Wednesday, November 25, 2020

BFIT as of End Nov2020

 BFIT as of End Nov2020

Bad

  - Loan Port ลดลงต่อเนื่อง from 18000 to 13000 MB 

(จากการปรับ port  เอาไป re-contact ปล่อยที่ FM or S2014 ??) 

  - เดิม port 18000 มี Land 7000 , Car 11000 แต่ Car ไม่รู้สัดส่วน high vs low yield

  - กำไรรายเดือน Oct'20 เหลือแค่ 93 MB

 

Wait

- การแบ่ง port ที่ชัดเจน หลังจาก sawad ประกาศ 2 big deals  คาดการณ์ดังนี้

         - S2014 (sawad hold 99%) ทะเบียนรถ ดอกเบี้ย max 24% 

         - FM (sawad hold 51%) ทะเบียนรถ ดอกเบี้ย max 18%

         - BFIT (sawad hold 82%) Land & Car ดอกเบี้ย max 36%


- New ประธานกรรมการ with Good Public information

- การ Funding (BFIT มี rate BBB+) หลังจากใช้หนี้ sawad จนหมด (เหลือแค่ 500 MB) 

- BFIT มีเงิน 4000 MB อยู่รายการระหว่าง banking จะใช้ยังไง ??  






Tuesday, November 10, 2020

ETF (Exchange Trade Fund)

 ETF (Exchange Trade Fund)

mail from Jitta

ทราบไหมครับว่า ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 บริษัท Berkshire Hathaway ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ย่องเข้าซื้อกองทุน ETF อย่าง Vanguard S&P 500 ETF (VOO) เเละ SPDR S&P 500 ETF Trust (SPY) แบบเงียบๆ รวมมูลค่า $25 ล้าน

นับเป็นครั้งแรกที่ Berkshire ลงมาเล่นตลาด ETF!

จู่ๆ ทำไมบริษัท Berkshire Hathaway ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ถึงมาซื้อกองทุน ETF ทั้งๆ ที่ปู่เคยบอกว่า การเอาเงินไปลงกองทุนแบบ ETF “อาจจะเป็นการจำกัดโอกาสการลงทุนของ Berkshire ก็ได้

ก่อนจะตอบคำถามนี้ได้ มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า กองทุน ETF คืออะไร และมีจุดเด่นอย่างไรบ้าง

กองทุน ETF คืออะไร

ETF หรือ Exchange Traded Fund คือ กองทุนที่มีนโยบายลงทุนตามดัชนีต่างๆ เพื่อสร้างผลตอบเเทนใกล้เคียงการเคลื่อนไหวของดัชนีที่อ้างอิงมากที่สุด และสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดได้เหมือนหุ้น

พูดง่ายๆ ก็คือ กองทุน ETF นั้น ก็เหมือนลูกผสมระหว่างกองทุนรวมดัชนีกับหุ้นนั่นเอง

ซึ่งความนิยมของกองทุนดัชนีแบบ passive มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เงินลงทุนไหลออกจากกองทุนแบบ active ถึง $1.85 แสนล้าน และไหลเข้ากองทุนแบบ passive ถึง $3.8 ล้านล้าน

จากที่เคยครองสัดส่วนตลาดอยู่ถึง 78.3% ตอนนี้กองทุนที่บริหารจัดการแบบ active กินส่วนแบ่งตลาดเพียง 59% หากแนวโน้มยังเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ อีกไม่นาน กองทุน passive ก็จะขึ้นมาครองโลกแน่นอน

เพราะกองทุนรวมดัชนีนั้น พิสูจน์แล้วว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่งอกเงยในระยะยาวได้ โดยมีค่าธรรมเนียมต่ำ และกระจายความเสี่ยงให้อยู่แล้ว

จุดเด่นของกองทุน ETF

อย่างไรก็ตาม กองทุน SPDR S&P 500 ETF Trust ก็ถือกำเนิดขึ้นในปี 2536 เป็นกองทุน ETF กองแรก ที่ออกมาแล้วดังเป็นพลุแตก และยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนการซื้อขายสูงเป็นอันดับต้นๆ และเป็นกองทุนเดียวกับที่ Berkshire Hathaway เพิ่งซื้อไป

ปรากฏว่ากองทุน ETF กระแสตอบรับดียิ่งกว่ากองทุนรวมดัชนีเสียอีก เพราะซื้อขายสะดวกสบายมาก คุณเห็นราคาหุ้นอัปเดตแบบทันที และสามารถเข้าซื้อขายผ่านตลาดหุ้นได้เลย ไม่ต้องรออัปเดตราคาตอนสิ้นวัน

