่พร้อมนัก


สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่าเมืองไทย เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่จะ "รวม" เป็นเออีซีปีหน้า เราคงเสียเปรียบ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวเราคงสู้ไม่ได้ และผลที่ตามมา คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้น อาจจะไม่ดีนัก บริษัทจดทะเบียนไทย ที่รุกเข้าไปในเออีซี อาจเติบโตได้ดีและรุ่งเรืองได้ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจไทยอาจไม่โดดเด่นนัก นอกจาก "ซูเปอร์สต็อก" อีกวิธีหนึ่งที่จะอยู่รอด และสร้างผลตอบแทนที่ดีระยะยาว คือ เข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านั้นโดยตรง

Monday, November 3, 2014

SET status as of Nov 3 '14



SET Index = 1579
 PE = 18.73
 (Thai Government 10 year Bond = 3.56% as per Sep 2014)
 Yield Gap = 1.78% (ต่ำกว่า 1.8% ควรระวัง!!!)



Billy B. = Bull หลังจากเกือบ sick bull ระหว่างเดือนที่ผ่านมา (ถ้าประมาณ 1500 จะเป็น sick bull, Margin ควรไม่มี)

 O'Neil   = เพิ่งปรับเป็น Uptrend หลังจาก Downtrend ร่วมเดือน

  % SET compare to EMA50 = 1579 vs 1552 = 1.7% (ถ้า 5% ถือว่าค่อนข้าง peak ทีเดียว!!!)