ต่างจากกองทุนรวมดัชนี ที่คุณกำหนดราคาหรือเวลาที่จะซื้อไม่ได้ เพราะในความเป็นจริงแล้ว เมื่อคุณซื้อกองทุนรวม ผู้จัดการกองทุนไม่ได้นำเงินคุณไปลงทุนโดยทันที แต่จะต้องรอสิ้นวันตอนตลาดใกล้ปิด ราคาที่คุณซื้อก็จะเป็นราคาเดียวกับคนอื่นๆ ที่ซื้อกองทุนในวันเดียวกัน แม้คุณจะกะจังหวะซื้อตอนราคาตกก็ตาม

นอกจากนี้ กองทุน ETF ยังมีค่าธรรมเนียมต่ำกว่ากองทุนรวมดัชนี ทำให้เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างกองทุนรวมดัชนีที่อ้างอิง S&P 500 และกองทุน ETF ที่อ้างอิง S&P 500 คุณจะเห็นได้ชัดเจนว่ากองทุน ETF ทำผลตอบแทนได้ใกล้เคียงดัชนีตลาดมากกว่า

ปัจจุบัน มีกองทุน ETF ทั่วโลกเกือบ 7,000 กองทุน และไม่ได้อ้างอิงแค่ดัชนีตลาดหุ้นเท่านั้น แต่ยังอ้างอิงดัชนีอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นดัชนีพันธบัตรรัฐบาล ดัชนีหุ้นกู้ ดัชนีทองคำ และดัชนีน้ำมัน เป็นต้น

เป็นตัวเลือกการลงทุนที่หลากหลาย เลือกได้ตามที่คุณต้องการ ทั้งยังซื้อขายสะดวก ค่าธรรมเนียมต่ำ และมาพร้อมการกระจายความเสี่ยงในตัว ช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณสร้างผลตอบแทนดีตามการเติบโตของตลาด แม้จะไม่ได้เป็นกูรูด้านการลงทุนก็ตาม

หากคุณสนใจกระจายความเสี่ยง ลงทุนต่างประเทศผ่านกองทุน ETF ผมขอเสนอบริการใหม่จาก Jitta Wealth

Global ETF ที่ลงทุนใน ETF สินทรัพย์คุณภาพดีทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นหุ้น หุ้นกู้เกรดดี และพันธบัตรรัฐบาล พร้อมจัดพอร์ตและปรับพอร์ตอัตโนมัติตามทฤษฎีรางวัลโนเบล เริ่มต้นเพียง 100,000 บาท


Tuesday, November 3, 2020

วิกฤติเศรษฐกิจไทยตอนนี้ ต่างกับ วิกฤติปี 40 อย่างไรบ้าง? / โดย ลงทุนแมน

 วิกฤติเศรษฐกิจไทยตอนนี้ ต่างกับ วิกฤติปี 40 อย่างไรบ้าง? / โดย ลงทุนแมน

ในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย เจอกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง
ครั้งแรก คือ วิกฤติต้มยํากุ้งในปี พ.ศ. 2540
และครั้งที่ 2 ก็คือ วิกฤติเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด 19 ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับเหตุการณ์วิกฤติซับไพรม์ที่เกิดขึ้นในประเทศฝั่งสหรัฐอเมริกาและยุโรป ในปี พ.ศ. 2551 ในตอนนั้นประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบมาก เท่า 2 วิกฤตินี้
แน่นอนว่า สิ่งที่เหมือนกันของทั้ง 2 วิกฤตินี้
คือส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยตกต่ำอย่างหนัก
แล้วความแตกต่างกันของทั้ง 2 วิกฤตินี้ คืออะไร?
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟัง

เริ่มต้นที่วิกฤติต้มยํากุ้งในปี พ.ศ. 2540

รู้ไหมว่า ก่อนหน้าที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งขึ้นนั้น
ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงยุคทองของการลงทุนเลยทีเดียว
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
ประเด็นแรก คือ การเกิดขึ้นของโครงการ Eastern Seaboard ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529)
รัฐบาลในขณะนั้นต้องการเปลี่ยนอุตสาหกรรมเบาในภาคตะวันออก ให้มาเป็นอุตสาหกรรมหนัก และอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศในระยะยาว
ประเด็นต่อมา คือ หลังจากการที่ญี่ปุ่นทำข้อตกลง “Plaza Accord” กับสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งหนึ่งในข้อตกลงนั้น คือญี่ปุ่นต้องยอมให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งการที่เงินเยนแข็งค่ากระทบกับภาคการส่งออกของญี่ปุ่นอย่างมาก
เมื่อเป็นแบบนี้ บริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากจึงต้องมองหาประเทศมีค่าต้นทุนแรงงานต่ำ เพื่อตั้งโรงงานการผลิตซึ่งจะช่วยให้สินค้าของญี่ปุ่นนั้นสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
และประเทศไทยก็คือคำตอบนั้น..
บริษัทญี่ปุ่นเริ่มหลั่งไหลเข้ามาในไทย พร้อมด้วยเม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาล ซึ่งทำให้การจ้างงานและการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในตอนนั้น
ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยที่ว่ามานี้ เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จนทำให้ในระหว่างปี พ.ศ. 2525-2539 เศรษฐกิจไทยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงปีละ 8%
ทำให้ประเทศไทยในตอนนั้น ได้รับการขนานนามว่าจะเป็น “เสือตัวที่ 5 แห่งเอเชีย” ต่อจาก 4 เสือเดิมคือ ฮ่องกง, เกาหลีใต้, สิงคโปร์ และไต้หวัน
เศรษฐกิจไทยที่โตระเบิดขณะนั้น ทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เนื้อหอม
นักลงทุนจำนวนมากจากต่างประเทศ ต้องการปล่อยกู้ให้ทั้งรัฐบาลไทย และบริษัทเอกชนต่างๆ ซึ่งก็ตรงกับความต้องการของรัฐบาลไทยและบริษัทเอกชนในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
รัฐบาลไทยในขณะนั้น ต้องการทำให้ประเทศเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาค
จึงได้มีการจัดตั้ง กิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) ขึ้นในปี พ.ศ. 2536 เพื่อทำหน้าที่กู้ยืมเงินจากต่างประเทศแล้วนำมาปล่อยกู้ต่อทั้งในและนอกประเทศไทย และอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งสามารถจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจได้เช่นกัน
ฝั่งภาคเอกชนเองก็มีการกู้เงินจากต่างประเทศจำนวนมาก เพื่อมาขยายธุรกิจและมาลงทุนขยายกิจการ
ซึ่งในเวลานั้นไม่ค่อยมีใครกังวลเรื่องความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
เพราะเหตุผลสำคัญคือ ในตอนนั้นประเทศไทย ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบ “คงที่”
หมายความว่า ไม่ว่าจะกู้เงินจากต่างประเทศเท่าไร ค่าเงินบาทต่อสกุลเงินต่างประเทศก็จะไม่เพิ่มค่า หรือลดค่าลงแม้แต่น้อย
เมื่อรวมกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศที่ถูกกว่าในประเทศเกือบเท่าตัว สิ่งเหล่านี้ก็ยิ่งเป็นสิ่งจูงใจ ให้ภาครัฐและเอกชนไทยกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ไปใช้จ่ายเกินตัว อย่างเช่น กู้เพื่อนำเงินไปเก็งกำไรในตลาดหุ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์
ราคาสินทรัพย์ ดัชนีหุ้นไทย เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น “ฟองสบู่”
แล้วสัญญาณเลวร้ายก็เริ่มเผยให้ได้เห็น..
ช่วงปี พ.ศ. 2540 การส่งออกของไทยเริ่มชะลอตัวลง
ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเริ่มขาดดุลมากขึ้น
เจ้าหนี้เริ่มต้องการเงินกู้คืน
เงินทุนทยอยไหลออกจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
เรื่องที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องนำเงินสำรองระหว่างประเทศมาซื้อเงินบาท เพื่อพยุงค่าเงินบาทเอาไว้ จนเงินสำรองระหว่างประเทศเริ่มลดน้อยลงทุกที
จนธนาคารแห่งประเทศไทยช่วยพยุงไม่ไหว
สุดท้ายก็ต้องปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว
ซึ่งทำให้จากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงต่ำสุดถึง 56 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
การอ่อนค่าของเงินบาท ทำให้รัฐบาล บริษัทไทย และคนที่ไปกู้เงินจากต่างประเทศบางส่วนถึงขนาดล้มละลาย
ซึ่งถ้าเรามองให้ลึกลงไปจะพบว่า วิกฤติในครั้งนั้นเกิดขึ้นกับบริษัทขนาดใหญ่และนักธุรกิจที่ร่ำรวย มากกว่าจะเกิดกับบริษัทขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือชาวบ้านธรรมดา เนื่องจากกลุ่มนักธุรกิจรายใหญ่ สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศได้ง่ายกว่า
อย่างไรก็ตาม หลังวิกฤติครั้งนั้นเกิดขึ้น
การอ่อนค่าของเงินบาท ก็ทำให้ภาคการส่งออกของไทยกลับมาเติบโต
GDP ภาคการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 1.4 ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. 2539 มาเป็น 2.8 ล้านล้านบาท ในปี พ.ศ. 2543 หรือเติบโตกว่าเท่าตัวในระยะเวลาเพียงแค่ 4 ปี
การอ่อนค่าของเงินบาทยังช่วยกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวของประเทศให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2539 เท่ากับ 7.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นจนมากกว่า 10 ล้านคนในปี พ.ศ. 2544 เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาตินั้นถูกลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
อีกด้านหนึ่งหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของประเทศในขณะนั้นอยู่ในระดับเพียง 50% ทำให้ประชาชนยังมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวได้เร็ว
แม้ว่าวิกฤติในครั้งนั้นทำให้ GDP ของไทยติดลบไปถึง 7.6% ในปี พ.ศ. 2541 แต่ก็เริ่มกลับมาเป็นบวกได้อีกอย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปี เท่านั้น



คราวนี้ มาดูที่วิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันกันบ้าง

จากการระบาดของโควิด 19 ที่เริ่มรุนแรงขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา
แม้ประเทศไทยจะไม่ได้เป็นจุดศูนย์กลางของวิกฤติเหมือนครั้งก่อน
แต่วิกฤติที่เกิดครั้งนี้ เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังชะลอตัวมาหลายปีแล้ว
ซึ่งต่างจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วมาอย่างยาวนาน
และดูเหมือนว่า ในครั้งนี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ได้ขยายวงกว้างออกไปกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง
ทั้งบริษัทขนาดเล็ก ธุรกิจ SMEs และประชาชนคนทั่วไป ได้รับผลกระทบกันเกือบทุกคน จากการที่รัฐบาลต้องใช้มาตรการต่างๆ เช่น เว้นระยะห่างทางสังคม การล็อกดาวน์ในบางช่วงบางพื้นที่ และการปิดประเทศ
การระบาดของโควิด 19 ยังส่งผลกระทบกับหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งบางแห่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย
และที่สำคัญคือ การท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมานานหลายปี ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการไม่เดินทางมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ในปี พ.ศ. 2562 ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทย มีมูลค่ารวมกันกว่า 10.6 ล้านล้านบาท ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของ GDP ประเทศไทย โดยในปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยกว่า 39 ล้านคน คิดเป็นกว่า 5 เท่าเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2540
เมื่อทั้ง 2 เครื่องจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก แน่นอนว่าเศรษฐกิจไทยก็ตกต่ำลงไปอย่างหนักด้วย
และการตกต่ำของเศรษฐกิจในรอบนี้ ตามมาด้วยปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนต่อ GDP ของประเทศ ที่อยู่ในระดับสูงกว่า 80%
ซึ่งถ้าเทียบกับช่วงที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่สัดส่วนนี้ อยู่ที่เพียง 50% ก็ถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดของภาคครัวเรือนในการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้เร็ว
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ ประชากรไทยกำลังแก่ตัวลงอย่างต่อเนื่อง
โดยอายุเฉลี่ยของประชากรไทยในวันนี้เท่ากับ 40 ปี
ขณะที่ตัวเลขดังกล่าวเมื่อครั้งที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งเท่ากับ 27 ปี เท่านั้น
อายุเฉลี่ยของประชากรไทยที่เพิ่มขึ้น ก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้การบริโภคและการลงทุนลดลงจากเดิม ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ไปข้างหน้า
สรุปแล้ว ถามว่าวิกฤติเศรษฐกิจในตอนนี้ แตกต่างกับเมื่อปี 40 อย่างไร
ก็ต้องบอกว่า ในแง่ของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากวิกฤติในครั้งนี้ อาจมีความยาก และเป็นเรื่องท้าทายมากกว่าวิกฤติในปี 40
วันนี้ยังไม่มีใครรู้ว่า ประเทศไทยจะสามารถกลับไปส่งออกได้เหมือนเดิมเมื่อไร
วันนี้ยังไม่มีใครรู้ว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติ จะกลับมาได้อีกครั้งตอนไหน
คำถามที่สำคัญก็คือ
เราจะร่วมมือกันวางแผน และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
เพื่อให้ทุกคน และประเทศไทย ผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้..

Monday, November 2, 2020

Set status as of Nov 02, 2020

 Set status as of Nov 02, 2020

SET Index = 1202  PE = 20.80  (Thai Government 10 year Bond = 1.42% as per  Sep2020)
Yield Gap =   3.39%

 Billy B. =   BEAR




Stock Monthly Winner
 
SET 1247 --> 1202 (-3.7%)
 
THRE             54%

PR9              30%


กลุ่มยาง
NER              49% (Warrant โหดกว่านี้มาก)
STA               28%
TRUBB          26%

BOL                25%
APRUE            25%

กลุ่ม Electronics
SVI                    27%
DELTA                21%
SIS                    21%